ไสยาสน์
นางสาว รพีพรรณ น้ำฝน ไสยาสน์

นวัตกรรมการเรียนรู้


กรวยประสบการณ์

เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)

            ได้จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษาไว้ 10 ประเภทและจัดเป็นลำดับประสบการณ์ไว้ 10 ลำดับ ดังนี้

            1.  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง  ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น  ได้จับ ได้ทำ  ได้รู้สึกและได้ดมกลิ่นจากของจริง  ดังนั้นสื่อการสอนที่ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริง หรือ ความเป็นจริงในชีวิตคนเรา
            2.  ประสบการณ์จำลอง  ในโลกเราไม่สามารำเรียนรู้ได้หมดจากประสบการณ์ตรงในชีวิต  บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับ  หรือเป็นการเสี่ยงอันตราย หรือไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  จึงได้มีการ จำลองต่าง ๆ  เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา
            3.  ประสบการณ์นาฏการ  ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วย ตนเอง เช่น เรื่องราวในวรรณคดี เหตุการณ์ในอดีต การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่  หรือเรื่องธรรมชาติ ที่เป็นนามธรรม  การแสดงละครจะช่วยให้เราได้เข้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด  เช่น ฉาก  เครื่องแต่งตัว  เครื่องมือ  หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
            4.  การสาธิต  คือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด  หรือกระบวนการต่างๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู
            5.  การศึกษานอกสถานที่ เป็นการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่  เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้ นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล  แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน   ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็น วิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
            6
นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง  เพราะหมายถึง  การจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้า ชม  ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด  การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วม ในการจัด  จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์  มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง 
            7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์  โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน  เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยิน เสียงในเวลาเดียวกัน  และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย  นอกจากนั้นโทรทัศน์ยัง มีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด  ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
            8.  ภาพนิ่ง การบันทึกเสียงและวิทยุ  เช่น ภาพถ่าย เทปและแผ่นเสียง  ภาพวาด  หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 
            9.  ทัศนสัญลักษณ์  เช่น แผนภูมิ แผนที่ ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
            10. วจนสัญลักษณ์ เช่น ตัวหนังสือ เสียงพูด  จัดว่าเป็นสื่อนามธรรมมากที่สุด  ไม่มีความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย  แต่เราก็ได้ใช้ประโยชน์จากสื่อกประเภทนี้มาก  เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา

หมายเลขบันทึก: 46336เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ถ้าหารูปกรวยประสบการณ์มาเขียนไว้ด้วยก็จะดีมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท