titi
นาง นางฐิติรัตน์ พิพัฒนาศักดิ์

กรรม(1)


วิบากแห่งกรรม

พุทธศาสนสุภาษิตกล่าวถึงกรรมว่า" วโส อิสฺสริยํ อำนาจเป็นใหญ่ในโลก" อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุด ไม่มีอำนาจใดเสมออำนาจของกรรม

  จากพุทธวัจน์   ภิกษุ     ท.!  ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า" กรรม  เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ  วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ  กัมมนิโรธแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ กัมนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ

  ตั้งแต่เล็กจนโต(แก่) ถูกอบรมสั่งสอนให้เชื่อและกลัวเรื่องกรรม อดีตเข้าใจเรื่องกรรมในแง่เดียวคือแง่ลบ คือความไม่ดี ทำไม่ดีระวังนะจะรับกรรม จะมีเคราะห์กรรม หรือประโยคอื่นๆที่สร้างความวิตกกังวลให้แก่ตนเองเมื่อจะทำอะไรๆที่คิดว่าไม่ดี ครั้งถึงช่วงเวลาที่ได้ศึกษาธรรมะก็เริ่มเข้าใจในความหมายของคำว่า"กรรม"และ "วิบากแห่งกรรม " ดีขึ้น  ยิ่งย้อนมองดูการกระทำตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยิ่งเข้าใจ เห็นชัดเจนและ ซ.ต.พ. ได้เลย จึงใคร่แบ่งปันให้มิตรแก้วสหายคำ ได้ตระหนักในเรื่องของ"กรรม"ของตนเอง เพื่อท่านจะได้ ซ.ต.พ. ในชาตินี้ นี่แหละ

  ชีวิตคนเราในสังคมปัจจุบัน(ที่วุ่นวาย วิกฤตในหลายๆเรื่อง) ส่งผลให้เรามองห่างจากตนเองไปไกลออกไป ไม่ได้รับความสุข ความพึงพอใจ จากสิ่งที่ตนเองปรารถนา ก็จะโทษผู้อื่น โทษสิ่งอื่นๆที่ไม่ตอบสนองให้แก่เรา และพยายามหาทางที่จะแก้ไข หรือกระทำการใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้นๆ โดยอาจพลังเผลอว่าผลที่จะได้รับ ผลที่จะตามมาเป็นเช่นไร ชุมชน สังคมจึงไม่สงบสุขกันเสียที ซึ่งตามความหมายของกรรม หมายถึง  การกระทำ ดังนั้นขึ้นอยู่กับตัวท่านเองที่จะเลือกกระทำแต่ความดี(กรรมดี) หรือกระทำความไม่ดี(ความชั่ว) ก็เป็นกรรมไม่ดี(กรรมชั่ว)

 บางท่านพบแต่ความสุขมาตลอดเพราะท่านทำแต่กรรมดีมาตลอด แต่บางท่านก็ลุ่มๆดอนๆ เพราะกระทำทั้งความดีและความไม่ดีคละกันไป บางท่านรำพึงว่า ทำไมหนอเราเกิดมาช่างอาภัพเสียจัง ไม่มีความสุขกับเขาเลย ระทมทุกข์ตลอดเวลาที่ผ่านมา บางท่านถึงกับแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อแก้เคราะห์กรรมนั้นๆ ไฉนเราไม่ย้อนกลับมามองที่ตัวตนของเราเป็นเบื้องต้นว่า ปัจจุบันกรรมที่เกิดขึ้น(ในชาตินี้)ล้วนมาจากการกระทำของตนเอง(ไม่นับผลกระทบที่ท่านได้รับจากอดีตกรรม) ปรัชญาการแนะแนวกล่าวว่า "พฤติกรรมมีสาเหตุ"  เราก็ต้องมองหาสาเหตุของการกระทำที่ทำให้เราเกิดทุกข์ไม่มีความสุข พยายามหาสาเหตุ ต้นเหตุนั้นๆ แล้วหาหนทางในการแก้ไข(ด้วยปัญญา) ก่อนที่เราจะเอาแต่ปลงตกว่าเป็นเพราะวิบากกรรมเราจึงเป็นเช่นนี้ เราจึงระทมทุกข์แบบนี้ 

  "อย่าวิตกต่ออนาคต อย่ารันทดต่ออดีต" เป็นคำกล่าวที่ให้กำลังใจแก่เราในการดำเนินชีวิตให้เป็นปัจจุบัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทำดีพร้อมทั้ง กาย วาจาและใจ คิดดี ทำดี พูดดี อะไรๆก็จะดีตามมา  ดูแล้วเหมือนง่ายๆนะ(สำหรับบางท่าน) ทว่า...ในสังคมยุคนี้บางครั้งก็โหดเหมือนกัน คิดจะทำอะไรดีๆเพื่อตนเอง เพื่อครอบครัว เพื่อชุมชน เพื่อสังคมและประเทศชาติ ทำไม..บางครั้งยากแสนเข็ญ

  แต่...อยากให้กำลังใจมิตรแก้งสหายคำนะ ว่า....ลงมือเถอะ ลงมือทำกรรมดี(กระทำแตความดี) อะไรก็ได้ วิธีไหนก็ได้ที่เราเห็นว่ามันดีสำหรับตนเอง(ก่อน) เพื่อที่เราจะมีพละกำลังในการทำกรรมดีแก่ผู้อื่นต่อไป แม้แต่พระพุทธองค์ยังสอนให้เราแผ่เมตตาให้ตนเองก่อน ก่อนที่เราจะแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเลย

วันนี้แบ่งปันให้ท่านได้เข้าใจในความหมายของคำว่า " กรรม" ก่อนเพื่อท่านจะได้ไม่ต้องรอจนแก่เหมือนตนเองจึงจะเข้าใจ ส่วนผลตามมาของกรรมวิธีการแก้กรรมไว้แบ่งปันกับท่านใน กรรม(2) ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 463737เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท