การศึกษาไทย : 3. พื้นที่ชุ่มน้ำ


         ผมอ่านหนังสือพิมพ์ Sunday Nation ฉบับลงวันที่ 20 ส.ค.49  ลงข่าวว่าจังหวัดหนองคายจะหาทางเสนอให้บึงกุดติ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก   จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่านี่คือเรื่องที่วงการศึกษาสามารถยกขึ้นมาเป็นประเด็นเรียนรู้  วิจัย  การเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการแก่สังคม

         ใช้ได้ทั้งในระดับประถม  มัธยมและอุดมศึกษา

         พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่สำคัญต่อชีวิตคนเราและต่อระบบนิเวศทั้งมวล   คือทั้งพืช  สัตว์และอื่น ๆ

         ผมลองค้นทางอินเทอร์เน็ตด้วย Google ก็ได้ความรู้จาก www.wildlifefund.or.th ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยมี 6.75 ของพื้นที่ทั้งหมด   มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติถึง 109 แห่ง

         ผมเห็นโอกาสทันทีที่จะขับเคลื่อนการศึกษาไทยทั้งในระดับโรงเรียน/สถาบัน  และระดับ สกอ./กระทรวงศึกษา  ระดับกระทรวงวิทยาศาสตร์/กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   และในระดับ วช./สกว./สวทช.   ซึ่งหมายความว่าเชื่อมโยงสู่การจัดการงานวิจัยและพัฒนาของประเทศด้วย

         ยิ่งเอา KM เข้าไปช่วยก็ยิ่งมีโอกาสสร้างคุณค่าและมูลค่าจากการศึกษาวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมากมาย

         หัวใจจะอยู่ที่วิธีมอง  วิธีตั้งโจทย์  ท่าทีในการเข้าไปจัดการเชิงระบบ

วิจารณ์  พานิช
 20 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 46281เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท