ศักดิ์ศรี


ศักดิ์ศรี

พูดถึงเรื่องอัตตาตัวตนบางคนฟังไม่ถูก จึงขอพูดถึงอาการของอัตตาที่ค่อนข้างชัดเจน นั้นคือสิ่งที่เราเรียกว่าศักดิ์ศรี

เราควรจะดูตัวเองให้เป็นว่า

ศักดิ์ศรีของเราอยู่ตรงไหน
เพราะศักดิ์ศรีเป็นจุดอ่อนของเรา
เป็นทีเกิดของทุกข์

สิ่งใดก็ตามแม้แต่ขี้ปะติ๋ว
หากกระทบศักดิ์ศรีของเราเมื่อใดก็เป็นเรื่องเมื่อนั้นทันที

ถ้าเราเอาการรักษาศักดิ์ศรีเป็นเครื่องตัดสินว่า

เราจะทำหรือไม่ทำอะไรในชีวิต
เราควรจะระวังให้ดีว่า

เราผูกศักดิ์ศรีของเราไว้กับอะไรบ้าง

ตราบใดที่เรายังเป็นปุถุชนคงยังไม่พ้นความยึดมั่นในศักดิ์ศรี
แต่อย่างน้อยที่สุดเราควรจะพัฒนามัน
จนขึ้นอยู่กับการเป็นพุทธมามกะมากกว่าอย่างอื่น

การมีอัตตาหรือการเป็นชาวพุทธที่ดียังมีโทษอยู่
แต่สำหรับนักปฏิบัติธรรมอาจใช้ความรู้สึกในศักดิ์ศรี
มาหนุนกำลังความละอายต่อบาปในเบื้องต้น
และเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่ความปลอดภัยในที่สุด

ทุกวันนี้เราเอาอะไรมาเป็นศักดิ์ศรีของตน ขอให้ดูให้ดี
เพราะถ้าไม่ระวังในเรื่องนี้ เดี๋ยวจะกีดกั้นความเจริญในธรรม
มัวแต่เป็นห่วงเรื่องมายา
คือเอาแต่กังวลเรื่องความรู้สึกของเขาต่อเรา อย่างนี้ก็ยุ่ง

ถ้าศักดิ์ศรีของเราขึ้นอยู่กับความมั่นใจว่า

เขารักเราจริง เขาเคารพเราจริง เขากลัวเราจริง ฯลฯ
อย่างนี้ไม่มีวันที่จะสงบได้
เราจะอ่อนไหวต่อการกระทำของคนอื่นตลอดเวลา

เขาทำอย่างนั้นแปลว่าอะไร
เขาไม่ทำอย่างนั้นแปลว่าอะไร
เขาพูดอย่างนั้นแปลว่าอะไร
เขาเงียบอย่างนั้นแปลว่าอะไร
เขายิ้นอย่างนั้นแปลว่าอย่างไร
เขาหน้าตาเฉยอย่างนั้นแปลว่าอย่างไร
เป็นนักแปลอย่างนี้เหน็ดเหนื่อยมาก

(คัดลอกบางตอนมาจาก “ปัจจุบันสดใส” โดย พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ,
พิมพ์ครั้งที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ โดย กองทุนสื่อธรรมะทอสี และมูลนิธิปัญญาประทีป, หน้า ๑๖-๑๙)

คำสำคัญ (Tags): #ศักดิ์ศรี
หมายเลขบันทึก: 463306เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2011 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท