การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์


องค์ประกอบสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

อะไรคือองค์ประกอบสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ 

รองศาตราจารย์  ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  ได้กล่าวเกี่ยวกับระบบความคิดเชิงกลยุทธ์ไว้ว่า

ระบบความคิดเชิงกลยุทธ์

 

  1.   การพัฒนาระบบความคิดเชิงระบบ  ซึ่งมี 2  ความหมาย คือ 
    1. Systemanatics  thinking  เป็นกระบวนการพัฒนาการคิดให้เป็นระบบเป็นหัวใจสำคัญแห่งความสำเร็จ  อะไรที่ว่ายาก ก็จะง่าย เช่น  คนบางคนเดินหาตึกที่จะเรียน  แต่บางคนอยากจะเห็นในภาพกว้าง จึงปีนขึ้นสูง  บางคนคิดเพียง 5 นาที สามารถชนะคนที่คิดเป็นเวลานาน ๆ ได้ เป็นต้น
    2. Systems  thinking   จะมองไปข้างหน้าทุกก้าวเดิน จะเริ่มและดำเนินการไปต้องมีมูลค่าเพิ่ม มีระบบการคิดตั้งแต่ต้นจนจบ

       2. Innovation  ,มีความคิดสร้างสรรค์  รวดเร็ว  มีความรับผิดชอบ ออกมาเป็นรูปร่างให้เห็นชัดเจน

       3. Strategic   Thinker  สามารถทำนายอนาคต  มองเห็นอนาคต  จะมาไม้ไหนรับได้เสมอ

องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดี

  1. การทำ SWOT ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
  2. มีแผนระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น
  3. ทุกองค์ประกอบของแผน จะต้องมีความสัมพันธ์เป็นองค์รวม(Holistic) เชื่อมโยงเป็นระบบ(Systems) มีความสัมพันธ์ในเชิงสาระและเงื่อนเวลา สัมพันธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม     (Value Added) สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
  4. เป็นแผนที่ท้าทาย (Challenging) แต่เป็นไปได้ (Realistic)

  5.   กลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive  Strategies) เป็นวิธีการทีจะทำให้วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายประสบผลสำเร็จ เช่น ระดับธุรกิจ   ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้

-           ต้นทุน  มีการกระจายธุรกิจออกไปหรือไม่  จัดบุคคลแต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ ตรงตามความรู้ความสามารถ เช่น ฝ่ายการตลาด  จัดส่ง  ผลิต  การเงิน  บุคคล 

-             สร้างความแตกต่างให้กับผลผลิต

-             มุ่งที่ความแตกต่างในการกำหนดกลยุทธ์
   6.  การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic  Thinking)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น  3  ระดับ

1.กลยุทธ์ในระดับองค์กรหรือของบริษัท กลยุทธ์ในระดับนี้ครอบคลุมถึงขอบเขตการทำธุรกิจ ทิศทางธุรกิจ หมายถึงการพัฒนาธุรกิจไปสู่ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การขยายสายผลิตภัณฑ์ หรือการดำเนินธุรกิจครบวงจร หรืออาจจะขยายธุรกิจไปในสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยยังครอบคลุมไปถึงการจัดโครงสร้างขององค์กรหรือการจัดโครงสร้างทางด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางในการที่จะจัดสรรทรัพยากรเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งการกำหนดทิศทางของธุรกิจ

2. กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ หมายถึงการกำหนดกลยุทธ์ในด้านการตลาดเพื่อบรรลุสู่ลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือการกำหนดกลยุทธ์ในด้านการตลาดซึ่งอาจจะเน้นในเรื่องของต้นทุนที่ถูก หรือการกำหนดในการเน้นประสิทธิภาพตลอดจนการพัฒนาด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยี ถ้าจะเปรียบเทียบกลยุทธ์ในระดับธุรกิจกับกลยุทธ์ในระดับองค์กร อาจจะกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ในระดับธุรกิจนั้นเป็นกลไกหรือแนวทางเพื่อบรรลุทิศทางของธุรกิจ  ที่ถูกกำหนดในระดับองค์กร

3. กลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในเชิงเทคนิค หมายถึงการกำหนดกลยุทธ์ในด้านเทคนิคการตลาด การเงิน และการผลิต  อาจจะครอบคลุมถึงการกำหนดราคา  การกำหนดแรงจูงใจสำหรับลูกค้า การส่งเสริมการขาย การกำหนดแผนงานพัฒนาบุคลากรและอื่น ๆ

     สรุปได้ว่า  ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงต้องมีการจัดการในเชิงบูรณาการตามความเหมาะสมและขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพร้อมขององค์กรนั้นๆที่จะสามารถช่วยให้องค์กรนั้นมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรม

หมายเลขบันทึก: 462195เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2011 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท