พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

ธรณีพิบัติภัยใกล้ตัว


แผ่นดินไหว

ธรณีพิบัติภัยใกล้ตัว

      เราให้ความสนใจเหตุกาณ์แผ่นดินไหวหรือสึนามิที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ จนลืมไปว่าธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยคร้งกว่าสึนามิในประเทศไทย และก่อให้เกิดความสุญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่ผู้คนทุกภาคนั่นคือ แผ่นดินไหว

      ประเทศไทยต้องเผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวถล่มทุกปี บางครั้งไม่มีผู้เสียชีวิต บางครั้งเกิดรุนแรงมากจนกระทั่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่น เหตุการณ์แผ่นดินถล่มที่บ้านกะทูนเหนือ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ. ๒๕๓๑ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ประมาณ ๒๓๐ คน   เหตุการณ์แผ่นดินถล่มที่ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีผู้เสียชีวิต ๑๓๖ คน บาดเจ็บ ๑๐๙ คน และล่าสุดคือเหตุการณ์แผ่นดินถล่มที่อำเภอพนม จังหวัดกระบี่ วันที่  ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔  มีผุ้เสียชีวิต ๘ คน สูยหาย ๔ คน และมี้บาดเจ็บ ๒๔ คน

ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ภัยพิบัติประจำวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

         แผ่นดินถล่มที่นับร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในโลก เกิดขึ้นที่ประเทศโบลิเวีย เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ทำให้ประชาชนมากกว่า ๘๐๐ ครอบครัวต้องไร้ที่อยู่อาศัย

        เคยคิดหรือไม่ว่าสาเหตุใดที่ให้แผ่นดินถล่ม

        ๑.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เราขาดการวางผังเมืองที่ดี ในจังหวัดกะบี่ ลักษณะทางธรณวิทยาของภูเขาภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต หินปูน สามารถผุพังได้ง่าย เมื่อฝนตก  การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการทำลายป่าไม้

        ๒.เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ โลกร้อนมากขึ้น  ฤดูการณ์แปรเปลี่ยนเกิดพายุมากขึ้น นำในทะเลเพิ่มมาก น้ำแข็งขั่วโลกละลาย สถานการณ์นำท้วมเกิดขึ้นทั่วโลก พื้นผิวโลกยุบตัวถล่ม

       ปัจจัยหลักการเกิดแผ่นดินถล่ม

        ๑.ลักษณะทางธรณีวิทยา ได้แก่ การแตตกสลายของหินแต่ละชนิดจะให้ดินที่มีลักษณะแตกต่างกัน เป็นต้น

        ๒.ลักษระภูมิประเทศ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง จะส่งผลให้มวลดินมีโอกาสเลื่อนไหลลงมาได้มากกว่าพื้นที่มีความลาดชันต่ำ

        ๓.สภาพสิ่งแวดล้อม ลักษณะพื้นดินที่มีพืชปกคลุมมีรากไม้ยึดเกาะดินไว้ ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินมากขึ้น ดินจึงเลื่อนไหล

        ๔.ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนจัดเป็นตัวแปปรที่สำคัญของการถล่ม ฝนตกมาก แรงเสียดทานแห่งการไหลมากขึ้นของน้ำ มวลดินจะเลื่อนไหลลงมาได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลจากหนังสือ สสวท. ปี ๓๙ ฉบับที่ ๑๗๑

หมายเลขบันทึก: 462633เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ที่น้ำปาดน่ากลัวมาก มีคนจมโคลนตายด้วยครับ

นมัสการครับ และอยากชี้แจง

"ข้อมูลจากหนังสือ สสวท. ปี ๓๙ ฉบับที่ ๑๗๑" เข้าใจยาก ตัวอย่างเช่น

...๑.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เราขาดการวางผังเมืองที่ดี ... ส่วนใหญ่เป็น<<หินแกรนิต>> หินปูน สามารถผุพังได้ง่าย เมื่อฝนตก...[หินแกรนิต เป็นหินแข็งแกร่งทนทาน หินปูน อ่อน เปราะ แตกหักง่าย]

... ๒.เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ โลกร้อนมากขึ้น ฤดูการณ์แปรเปลี่ยนเกิดพายุมากขึ้น นำในทะเลเพิ่มมาก น้ำแข็งขั่วโลกละลาย สถานการณ์นำท้วมเกิดขึ้นทั่วโลก พื้นผิวโลกยุบตัวถล่ม... [โลกร้อนมากขึ้น เป็นผล จากการกระทำของมนุษย์ ธรรมชาติ<<เพียง>>ปรับตัวให้คลายออกลดความเหลื่อมล้ำเกินไป(over-stress)]

... ๓.สภาพสิ่งแวดล้อม ลักษณะพื้นดินที่มีพืชปกคลุมมี<<รากไม้ยึดเกาะดินไว้ ทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินมากขึ้น ดินจึงเลื่อนไหล>>...[น้ำ ในดิน เกินแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดิน ทำให้ดินไหลได้]

... ๔.ปริมาณน้ำฝน น้ำฝนจัดเป็นตัวแปปรที่สำคัญของการถล่ม <<ฝนตกมาก แรงเสียดทานแห่งการไหลมากขึ้นของน้ำ มวลดินจะเลื่อนไหลลงมาได้ง่ายขึ้น>>... .[น้ำ เข้าไปในดินมาก เกินแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดิน ทำให้ดินไหล]

ผมว่า โดยสรุป:

"ธรณีพิบัติภัยใกล้ตัวคนไทย เป็นไปได้มากขึ้น เพราะปริมาณ น้ำฝนและน้ำในดินที่มากขึ้น จนไม่อาจจะกระจายออก ลดความเหลื่อมล้ำเกินไป ตามสภาพของที่ดินและการระบายน้ำ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท