การวิจัยเชิงคุณภาพ


การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ

ธรรมชาติของการวิจัยเชิงคุณภาพ

• การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวข้องกับการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม

• โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เราเข้าใจโลกที่เราอาศัยอยู่และเข้าใจถึงเหตุผลของความเป็นไปในโลก

• เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม และพยายามค้นหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ต่อไปนี้

- เหตุใดคนจึงมีพฤติกรรมต่าง ๆ กัน

- ความคิดและทัศนคติของคนเกิดขึ้นได้อย่างไร

- คนได้รับอิทธิพลจากสิ่งรอบ ๆ ตัวเราอย่างไรบ้าง

- วัฒนธรรมมีการพัฒนาอย่างไร และเหตุใดจึงพัฒนาเป็นแบบนั้น

- ความแตกต่างระหว่างกลุ่มของสังคม

การวิจัยคุณภาพเกี่ยวข้องกับค้นคว้าหาคำตอบให้กับคำถามนี้ขึ้นต้นด้วย “ทำไม” “อย่างไร”  “ด้วยวิธีใด”

การวิจัยเชิงคุณภาพแตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณอย่างไร

- การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวข้องกับความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรู้สึกของปัจเจกซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นความคิดส่วนตัว (อัตวิสัย)

- การวิจัยเชิงคุณภาพอธิบายปรากฏการณ์ของสังคมตามที่เป็นจริง ไม่มีการพยายามปรับสถานการณ์ที่ต้องการศึกษาเหมือนการวิจัยเชิงปริมาณที่อาจใช้การทดลอง

- ความเข้าใจในสภาพ/สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นโดยมุมมอง   แบบองค์รวมแต่การวิจัยเชิงปริมาณจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการกำหนดชุดของตัวแปร

- เราใช้ข้อมูล (data) เพื่อสร้าง แนวคิด (concepts) และทฤษฎี (Theories) ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจโลกเชิงสังคม ซึ่งเรียกว่าเป็นแนวทางอุปนัย (inductive approach) ในการพัฒนาทฤษฎี

การวิจัยเชิงปริมาณเป็นกระบวนการนิรนัย (deductive) ซึ่งเราทำการทดสอบทฤษฎีที่มีอยู่ก่อนแล้ว

- การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการเผชิญหน้าตรงๆ กับปัจเจก  ผ่านการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว หรือสัมภาษณ์กลุ่ม หรือการสังเกต ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงสิ้นเปลืองเวลามาก

การเก็บข้อมูลที่ต้องละเอียดเข้มข้น และสิ้นเปลืองเวลาทำให้จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก

- การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพมีการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บข้อมูลจะเป็นการเลือกสุ่มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากร

- เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงแตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ

 การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ

Phenomenology เป็นการศึกษาเพื่อความเข้าใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นจริง พยายามเข้าใจความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้น

Ethnography คือแนวมานุษยวิทยาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ

Grounded Theory หมายถึง วิธีวิจัยแบบหนึ่งที่ก่อกำเนิดทฤษฎีจากข้อมูลที่ศึกษา

Case Study คือ การศึกษารายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ

- สัมภาษณ์ (Interview)

- สัมภาษณ์กลุ่ม/สนทนากลุ่ม (Focus group)

- Observation (การสังเกต) / Participation Observation(การสังเกตแบบมีส่วนร่วม)

- Case study (กรณีศึกษา)
การบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ

Transcribing คือ การถ่ายทอดข้อมูลในการสัมภาษณ์ออกมาทั้งหมด
เวลาที่ต้องใช้ในการถอดเทป / เขียนข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะมากกว่าเวลาที่ใช้
ในการสัมภาษณ์จริงประมาณ 5 เท่า
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

Content Analysis (การวิเคราะห์เนื้อหา) เป็นกระบวนการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเชิงคำพูดหรือพฤติกรรม เพื่อจัดกลุ่ม สรุป และทำตาราง

การวิเคราะห์เนื้อหาสามารถทำได้ใน 2 ระดับคือ

- ระดับพรรณนา (descriptive)

- ระดับตีความ (Interpretive)

การใช้คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์

ความเที่ยงตรงของการวิจัยเชิงคุณภาพ

เกณฑ์ทั่วไปที่ใช้วัดความเที่ยงตรงในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่

- ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)

- ความเที่ยงตรงภายนอก (External Validity)

- ความเชื่อมั่น (Reliability)

- ความไม่เข้าข้างตัวเอง (Objectivity)

เกณฑ์ทั่วไปที่ใช้วัดความที่ยงตรงในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่

- ความน่าเชื่อถือ (Credibility)

- ความเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทที่เปลี่ยนไป (Transferability)

- ความพึ่งพา (Dependability) หมายถึง ความคงที่ของข้อมูล เมื่อวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยซ้ำซ้อนกัน ผู้วิจัยต้องสามารถจัดการได้และอธิบายได้อย่างเหมาะสม

- การยืนยันความเป็นกลางหรือการไม่มีอคติในการทำวิจัย (Confirmability)

การนำเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ

แก่นที่ศึกษา (Theme)

- การจำแนกกลุ่มใหญ่ (major categories)

- การจำแนกกลุ่มย่อย (minor categories)

 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์การสังเกตการณ์ และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เป็นต้น    มาทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีเทคนิคที่สำคัญ ดังนี้ 

1. การจำแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and Taxonomy)เป็นการนำข้อมูลที่ได้นำมาจำแนก และจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบ     เช่น ข้อมูลหมวดบุคลากร ข้อมูลหมวดงบประมาณ ข้อมูลหมวดวัสดุ อุปกรณ์ ข้อมูลหมวดงบประมาณ เป็นต้น

2. การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) เป็นการนำข้อมูลทีได้จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มาวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุปร่วมกันของเรื่องนั้น

3. การเปรียบเทียบเหตุการณ์ (Constant Comparison) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาไปเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างกันที่เกิดขึ้น เช่น เปรียบเทียบหน่วยงานหนึ่งกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จทางการบริหาร เป็นต้น

4. การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) เป็นการนำข้อมูลทีได้มาทำการวิเคราะห์ออกให้เห็นเป็นส่วน ๆ เช่น วิเคราะห์การบริหารงานขององค์การออกเป็น 7 หมวด ตามกรอบของ PMQA เป็นต้น

5. การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เป็นการนำเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ให้เห็นว่า มุ่งพรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้น เช่น วิเคราะห์การปกครองสมัย พ.ศ.2475 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

6. การวิเคราะห์สาเหตุและผล (Cause and Effect  Analysis) เป็นการนำข้อมูลทีได้มาวิเคราะห์ให้เห็นว่าจากผลมาจากเหตุ คือ วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ย้อนกลับมาให้เห็นว่าเกิดมาจากเหตุปัจจัยใดบ้าง หรือวิเคราะห์เหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์จากเหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุนี้เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ผลที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง

7. การสร้างจินตนาการเชิงสังคมวิทยา (Sociology Imaginary) เป็นการนำข้อมูลทีได้มาวิเคราะห์โดยเปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์ไปยังมุมมองอื่นๆ เพื่อดูผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเช่นใด เช่น เปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์จากมุมมองค่านิยม มาเป็นการวิเคราะห์มุมมองด้านวัฒนธรรม เป็นต้น

ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคใด ก่อนที่จะมีการนำเทคนิคทั้ง 7 เทคนิคมาใช้นั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมานั้นมีความถูกต้องก่อน ทั้งนี้เพราะการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเน้นการใช้อัตวิสัย (subjectivity) ไม่เหมือนกับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่เน้นการใช้วัตถุวิสัย (objectivity)

การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เรียกว่า “การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation)” (Denzin, 1970) โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) 2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (investigator triangulation) และ 3) การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation)

1. การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล จะเน้นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ นั้นมีความเหมือนกันหรือไม่   ซึ่งถ้าทุกแหล่งข้อมูลพบว่าได้ข้อค้นพบมาเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง

2. การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย จะเน้นการตรวจสอบจากผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูลต่างคนกันว่า ได้ค้นพบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถ้าผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูลทุกคนพบว่าข้อค้นพบที่ได้มามีความเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง

3. การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี จะเน้นการตรวจสอบว่า ถ้ามีการใช้ทฤษฎีที่หลากหลายแล้ว ข้อมูลที่ได้มาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้าผู้วิจัยพบว่า ไม่ว่าจะนำทฤษฎีใดมาใช้ ได้ข้อค้นพบที่เหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง

หมายเลขบันทึก: 463413เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2011 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท