ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เล่าสู่กันฟัง จริงจัง จริงใจ อุดรธานี กันยายน 54


การเชื่อมโยงกับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

เล่าสู่กันฟัง จริงจัง จริงใจ

28 กันยายน 2554 พ่ออำนวย และเครือข่ายหมอพื้นบ้านอุดรธานี นัดเคลียร์กันเรื่องจะปั่นจักรยาน สานพลัง ฟังปราชญ์ชาวบ้าน ปีที่ 2 ที่บ้านพ่ออำนวย ต.บ้านชัย อ.บ้านดุง โดยผู้ที่มาร่วมประชุมก็มาจากหลาย ๆ ตำบล เช่น พ่อกาทอนจากอ้อมกอ บ้านดุง พ่อจำรัส จากจอมศรี อ.เพ็ญ ผู้ใหญ่ชัยพฤกษ์ , พ่อชาย , พ่อผอง จาก บ้านม่วง หมอสำอาง , พ่อสวน จากนาคำ พ่อวิลัย , พ่อประยูร จาก วังทอง (พ่อวิลัยว่าถ้าพ่อประยูรไม่ได้ปั่น ไม่ได้ไปตัวเองก็ไม่ไปเหมือนกัน) ในการพูดคุยเรามีเรื่องหารือกันหลายเรื่องได้แก่

1.ที่ผ่านมามีใครไปทำอะรที่ไหนมาบ้าง เล่าสู่กันฟังทีซิ

2.แผนการปั่นจักรยาน

3.ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ

4.การเตียมงานโครงการของเครือข่ายอุดรธานีในระยะที่ 2 พร้อมทั้งวิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมา

ซึ่งรายละเอียดการพูดคุยมีดังนี้

 

1.ที่ผ่านมามีใครไปทำอะไรที่ไหนมาบ้าง เล่าสู่กันฟังทีซิ

หมอจำรัส จากจอมศรี อ.เพ็ญ เล่าสู่กันฟังว่า

26 กันยายน 2554 ที่อนามัยจอมศรี ได้มีการประชุมคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้านตำบล ซึ่งก็ประชุมกันอยู่ทุกเดือนอยู่แล้ว ในคราวนี้ได้เตรียมเสนอโครงการว่ากลุ่มหมอยาจอมศรีจะทำอยู่ 3 เรื่องได้แก่ การต้มยาสมุนไพรในงานประจำปี , การปลูกยารักษาป่า และการบวชป่ารักษายา โดยจะของบ อบต. ก้าวหน้าก้าวหลังอย่างไรคงจะได้มาเล่าสู่กันฟังต่อไป

นอกจากนี้ เมื่อ 14 กันยายน 54 อำเภอเพ็ญ โดยหมอแดง (สุดาพร เหล็กมี) เป็นผู้จัดการโครงการ ได้นัดประชุมเครือข่ายหมอพื้นบ้านทั้ง 11 ตำบล ซึ่งจอมศรีก็ได้ไปร่วมด้วยนั้น มีการเปิดตัวหมอพื้นบ้าน ให้ได้รู้จักกันมากขึ้น เช่น อย่างพ่อสังคมจากตำลบลนาบัว และมีข้อหารือกันว่าในการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน ที่อำเภอนั้น พ่อสุบิน จะช่วยเป็นผู้ประสานงานในการขอพื้นที่สำหรับกลุ่มหมอพื้นบ้านไปต้มยาสาธิตและแจกให้แก่ผู้เข้าประชุม พ่อสถิตย์ เล่าสู่กันฟังว่า 23 กันยายน 54 ได้ร่วมประชุมกับเภสัชกรอนุชิต , พี่ปณิธาน ที่มหาสารคามเรื่องเกี่ยวกับศูนย์กลางวัตถุดิบสมุนไพร ว่าจะมีการส่งเสริมวัตถุดิบสมุนไพรให้มทีการปลูกเตรียมไว้ (ผู้จัดการประชุมคือ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย)

พ่ออำนวยและพี่ชัยพฤกษ์ เล่าสู่กันฟังเรื่องวันที่ 26 กันยายน 54 ได้ร่วมประชุมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิต ซึ่งแม่งานคืออ.เสรี พงศ์พิศ โดยมี พี่จัมโบ้ (อัครวิทย์) อดีตรองนายก อบจ. แต่ขอลาออก มาคุยกันเกี่ยวกัยทักษะการพัฒนาชีวิต และ 27 กันยายน 54 ไปที่ อบต.อ้อมกอ มีการอบรมเด็กและเยาวชน ในโครงการค่ายสมุนไพรสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

2.แผนการปั่นจักรยาน จากการพูดคุยเรามีการหารือเกี่ยวกับระยะทาง เส้นทางก็คือ ระยะทางคร่าว ๆ 17 ตุลาคม 54 เส้นทางหมายเลข 2270 บ้านดุง – สว่างแดนดิน 30 กม. พักจัดเวทีสื่อสาร เส้นทางหมายเลข 22 สว่างแดนดิน – แยกพังโคน 30 กม. พักจัดเวทีสื่อสาร เส้นทางหมายเลข 22 แยกพังโคน – สกลนคร 54 กม. พักนอน 1 คืน 18 ตุลาคม 54 เส้นทางหมายเลข 223 สกลนคร – แยกกิ่งอำเภอวังยาง 50 กม. พักจัดเวทีสื่อสาร เส้นทางหมายเลข 223 แยกกิ่งอำเภอวังยาง – อำเภอธาตุพนม 25 กม. พักจัดเวทีสื่อสาร และพักนอน 1 คืน โดยที่มีข้อตกลงคือ

1.ให้ผู้ที่จะไป ประมาณไม่เกิน 50 คน แจ้งชื่อกับพ่ออำนวย

2.ให้รถนำทางขบวนล่วงหน้าไปจัดนิทรรศการตามจุดที่นัดไว้ โดยมีพ่อกาทอนและคณะไปจัดเวทีไว้

3.เครื่องเสียงมี 2 ชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่บ้านพ่ออำนวยอีกชุดอยู่กับพ่อเข็ม ให้พ่ออำนวยกับพี่สำอางจะได้นำมาตรวจสอบให้ใช้การได้

4.จักรยานให้ใช้ของใครของใคร

5.ป้ายประชาสัมพันธ์ให้หมอต้นทำ แต่ป้ายธงจะให้พี่ชัยพฤกษ์ทำ

6.อาหารการกินนั้นให้เตรียมข้าวกันคนละ 2 กิโลนำมารวมกัน

7.จะได้เช่ารถโดยสาร 50 ที่นั่ง ในมูลค่า 20,000 บาท

กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 54 ตอน 4 โมงเย็น พร้อมกันที่หน้าศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม และเดินทางในเช้าวันรุ่งขึ้น

 

3.ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ซึ่งพบว่า โครงการพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพท้องถิ่นหมอพื้นบ้าน นั้น เรามีภารกิจหลัก ๆ 3 อย่างได้แก่

1.การได้คุยกันเป็นประจำ และการแลกเปลี่ยนกับพื้นที่อื่น นั้นเราได้ไปดูงานที่ภาคเหนือ แต่จุดอ่อนคือการได้คุยกันไม่บ่อยพอ ทำให้เป้าหมายที่เห็นไม่เหมือนกัน

2.การบันทึกข้อมูล TKDI เราขาดคนที่จะติดตามข้อมูลที่จริงจัง ทำให้ได้ข้อมูลไม่ทั่วถึง แต่ก็ยังพอเก็บได้กว่าร้อยละ 80

3.การบันทึกผลการรักษา เหมือนข้อ 2

 

4.การเตียมงานโครงการของเครือข่ายอุดรธานีในระยะที่ 2 พร้อมทั้งวิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมา

โครงการพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพท้องถิ่นในแบบฉบับหมอพื้นบ้าน ปีที่ 2

• ก่อเกิดรูปธรรมการจัดการความรู้ผ่านการบันทึกข้อมูลการรักษาที่ทั่วถึง ถ้วนทั่ว โดยมีการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีเวทีคืนข้อมูลทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยคนใน และสร้างการเรียนรู้และเข้าใจให้คนนอก (ประชาชนผู้สนใจ) ที่ทำให้หมอมีความกล้าและแกร่งพอที่จะยืนหยัด ซดหมัดกับใคร ผ่านกลไกการทำงานและการติดตาม ส่งต่อข้อมูลกับสาธารณสุข

• การเชื่อมโยงกับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและมีชีวิตชีวา โดยการเกิด ก่อรูปของวิสาหกิจชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบล , มีภารกิจที่เป็นรูปธรรมในชุมชน , มีศูนย์ประสานงาน พร้อมกิจกรรมในศูนย์ เช่นการต้มยาบริการ และมีการสนับสนุนงบประมาณให้เครือข่ายจัดทำโครงการรองรับได้

หมายเลขบันทึก: 463126เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท