ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

ประชาคมอาเซียน..ที่คนไทยยังรู้จักน้อยมาก (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๕๙)


ประชาคมอาเซียน..ที่คนไทยยังรู้จักน้อยมาก

ประชาคมอาเซียน ที่คนไทยรู้จักน้อยมาก

ศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง

ผู้อำนวยการ
(เชี่ยวชาญ) กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

E-mail :
[email protected]

-----------------------------------------------

       ปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว        แต่ความรู้ ความตื่นตัวของคนไทย ต่อประชาคมอาเซียนยังน้อยมาก       เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศในอาเซียนซึ่งรวมประเทศไทย มีทั้งหมด       10 ประเทศสอบถามจากนักศึกษาไทยซึ่งคาดเดาว่าเป็นบุคลากรระดับปัญญาชนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาคมอาเซียนแล้ว         อยู่ในอันดับท้าย ๆ คือลำดับที่ 8 จึงถือโอกาสนำความรู้ โดยสังเขป        เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียนมาเสนอให้รับทราบ

      ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับและไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้า  มาโดยตลอด อาทิ การผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน   โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน และ       ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนโดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ

      ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้าง ประชาคม อาเซียน (ASEAN Community) โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพและเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎบัตรฯ      ได้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพได้มีการรับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในทั้ง 3 เสาหลัก (pillars) คือ

      1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community- ASC)

      2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community- AEC) 

      3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

       เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน  ภายในปี ๒๕๕๘ เมื่อมีการรวมตัวเช่นนี้ สิ่งที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของภาครัฐและ           ภาคเอกชน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศ               ที่จะต้องเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับ การจัดตั้งประชาคม อาเซียน การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายแรงงานที่จะขยายตัวในอนาคต

       ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไรมีเป้าหมายอย่างไรและไทยได้ประโยชน์อย่างไร

      ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนก็มีความคืบหน้าที่ดีในความร่วมมือต่าง ๆ    เป็นลำดับและในที่สุดอาเซียนได้มุ่งหวังที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจใน    ปี 2558 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิต    ร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่าง  เสรีและเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน
และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของ   ตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้นทำให้อาเซียนมีอำนาจซื้อสูงขึ้นตามมา เช่นเดียวกับความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้สมาชิกสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี

      การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประชาคมเศรษฐกิจ    อาเซียนเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง อาเซียนจึงมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียนมีความร่วมมือระหว่างประเทศในการ     เชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยังมาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย

      ขณะที่การเจรจาเพื่อเปิดตลาดในระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกยังมีท่าทีว่าจะไม่สามารถสรุปผลได้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศต่าง ๆ   จึงได้พยายาม    ที่  จะทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ว่าจะในระดับทวีภาคีหรือระดับภูมิภาค ในส่วนของอาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรือ อาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ต่อไป

      หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้าและเปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการ    เหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการ     ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายัง  อาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน     ในอาเซียนโดยรวม.                                                                            (จาก http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=563 : เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2554 เวลา 20.05 น.)

หมายเลขบันทึก: 464380เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาให้กำลังใจแล้วศึกษาแนวทางนำ กศน.ตำบลเข้าสู่อาเซียน ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

Ico64

 

แวมาอ่าน...ประชาคมอาเซียน..ที่คนไทยยังรู้จักน้อยมาก...คงต้องเป็นภาระงานหนึ่งของครูบาอาจารย์ ในสถาบันการศึกษาทุกระดับที่จะต้องให้ทักษะความรู้ และปลูกฝังค่านิยม ในงานอาชีพด้านต่างๆให้สอดคล้องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชน หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องถือเป็นหน้าที่ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมและรับรู้ การกำหนดทิศทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและสังคมโลก เพื่อการปฏิบัติตามนโยบายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด แก่ประชาชนและประเทศต่อไปนะคะ...

ขอบคุณทุกความคิดเห็น และให้กำลังใจครับ : คุณ Ico24 Tum Laksana Rodtrakul, อาจารย์ Ico24 ดร. พจนา   แย้มนัยนา, อาจารย์โสภณ เปียสนิท, และคุณมะลิ มะลิ      สิงห์ชัย, ที่เคารพทุกท่านครับ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท