จดหมายจากเลขาฯ ถึงครูเครือข่าย หลัง Workshop ทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


ที่สำคัญกว่านั้นคือ ครูทุกคนได้ทำด้วยตนเอง ในระหว่างทำให้พิจารณาด้วยใจตนเองว่า ข้อสอบของตัวเองเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงตรงไหน ซึ่งจะนำไปสู่วงจรคุณภาพตัวสุดท้าย (PDCA) คือนำไปปรับปรุงข้อสอบของตนเองต่อไป

สวัสดีครับคุณครูเครือข่าย LLEN มหาสารคาม ทุกท่าน

วันนี้ ที่เราได้มาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง กับเวทีกึ่ง KM เติมเต็มกันและกัน พร้อมๆ กับลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มสาระของแต่ละ โรงเรียน ในมุมมองของผมที่ทำหน้าที่ "คุณอำนวย" อยากสรุปไว้ตรงนี้ เผื่อว่า ท่านที่มีข้อสรุปในใจที่ไม่ตรงกัน จะได้แบ่งปันแลกเปลี่ยน เพื่อจะได้ขีดเขียนให้ตรงกันต่อไป

ผมอยากเขียนสรุปไว้ตรงนี้สั้นๆ 3 ประเด็น (เพื่ออาลัยแด่ สตีป จ๊อป เจ้าของ "กฎไม่เกิน 3" ของ LLEN) ดังนี้ครับ

1) วันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง

    ประการแรก เราได้ concept หรือหลักการ ของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ต้องเปรียบเทียบระหว่าง pre-test และ post-test นั่นคือ การหาจำนวนร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

   ประการต่อมา คือ เราสามารถวิเคราะห์ข้อสอบของเราเองได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม B-Index ที่สามารถ ดาวโหลดได้ฟรีๆ ที่http://www.nitesonline.net/sakorn/page11.htmโปรแกรมนี้ ใช้ง่ายมาก และให้ผลได้ครอบคลุม สามารถปริ๊นท์ออกมาเป็นไฟล์ pdf ได้ (สำหรับเครื่องที่มีโปรแกรมแปลง pdf นะครับ เช่นhttp://www.dopdf.com/download.php) แต่มีปัญหาว่า ต้องใช้ความละเอียด "แม่น" ในการใส่ข้อมูล กล่าวคือ ต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน และถูกต้องตามจำนวนข้อมูลที่กำหนด ซึ่งผมคิดว่า หากพวกเราได้อ่านคู่มือ ของผู้พัฒนาโปรแกรมซักหน่อย เราจะไม่มีปัญหาในการใช้โปรแกรมนี้ จากประสบการณ์วันนี้ ผมเห็นหลายๆ คนเกิด error ขึ้น สำหรับผมแล้ว เป็นสิ่งท้าทายมาก ว่า error เพราะอะไร จะแก้ยังไง ซึ่งประเด็นที่เจอปัญหาของ  error คือ ใส่ข้อมูลไม่ครบ เช่น ไม่เติมจุดประสงค์ จำนวนข้อ และบอกว่าเป็นข้อไหนถึงข้อไหน อีกอันหนึ่งคือ ใส่ข้อมูลเกิน เช่น ข้อสอบมี 60 ข้อ แต่เราเติม 61 ข้อ หรือ 59 ข้อ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ผมว่าสามารถแก้ไขได้ โดยการนั่งคลุ่กอยู่กันมันสักหน่อย และเรียนรู้มัน ถ้าจะไห้ดี อีเมล์พูดคุยกับผู้พัฒนาโปรแกรม (อาจารย์สาคร แสงผึ้ง [email protected]) อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ เนื่องจากโปรแกรมนี้ใช้ง่าย นั่นหมายถึง ผู้พัฒนาโปรแกรมได้ ทำให้ทุกอย่าง เราไม่ได้ใช้ความรู้ทางสถิติเลยครับ ดังนั้น เราต้องแปลความหมายข้อมูลให้เป็น นั่นคือ เราต้องรู้ว่า โปรแกรมนี้คำนวณอย่าร หมายถึงอะไร เป็นต้น

      ประการที่สาม เราได้เรียนรู้โปรแกรมคำนวณจากโปรแกรม Excel ซึ่งสามารถดาวโหลดได้ผ่านลิงค์ของ LLEN มหาสารคาม ของเราได้ (http://www.genedu.msu.ac.th/llen/index.php?option=com_weblinks&view=category&id=44%3A2010-12-12-15-19-36&Itemid=48) โดยเข้าไปที่ "สถิติการวิจัย" ขอขอบคุณอาจารย์เพ็ญศรี ใจกล้า ไว้ ณ ที่นี่ด้วยครับ ที่นำสิ่งดีๆ มาไว้ให้เพื่อนๆ ครู .....มีหลากหลายโปรแกรมมากครับ.... เลือกใช้ได้ตามใจชอบเถิด

2) อะไรสำคัญที่สุด ในวันนี้

     ประการแรก คือครูเครือข่ายทุกท่าน ได้ทำด้วยตนเอง ผมไม่ได้เขียนว่า ครูทำได้หรือทำเป็นนะครับ เพราะผมเชื่อว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งทำได้และทำเป็นอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ครูทุกคนได้ทำด้วยตนเอง ในระหว่างทำให้พิจารณาด้วยใจตนเองว่า ข้อสอบของตัวเองเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงตรงไหน ซึ่งจะนำไปสู่วงจรคุณภาพตัวสุดท้าย (PDCA) คือนำไปปรับปรุงข้อสอบของตนเองต่อไป

     ประการที่สอง คือเราจะได้รู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน เราจะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดรายกลุ่มสาระ และภาพรวมทั้งหมดของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะนำไปเป็นข้อมูลในการวางแนวทางในการพัฒนาวิจัย ขอทุนสนับสนุนต่อไป

3) พวกเราต้องทำอะไรต่อไป เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์าทางการเรียน ครูแต่ละท่านต้องส่งอะไรบ้าง

    ประการแรก คือ ครูทุกคน (นี่หมายถึงทุกกลุ่มสาระและทุกโรงเรียน) จะต้องส่ง ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ซึ่งอาจจะคำนวณด้วยโปรแกรม B-Index หรือโปรแปรมตัวอื่นๆ ที่ตนเองถนัด ในรูปของไฟล์ pdf ในกรณีที่ใช้ B-Index หรือใช้ Excel ให้ส่งไฟล์ข้อมูลมาด้วยนะครับ ภายในวันที่ 20 ต.ค. 2554 นี้จะได้หรือไม่ครับ

    ประการที่สอง คือ ครูทุกท่าน จะต้องส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในรายวิชาของตน ซึ่งสามารถคำนวณได้ โดยใช้โปรแกรม Excel ที่กล่าวไปแล้วในข้อ 2)

    ประการที่สาม สำหรับโรงเรียนที่ใช้ข้อสอบกลางที่ทางเราได้ส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ ให้ส่งข้อมูล (หรือตัวข้อสอบและกระดาษคำตอบ) มายังตัวแทนกลุ่ม เพื่อวิเคราะห์โดยภาพรวมของกลุ่มสาระนั้นๆ ดังนั้นตัวแทนกลุ่มจะส่ง ผลการวิเคราะห์ข้อสอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายกลุ่มสาระมายัง LLEN

โดยรวมสรุปไว้ประมาณนี้ครับ หากมีคำถามใด อย่างได้ลังเลและเกรงใจ


สุด ท้ายนี้ ขอขอบคุณครูเครือข่ายทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ ที่ให้โอกาสกับโครงการ LLEN ในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามของเรา หากพวกท่านให้โอกาสต่อไป LLEN 2nd จะต้องมีต่อไปครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฝ่ายเลขาฯ LLEN มหาสารคาม

หมายเลขบันทึก: 464131เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2011 05:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาศึกษากิจกรรมดีๆ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานค่ะ เพราะแม้จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ก็มีความเกี่ยวข้อง เพราะมีบทบาทด้านการผลิตครูค่ะ และมีพี่ 2 คน (เกษียณแล้ว) และน้อง 1 คน เป็นครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานค่ะ
  • ระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นอกจากมีข้อสอบที่มีคุณภาพ (ทั้งด้าน Validity, Difficulty, Reliability, Discrimination) แล้ว กระบวนการวัดก็มีความสำคัญ เห็นพี่สาวบอกว่า เวลามีการวัดที่จะต้องรายงานผลสัมฤทธิ์ไปให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ครูบางคนกลัวว่า นักเรียนของตนจะได้คะแนนต่ำ ก็เลยมีการบอกคำตอบก่อนที่จะให้ทำข้อสอบ ไม่ทราบว่า Error ลักษณะนี้มีมากน้อยแค่ไหน และจะป้องกัได้อย่างไรนะคะ 

ระวังแล้ว แต่ก็ผิดพลาดจนได้ บรรทัดสุดท้าย "ป้องกั" ค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ ผศ.วิโล มากครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน คำถามที่ท่านอาจารย์ถาม ผมก็เป็นคนหนึ่งที่คิดว่า มีกรณีแบบนั้นเยอะมาก สิ่งที่น่าสนใจคือ ทำไมครูทำอย่างนั้น พอวิเคราะห์ดูแล้ว ปรากฏว่า ที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะการประเมินครูเกี่ยวข้องกับระดับการผ่านเกณฑ์ของนักเรียนด้วย อ้าว!! แล้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่ดูเหรอ? ดูครับ ก็ผู้อำนวยการนั่นแหละครับ ที่ดูว่าต้องผ่านเกณฑ์ เพราะว่า เกณฑ์จากส่วนกลาง (สพฐ.) บอกไว้ ในระบบที่ต้องประเมินโรงเรียนด้วย ........ที่เขียนมานี้ไม่มีงานวิจัยรองรับนะครับ รวบรวมจากคำผู้คนต่างๆ พูดมากกว่า ผิดพลาดอย่างไร ก็ให้ความกระจ่างด้วยนะครับ

  • มาให้กำลังใจอาจารย์
  • งานครูเพื่อศิษย์เลื่อนไป 26-27 พย นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท