เร่งฟื้นพื้นฐานการศึกษากลับมา


              เร่งฟื้นพื้นฐานการศึกษากลับมา 

 

 

          ยามนี้ ใีครๆ ก็พูดกันถึงความเป็น อาเซี่ยน ว่าไทยต้องเร่งปรับโน่นปรับนี่ ผมกลับคิดไปถึงเรื่องพื้นฐานสำคัญที่แวดวงการศึกษาต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครได้อ่านคงหัวเราะงอหาย

          1.นำวิชา หน้าที่พลเมืองและวิชาศีลธรรม กลับมาสอนกันเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่ระดับปฐมวัยเรื่อยไป เพราะเด็กไทยรู้จักหน้าที่ตนเองน้อยลงมาก ทั้งยังไม่เห็นความสำคัญของการทำความดีและเชื่อในเรื่องความถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม

           2.เน้นการอ่านให้ออก เขียนให้ได้  โดยมุ่งอ่าน-คัด-เขียน  เขียนจดหมาย ย่อความ เรียงความให้เป็น เพราะเด็กไทยจำนวนหนึ่งอ่านหนังสือไม่ออก  จำนวนไม่น้อยอ่านออกแต่ไม่เข้าใจว่าความหมายคืออะไร  มิไยต้องพูดถึงการเขียนและสื่ออะไรออกมาไม่รู้เรื่องเอาเสียเลย

          3.เน้นการลูกเสือและเนตรนารี  ซึ่งจะช่วยสร้างพื้นฐานการทำงานร่วมกัน การฝึกความเป็นผู้นำผู้ตาม  การเสียสละ ความมีวินัยและความอดทน

          ไม่ขออะไรมาก  ขอเพียงฟื้นเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง  ไม่เกิน 10 ปี จะได้เด็กไทยยุคใหม่ที่น่ารักกลับคืนมา

หมายเหตุ  ท่่านอื่นจะเน้นเพิ่มภาษาอังกฤษ / คณิตย์ศาสตร์ /คิดวิเคราะห์  ฯลฯ ก็ตามทีื เชิญเถิดครับตามสบาย ขอเพียงแต่อย่าพูดว่า มีอยู่แล้ว ซึ่งขอย้ำว่า ไม่จริง

คำสำคัญ (Tags): #อ่าน เขียน
หมายเลขบันทึก: 462539เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)

สวัสดีค่ะคุณครู

*** ต่อให้เทคโนโลยี และวิชาการด้านต่างๆก้าวล้ำไปแค่ใหนหากพลโลกละเลยซึ่งหน้าที่พลเมืองและขาดศีลธรรม

*** การฝึกความเป็นผู้นำผู้ตาม โดยเฉพาะผู้นำทำได้ยากขึ้น เพราะความเสียสละในใจของเด็กปัจจุบันลดน้อยลงไปมาก

*** ความมีวินัยและความอดทน โรงเรียนหนักใจ กระแสพลโลกก็มีให้เห็นแต่ก้ไม่พัฒนาตั้งแต่วินัยในครอบครัวแล้ว พอโตขึ้นให้ดรงเรียนแก้ก็ไม่ไหว ยิ่งความอดทนแค่อดทนกับการรอคอยเด็กยุคใหม่ยังทำไม่ค่อยได้เลยค่ะ

ขอบคุณที่อาจารย์เล็งเห็นความสำคัญของศีลธรรม , การอ่านออกเขียนได้ และ วินัย คะ

เป็นพื้นฐาน การดำรงชีวิต ความสงบสุขของสังคม

โจทย์ที่น่าคิด คือการสอนแบบใดที่ทำให้เด็กรู้จักหน้าที่ ในระดับฝังในจิตสำนึก มิใช่เพียงเนื้อหา

ขอบคุณ อ.กิติยา ที่ช่วยเพิ่มเติมเต็มครับ

cmu...ครับ ต้องเน้นที่กิจกรรมและการลงมือปฏิบัติจริง มากกว่าการบรรยายครับ

สวัสดีค่ะคุณครูหยุย

เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องปรับพื้นฐานค่ะ

รัฐต้องจริงจัง จริงใจ และทำทั้งระบบ สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง

เป็นตัวอย่างที่ดี ตั้งแต่ระดับหัว .. พอหัวส่าย หางก็กระดิก ขอบพระคุณเจ้า

เห็นด้วยกับครูหยุยในทุกประเด็นครับ แต่ขอเพิ่มเติมว่า

1.ประเทศไทย คงเป็นประเทศเดียวที่พูดถึงแต่วิชา "หน้าที่" พลเมือง แต่เราไม่ค่อยได้พูดถึงคำว่า วิชา "สิทธิ"พลเมือง หากเราคิดจะสอนวิชาหน้าที่พลเมือง ผมก็เห็นว่า เราจำต้องผนวกเรื่องของสิทธิพลเมืองด้วยครับ ไม่ใช่บอกแต่ว่า ประชาชนไทยมีหน้าที่อะไรต่อประเทศนี้อย่างเดียว แต่เราจะต้องให้เขารู้ด้วยว่า เขามีสิทธิอะไรบ้างในฐานะของพลเมืองในประเทศนี้ เพราะการรู้และทำแต่หน้าที่อย่างเดียว ก็เหมือนตาชั่งที่หนักไปข้างเดียว ไม่สมดุล เผลอๆก็กลายเป็นเหยื่อของนักการเมืองหรือชนชั้นปกครอง ที่อ้างเอาเรื่องหน้าที่มาให้ประชาชนทำ แต่ปิดบังอำพรางสิทธิที่ประชาชนควรรู้ควรมี จึงทำให้พลเมืองไทยถูดริดรอนความเป็นธรรมกันดาษดื่นในทุกวันนี้ ดังนั้นจึงขอเปลี่ยนเป็นว่า เราควรมีวิชา "สิทธิและหน้าที่พลเมืองไทย" ครับ

2.เรื่องการอ่านออกเขียนได้นั้น เป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันนี้เด็กไทยตั้งแต่ประถมยันอุดมศึกษาเขียนหนังสือไทยไม่เป็นครับ ที่ผมกล่าวเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริง เยาวชนของเราถ้าให้เขาเขียนภาษาเฟสบุค หรือภาษาแชท เขาเขียนได้เป็นวันๆ แต่พอจะให้เขียนเรียงความ บทความ ที่เป็นเรื่องเป็นราว เป็นทางการ หรือใช้ทำมาหากิน กลับเขียนวกวน จับประเด็นไม่ได้ วางประธานกิริยากรรมไม่ถูก ใช้คำเชื่อมไม่เป็น เลือกคำไม่เหมาะสม ซ้ำไปซ้ำมา พายเรือในอ่าง จนหาทางออกไม่ได้ ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ใส่ร้ายเด็กๆ แต่เป็นประสบการณ์ตรงของผม ที่ต้องตรวจงานเขียนโครงการของเด็กมาหลายปี อยากให้โรงเรียนทุกระดับหันมาเน้นฝึกการอ่านและการเขียนให้เด็กๆ อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง จึงเห็นด้วยกับคุณครูหยุยอย่างยิ่งครับ

3.สำหรับกิจการลูกเสือเนตรนารีนั้น ถึงแม้ปัจจุบันทุกโรงเรียนก็มีกิจกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนเราจะลืมปรัชญาหรือความมุ่งหมายพื้นฐานของการเป็นลูกเสือไป เรามักจะเน้นไปที่รูปแบบมากกว่าสาระ เช่น เน้นเครื่องแบบ เครื่องหมาย การท่องกฏ การเข้าค่าย และบ่อยครั้งที่เราเอาลูกเสือมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ผมมองว่า ปรัชญาของลูกเสือเมื่อลอร์ดเบเดน เพาเวล คิดขึ้ันมานั้น ก็เพื่อต้องการใช้จิตวิทยาเด็ก มาหล่อหลอมคุณลักษณะ ของความเป็นมนุษย์ที่ดี เช่น ความเป็นสุภาพบุรุษ ความเสียสละ ความกล้าหาญ การพึ่งพาตนเอง ความสามัคคี การบำเพ็ญประโยชน์(จิตอาสา) ฯลฯ โดยออกแบบกิจกรรมที่เข้ากับความสนใจของเด็ก เช่น การเข้าค่าย การเดินทางไกล การผจญภัย ฯลฯ แล้วจึงสอดแทรกคุณลักษณะดังกล่าว โดยการบูรณาการอยู่ในกิจกรรมที่กล่าวมา ซึ่งผมอยากเห็นการออกแบบกิจกรรมลูกเสือที่จะสามารถหล่อหลอมเยาวชน ให้เข้าถึงปรัชญาและความมุ่งหมายของลูกเสือโดยแท้ มากกว่าการนำลูกเสือมาใช้สร้างผลงานหรือเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น

สวัสดีค่ะIco48 ปัจจุบัน...ลำพังการจัดเรียนการสอนโดยสถานศึกษาต่างๆไม่สามารถเข้าถึงเด็กได้...มองดูแล้ว...สื่อทุกรูปแบบมีอิทธิพลมากต่อเด็กๆที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า...ซึ่งจะต้องเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศ ...ต้องอยู่ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วเพียงกด...คลิก...คลิกทุกอย่างก็มาอยู่บนจอคอมพิวเตอร์...อยากรู้ อยากเห็นอะไร?ก็ได้ดังใจนึก...ไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยตนเอง...ประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับจากสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมล้วนเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้เกิดเด็กพันธุ์ใหม่...ทำอย่างไร?จึงจะสามารถใช้สื่อทุกชนิดที่มีอยู่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพของคนและคุณภาพของประเทศได้...

poo ใช้ครับ ขอเพียงแต่รัฐจริงจัง จริงใจ ต่อเนื่อง ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อม

ขอบคุณ ดร.สมบูรณ์มากครับ ได้ช่วยต่อเติมจนเนื้อหานี่แน่นขึ้นอีกมาก ดีครับผมได้เรียนรู้ไปด้วย

อิทธิพลของสื่อในทางร้ายต่อเด็กตามที่ ดร.พจนา อธิบายไว้ก็จริงตามนั้น ยากจะฝ่าจะฟันพาเด็กๆ แหวกวงร้ายออกมาได้ ก็ต้องช่วยกันสร้างสติ สร้างพลังการแยกแยะถูกผิดให้แก่เด็กๆ ของเรา เพื่อรู้เท่าทันสื่อต่อไป

ปฏิบัติทุกวัน สมำ่เสมอ ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ ทีวี ด้วย

ทีวี เป็นตัวที่จะทำให้ กระบวนการปฏิบัติไม่สมบูรณ์

 

หาก อิน จะช่วยอธิบายเพิ่มเติม  ก็จะยังประโยชน์ต่อผู้ติดตามได้มากขึ้นครับ

ด้วยความระลึกถึง...สองวันก่อนกลับสุรินทร์ไปทำบุญวันเบ็น...มาค่ะ

 

ดีใจมากครับที่ทราบว่า อุ้มบุญ คนบ้านเดียวกัน สุขมากๆ กับผลบุญที่ได้รับนะครับ

ขอบคุณดอกไม้งามๆ จากบิลลี่/พี่หนาน/ดร.ภิญโญและ อ.โสภณ ที่มอบให้ครับ

สวัสดีค่ะ

วิชาหน้าที่พลเมือง และศีลธรรม นั้น จำเป็นสำหรับชีวิตค่ะ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ และ จริยธรรม แต่คงต้องเน้นให้ผู้เรียนให้มองเลยประโยชน์ปัจจุบัน ไปถึงประโยชน์เลยตาเห็น จนถึงประโยชน์สูงสุดด้วย

พระคุณเจ้าไพศาล วิสาโล เขียนความไว้ในหนังสือ " พุทธศาสนาไทยในอนาคต " ไว้ได้น่าสนใจค่ะ ท่านว่าเพราะเราเน้นประโยชน์ปัจจุบันมาตั้งแต่สมัย ร.4 คนในยุคนี้จึงไม่ค่อยเชื่อเรื่องผลของกรรมสักเท่าไหร่ เพราะไกลตัวเกินไป ซึ่งดิฉันมองว่าทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย เพราะยุคนั้นต้องพยายามนำประเทศให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคม ศาสนาจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างชาติ จึงได้ไปเน้นที่ประโยชน์ปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อเลยยุคนั้นมาแล้ว เป็นเพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

วันนี้ เราคงต้องสร้างเหตุปัจจัยใหม่แล้วมังคะ เพื่อให้ได้ผลไปในทางที่เราต้องการ

หวังว่าจะได้ผลอย่างที่ต้องการจังค่ะ

สิ่งที่ ณัฐ กล่าวมานั้น น่าพิจารณามากครับว่า จะสื่อและให้เด็กๆ เรียนรู้อย่างเข้าใจลึกซึ้งได้เช่นไร

      กล้วยไม้ออกดอกช้า       ฉันใด

การศึกษาเป็นไป                 เช่นนั้น

แต่ออกดอกคราใด               งามเด่น

งานสั่งสอนปลูกปั้น              เสร็จแล้วแสนงาม

                                         (หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล - บิดาแห่งการศึกษาไทย)

มล.ปิ่น ท่านเปรียบเทียบถึงผลลัพธ์ทางการศึกษาไว้แยบคายดีมาก เปรียบ เด็ก ที่รับการฝึกอบรมสั่งสอนเป็น กล้วยไม้ ในสมัยก่อนที่ออกดอกช้าแต่ออกมาแล้วหอมตามธรรมชาติ..กลีบคงทน..ไม่เหี่ยวเร็ว..เด็กยุคเก่าจึงมีคุณภาพแม้ปัญญาจะไม่เยี่ยมยอด...แต่เรียบเรียงถ้อยคำก่อนพูด..เขียนสื่อสารได้ดี..คุณธรรมล้ำเลิศ...รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนและผู้อื่น..ไม่จาบจ้วงล่วงละเมิดผู้อื่นจนเกินงาม....

แต่ปัจจุบัน...กล้วยไม้..ได้ถูกตัดแต่งสายพันธ์..เร่งใบเร่งดอกด้วยวิธีการสมัยใหม่...จึงออกดอกเร็ว...แต่ไม่หอมตามธรรมชาติ...หอมเพราะแต่งกลิ่นและเหี่ยวเร็ว....เหมือนเด็กที่ถูกเร่งให้...โต...เก่ง..ด้วยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ...การเมือง....สังคม...ค่านิยมของผู้ใหญ่...

หลักสูตรสู่สากลเพื่อการเข้าสู่อาเซี่ยน...หากเข้าด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีก็เป็นสิ่งดี...แต่ถ้าแข่งขันกันเกินไป...ก็เหมือน..กล้วยไม้..ที่ถูกเร่งด้วยปุ๋ยและสารเคมี...

****ขอบใจข้อคิดดีดีจาก ครูป่อง อ่านแล้วต้องคิดวิเคราะห์ตามครับ

...สงสัยว่า"จะต้องเอายายธีไปวิจัย"...เพราะเป็นเด็กรุ่นที่ยังได้เรียนวิชาที่เรียก..หน้าที่..ศีลธรรม.ในโรงเรียน..(กลับมารู้ตอนโต..อ้ะ(นิดเีดียว)..และก็ยังไม่รู้จริง..อยู่ทุกวันนี้..ตอนเรียนเขาเรียกว่า สักแต่ว่าเรียน..อิอิ..ท่องเอาไว้..ให้ได้คะแนนตอนสอบ..อ้ะ..ๆๆๆ..หน้าที่..คือ..ทำการบ้าน..ส่งครู...การเมือง..ไม่รู้..ครู..ไม่สอน..รึ..สอนไม่เป็น..ไม่รุ..อ้ะๆๆ..ศีล..มีอยู่ในกระดาษ..ปฏิบัติไม่เป็น...หน้าที่ที่มี..จริงๆ..เรียนให้จบ..(เพื่อ..อนาคต..ที่ไม่มี..)...เพื่อกระดาษ..ที่เรียกกันว่า..ปริญญา..โก้หรู..อ้ะะะๆๆๆ

***ยายธี อุทานเป็นระยะๆ ไ้ด้อารมณ์ดีแท้ แสบๆ คันๆ ดีนะครับการศึกษาไทย

ที่แสบๆคันๆเพราะระบบการศึกษาไทยไม่เข้มแข็ง...อ่อนปวกเปียกไปตามการเมือง...ให้นักการเมืองมีอำนาจมากกว่าพนักงานประจำของรัฐ...ความจริงสองกลุ่ม...อำนาจน่าจะคานกันได้นะ...แต่ที่เป็นอยู่มักยอมนักการเมือง...เพราะ....แข็งดั่งเหล็กเงินง้าง...อ่อนได้ดั่งใจ

ครูป่องครับ วันที่ผมไปอภิปรายนั้น ผมขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า อย่าฟังรัฐมนตรีพูด เพราะตัวแทน ศธ.ฟังปุ๊บทำสนองได้ปั๊บ ทำได้ไม่นานก็ทิ้ง  มาทำเรื่องใหม่ที่ รมต.คนใหม่สั่งการ เป็นแบบนี้จนไม่รู้ว่่างานของกระทรวงฯคืออะไร คนฟังปรบมือกันใหญ่ สรุปว่าตรงกันครับกับความเห็นครูป่อง

เมื่อวันที่ 28 กย. ก็กะจะไปฟังที่ ม.เกษตรศาสตร์ แต่ติดงานเลี้ยงเกษียณเช้า-เย็นที่โรงเรียน ไม่งั้นครูหยุยมีหน้าม้าและแฟนคลับเพิ่มอีกกลุ่มแน่ๆ(กลุ่มภาษาไทย ธร.อยากฟังครูหยุยพูด)....ชอบมากเรื่องการฟังปาฐกถา...ได้แง่คิดดี..และคิดอยู่แล้วว่าท่านต้องมีความคิดเห็นเป็นเช่นนี้..ถ้ามีคนของ ศธ. คิด(และทำได้)อย่างครูหยุยสัก 10 คน การศึกษาไทยก็คงไม่หลงทางอย่างนี้....

ครูป่อง ชมมากไปแล้ว โปรดทราบขณะนี้ลอยติดเพดานอยู่

เห็นด้วยกับท่านทุกประเด็น

ที่แล้วมาเราสอนมากสาระ จนไม่เติมพื้นฐานที่ท่านว่า

ป.๑ - ๔ มุ่งเน้นให้อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น พื้นฐานให้แน่น พร้อมปลูกฝังสิ่งที่ท่านเสนอแนะ จะเยี่ยมครับ

ส่วนการเตรียมสู่อาเซี่ยนก็สอนให้ฝึกพูดภาษากลางอาเซี่ยน ภาอังกฤษ ตั้งแต่ ปฐมวัย โดยไม่ต้องสนในเขียน ไวยากรณ์

  • สวัสดีครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับท่าน
  • ก่อนจะปรับและให้ทันชาติอื่นเขา เราต้องพัฒนาตนเองให้แน่นในพื้นฐานของตนก่อน

 

**มัวแต่วุ่นวายกับน่้้ำท่วม มาตอบช้ามาก ความเห็นวศินน่าสนใจมากครับ

ตามมาเห็นด้วยคนค่ะ

การเรียนวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรรมช่วยได้มาก

ให้พระมาสอนหรือไปเรียนที่วัดสัปดาห์ละครั้งเหมือนที่ได้เรียนก็ดีเป็นการฝึกให้เด็กๆมีนิสัยที่น่ารัก  

การเขียนตามคำบอกของครู  ฝึกเขียนทุกวันตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนเมื่อก่อนก็ทำกันค่ะ

เมื่อก่อนนัั่นไม่ต้องสอนมากแค่ดูตาก็รู้แล้วว่าผู้ใหญ่ให้ทำอะไร ท่านพอใจหรือไม่ แค่คำหยาบก็ไม่กล้าแล้ว

เดี๋ยวนี้ดูให้ตากระเด็นก็ไม่กระดิกค่ะ

ดีใจที่บอนนี่มาเยี่ยมเยียนและเสริมเติมข้อความครับ

..ทีวี เป็นตัวที่จะทำให้ กระบวนการปฏิบัติไม่สมบูรณ์..

ทีวี ต้องมีรายการที่ฝึกให้เด็กเกิดจิตสำนึกใฝ่ดีมี"หิริ โอตตัปปะ"แต่ก็ยากที่จะทำ..

หลักสูตรประถม ทุกวันนี้ให้เด็กเรียน 8 สาระนั้นยุ่งยากมากเกินไป จึงเรียกหลักสูตรนี้ว่า "หลักสูตรหลังแอ่น"เรียนจนเป็นโรค..โรคเพลียล้า จนหน้าซีดหน้าเซียว ขนหนังสือไปเรียนเต็มกระเป๋าจนหลังแอ่น..เห็นนักเรียนป.3 ที่รับผิดชอบอยู่แล้ว สงสารจับใจ พยายามใช้วิธีลัดให้สั้น ๆ ย่อ ๆ แล้วก็ยัง สาหัสอยู่ เพราะต้องตามหลักสูตรนั้น ๆ  ...

 

เรียน ท่าน วัลลภ ตังคณานุรักษ์

 

   - มารับความรู้จากท่านคะ

   - เห้นด้วยกับอจ.ทุกข้อคะ

   - ทำอย่างไรเด็กไทย..จะถามทุกครั้งว่า "ทำไม่คะ/ครับ"...เพราะอะไรคะ/ครับ???

   - ขอให้ท่าน อจ. มีสุขภาพกาน + ใจ ที่เข้มแข็งนะคะ

 

ด้วยความเคารพ

Somsri Nawarat


Ico64_5225555

สุขสันต์วันคริสต์มาสนะคะ

สวัสดีปีใหม่ 2555 

มีความสุขกาย สุขใจนะคะ

 

หลักสูตรแอ่น ที่อินนำเสนอมานั้น คมชัดดีครับ//ขอบคุณสำหรับภาพผืนป่าที่งามสดชื่น//ขออภัยที่ห่างหายการตอบไปนาน

ขอบคุณสมศรีที่มาเยือน ขออภัยที่ตอบรับช้าไป ที่ย้ำถามมานั้นเป็นคำถามที่สำคัญมาก

          เดี๋ยวนี้ น่าเป็นห่วงมาก  เด็กจับใจความไม่เป็น  และไม่เข้าใจศีลธรรมเอาเลย

ทั้งๆที่สิ่งดีงามเหล่านี้มีคุณค่าในแง่การใช้ชีวิต และเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์สิ่งดีงามในสังคมเขามองว่ายุ่งยาก  น่าเบื่อ

      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท