emoticon ในวรรณกรรมสมัยใหม่


เป็น ปรากฏการณ์ ทางภาษาอย่างหนึ่ง

emoticon 

ในวรรณกรรมสมัยใหม่

ปรากฏการณ์หรือพัฒนาการการสื่อสารใน

วงวรรณกรรม

 

emoticon ( emotion + icon ) 

 

 คือ เครื่องหมายวรรคตอนที่นำมาเข้าเป็นชุดเครื่องหมาย ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้เขียน เพื่อสื่อสารในกระดานสนทนา หรือ shat room ส่ง sms  ต่อมามีการขยายนำมาใช้สื่อสารประกอบในวรรณกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะในนวนิยายหวานแหว โรแมนติก กุ๊กกิ๊กน่ารัก ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น 

 

ผู้ริเริ่ม

 Scott  Fahlman  จาก  Carnegie Mellon University   นำมาใช้สื่อสารบนกระดานสนทนา 19 กันยายน 1982  (วิถีพิเดีย)

 

วิเคราะห์

เครื่องหมายที่นำมาใช้เป็น emoticon มาจากบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสำหรับพิมพ์เพื่อการสื่อสารข้อความทั่วไป  แต่ถูกนำมาจัดเป็นชุดแทนเค้าโครงใบหน้าให้เป็นสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ ความรู้สึก

 

:-)    (^_^)   หมายถึง ยิ้ม   

:-(  หมายถึง บึ้งตึง เศร้า  

(O=O)  หมายถึง ตกใจตาโต

( ตัวอย่าง emoticon มีมากมายหาได้จากอินเทอร์เน็ต)

 

emoticon จะเลือกสัญลักษณ์ที่เลียนแบบลักษณะอวัยวะบนใบหน้าคนเพื่อแสดงอารมณ์ ประกอบด้วย ตา จมูก ปาก เป็นส่วนใหญ่ อาจเพิ่มแขน มือเข้ามาบ้าง

 

ตา มีลักษณะเครื่องหมายใช้แทนอารมณ์ เช่น   ><   @ @    - -    * *    ..    ^  ^    o o   ; ;   ~ ~   $ $    x x    + +

จมูก  เช่น -   3  .  

และปาก เช่น  D  _  ~   3   )   (    p   .  +   []   -   =    w    v    U

 

การใช้ emoticon ในวรรณกรรม

นำมาใช้ในนวนิยายรักหวานแหววของวัยรุ่น ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้

 

เป็น ปรากฏการณ์ ทางภาษาอย่างหนึ่ง ที่มีการใช้เครื่องหมายเพื่อสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่ง สอดคล้องลักษณะธรรมชาติของ วัยรุ่น ที่ต้องการแสดงอารมณ์ประกอบ พอให้เห็นเป็นภาพอารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น แบบสั้น รวดเร็ว ฉับไว สอดคล้องกับการสื่อสารในโลกยุคดิจิตอล

 

ไม่ต้องกังวลเรื่อง emoticon

การเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารของมนุษย์มีมานานแล้ว เมื่อใดที่มนุษย์สื่อสารได้ "โดนใจ"  มีการยอมรับ จะเป็นกลุ่ม พวก แวดวงเฉพาะ หรือขยายไปทั่วสังคมกว้างขวาง ก็ถือว่าเป็นความต้องการสื่อสารระหว่างกลุ่มพวกเหล่านั้น หากถึงขั้นเป็นที่ยอมรับว่าดีงามทั้งสังคม ก็จะกลายเป็นภาษาสื่อสารแบบแผนประจำสังคมนั้นได้    ตรงข้าม หากภาษาเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เสื่อมนิยม ก็จะหายไปเอง

 

มีการวิเคราะห์แนวโน้มว่า  ภาษา emoticon อาจกลายเป็นพัฒนาการการใช้เครื่องหมายในการสื่อสารสำคัญในโลกอนาคตข้างหน้า หากมีการพัฒนารูปแบบเครื่องหมายที่ตอบสนองการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ได้กว้างขวาง หลากหลาย และตอบสนองการใช้งานได้ดี ตราบใดยังมีเครื่องหมายบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ก็ย่อมมีคนใช้    แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะคงอยู่และพัฒนาไปเช่นนั้น แต่อาจเลิกนิยมและหายไปก็ได้  อันเป็นธรรมดาของภาษา และสรรพสิ่ง

 

ณ ขณะนี้ จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ ร่องรอย ที่มีกลุ่มคนใช้เพื่อการสื่อสาร ที่ขยายไปถึงวรรณกรรมวัยรุ่น ซึ่งก็เป็นส่วนดีที่จะให้วัยรุ่นอ่านหนังสือมากขึ้น เสริมการใช้จิตนาการสร้างสรรค์ 

 

emoticon ส่งผลให้ภาษาวิบัติหรือไม่?

ไม่ครับ  ตราบใดที่เขารู้ว่าควรใชสื่อสารถูก กาลเทศะ บุคคล  ไม่ผิดศีลธรรม จรรยาบรรณ กฎหมาย ก็จะไม่ส่งผลอะไร  เพราะขณะนี้ เขาใช้ในการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ แบบคนรู้ใจ คนที่เขียนและอ่านเข้าใจตรงกัน ก็น่าที่จะไม่ต้องเป็นห่วงอะไร  ส่งเสริมได้ก็ควรทำ ให้วัยรุ่นเราสร้างสรรค์ออกมาก็ทำให้ภาษาของเรางอกเงย ส่วนใครจะว่าไพเราะหรือไม่อย่างไร คิดว่าเป็นเรื่องการเปิดใจ น่าจะยอมรับกันได้

 

ของฝากให้ดูเล่น Emoticon   ในวรรณกรรมกลอนสั้น

 

ยามเช้า...พี่ก็เฝ้าแต่       *_*/                                ( คิดถึง )

 

เธอ  (- * -)  BB ไปก็     (@_@)                       ( โกรธขึ้ง   ใจหาย  )

 

BB ง้อ  เธอ   :-/    ไม่เคลื่อนคลาย                          ( งอน )

 

พอยามเย็น เธอก็หาย ฉันล่ะ   (- -)?                           ( งง  )

หมายเลขบันทึก: 462939เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์คะ อาจารย์บรรยายในงานสัมมนาเรื่อง "Emoticon กับนวนิยายสมัยใหม่" ได้ละเอียดมากค่ะ ทั้งผู้เข้าร่วมสัมมนา และคณาจารย์ก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดียิ่ง ในการการสัมมนาครั้งนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท