Go Green


Go Green การจัดการสีเขียว

สำหรับนักศึกษาในรายวิชา การประกอบธุรกิจชุมชน นะจ๊ะ

 

คำถาม...

** จงยกตัวอย่างธุรกิจในปัจจุบันนี้ ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม และอย่างไร!!!***

 

นักศึกษาสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก หัวข้อ Go green "การจัดการสีเขียว" และมีรายละเอียดในเว็บบล็อกของอาจารย์ออด้วยนะจ๊ะ

หมายเลขบันทึก: 462031เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2011 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)

ปตท.  ช่วงนี้ทางบริษัท ปตท ได้รณรงอย่างต่อเนื่องในการปลูกป่า เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่คู่สังคมไทยค่ะ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการประหยัดทรัพยากรอีกด้วย

 

นางสาวชัญญพัชร์   ชัยกุล  รหัส 544407188 การจัดการทั่วไป 54/4

นางสาวอุบลรัตน์ คุยสี การจัดการทั่วไป กลุ่ม 3 รหัส 544407176

ธุรกิจใดที่รับผิดชอบต่อสังคมสูงสุด คำตอบก็คือ ธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุด บางท่านอาจแย้งว่า ธุรกิจที่ทำกำไรได้สูงสุด อาจเป็นเพราะขูดรีดแรงงานสูงสุด หรือเป็นธุรกิจที่หลบเลี่ยงภาษีก็ได้ นี่คือมโนทัศน์ที่เกิดขึ้นจากสังคมที่บิดเบี้ยว บิดเบือนและด้อยพัฒนาที่เราเห็นจนเคยชินอยู่ทุกวัน

แต่ในความเป็นจริง ธุรกิจที่ทำกำไรได้สูงสุด ย่อมหมายถึงธุรกิจที่มีระบบการบริหารที่ดีที่สุดในเชิงเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น ระบบบริหารที่ดีไม่ใช่ได้มาด้วยการเอาเงินไปซื้อมาเป็นสำคัญ แต่แสดงถึงการมีทักษะ หรือ Know-how ที่ดี ไม่ใช่ต้อง Know-who อย่างที่พบเห็นบ่อยครั้งในสังคมที่ต้องหมอบราบคาบแก้วกับความชั่วร้ายเพียงเพื่อการเอาตัวรอดทางธุรกิจไปวัน ๆ

ระบบบริหารที่ดีที่ทำให้ธุรกิจได้กำไรสูงสุดยังหมายถึงการมี CEO ที่ดี เราจึงควรส่งเสริมการเรียนรู้ว่า ธุรกิจและ CEO จะบริหารจนธุรกิจทำกำไรสูงสุดได้อย่างไร (บนพื้นฐานที่ไม่โกง) การทำกำไรสูงสุดโดยไม่เบียดเบียนใคร ไม่ใช่ตราบาปหรือเคราะห์กรรมที่เราพึงปกปิด หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง แต่ความสามารถในการทำกำไรสูงสุดควรได้รับการยกย่องอย่างโอ่อ่าเปิดเผย และเป็นการแสดงทักษะในการบริหารอย่างน่าภาคภูมิใจของ CEO ที่แท้จริง

นี่จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์และศิลปของการทำธุรกิจที่ตรงไปตรงมา สัตย์ซื่อถือคุณธรรมอย่างแท้จริง ที่ไม่ใช่การทำธุรกิจแบบ “มวยวัด” หรือเป็นแบบ “ปากคาบคัมภีร์ (CSR)” หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลไร้แก่นสาร

ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุดนั้น ย่อมเสียภาษีสูงสุด ผู้ที่เสียภาษีสูงสุดย่อมเป็นผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดในทางหนึ่ง จะเห็นได้ว่าภาษีรายได้ของธุรกิจของไทยนั้นเสียในอัตราประมาณ 30% ของกำไรสุทธิ ยิ่งธุรกิจใดมีกำไรมาก ก็ยิ่งเสียภาษีมาก

กลุ่มผู้ที่เสียภาษีมากที่สุดในประเทศไทยก็คือธุรกิจเอกชนนั่นเอง เสียภาษีมากกว่าตาสีตาสาที่เสียภาษีทางอ้อมต่าง ๆ เสียอีก อาจกล่าวได้ว่าเฉพาะเขตบางรักเขตเดียว ธุรกิจทั้งหลายเสียภาษีสูงกว่าชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคด้วยซ้ำไป

เราควรเข้าใจว่าภาษีทุกบาททุกสตางค์ นำไปพัฒนาประเทศ ที่ประเทศเรามีทางด่วน รถไฟฟ้า โทรศัพท์ ถนน ฯลฯ ก็ล้วนมาจากภาษีแทบทั้งสิ้น ส่วนที่จะมีใคร “งาบ” ภาษีไป ก็อยู่ที่กลไกของรัฐในการตรวจสอบ เราจะ “มั่ว” ใช้ “อารยะขัดขืน” พาลไม่จ่ายภาษี คงไม่ได้

ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมี CEO ที่บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะเสียภาษีถูกต้องและเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาพัฒนาประเทศแล้ว ธุรกิจเหล่านี้ยังไม่เป็นภาระให้รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีอากรมาโอบอุ้มอีกต่างหาก

เราคงเคยเห็นธนาคารที่เชิดหน้าชูตาหรือได้รับรางวัลมากมายด้าน “ความรับผิดชอบต่อสังคม” กลับ “ล้มบนฟูก” รัฐบาลต้องตั้งกองทุนมาฟื้นฟูต่าง ๆ นานา ธุรกิจหลายแห่ง หลายแขนง รัฐบาลก็ต้องเอาเงินภาษีอากรไปอุดหนุน เช่น ช่วยค่าน้ำมัน ช่วยประกันราคา ช่วยรับซื้อสินค้า ฯลฯ บางแห่งถึงขนาดนัดหยุดให้บริการจนประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ธุรกิจเหล่านี้ นอกจากจะขาดความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ยังเป็นปัญหาและสร้างภาระให้กับสังคมด้วยหรือไม่

ดังนั้นธุรกิจที่ทำกำไรมาก เสียภาษีมาก จึงมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ธุรกิจถือเป็น “กระดูกสันหลัง” ของความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะหากไม่มีภาษีจากธุรกิจเหล่านี้มาหล่อเลี้ยงประเทศแล้ว ประเทศไทยก็คงตกต่ำไม่ต่างจากประเทศหลายแห่งในทวีปอาฟริกาที่มีแต่คนจนที่รอเศษซากความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

นางสาวอุบลรัตน์ คุยสี การจัดการทั่วไป กลุ่ม 3 รหัส 544407176

นางสาวราตรี ดอนเทศน์ การจัดการทั่วไป 3/54 544407163

แฟรนไชส์รีไซเคิลขยะ วงษ์พาณิชย์

ในเขตเมืองพิษณุโลกได้มีการรณรงค์แก้ปัญหาขยะล้นเมืองในขยะนั้นซึ่งก็ได้รับความสนใจการประชาชนอย่างดี และหลังจากก่อตั้งโรงงานวงษ์พาณิชย์ จังหวัดพิษณุโลกก็ดูสะอาดขึ้นมาก อย่างผิดหูผิดตาหากท่านมีโอกาสผ่านไปจังหวัดพิษณุโลกลองสังเกตดู จะพบว่า แทบหาขยะตามท้องถนนไม่ได้เลย เพราะประชาชนเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะนั้นเอง

นางสาวแพรวพรรณ บางฉนวน การจัดการทั่วไป 3/54 544407156

กลุ่มสตรีทอผ้า

ประวัติความเป็นมาของกลุ่มสตรีทอผ้าศิลปาชีพบ้านละอูบ เริ่มแรกกลุ่มสตรีบ้านละอูบยังไม่มีกลุ่มและประสบปัญหาที่ผู้คนไปทำงานในเมืองซึ่งมีผลกระทบต่อครอบครัว กลุ่มสตรีจึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อหาวิธีทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และต่อมา คุณพ่อกรีมา มิ่งศรีสุข ได้นำเรื่องกลุ่มตรีและตัวแทนกลุ่มสตรีเข้าเฝ้า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จประทับที่บ้านดง เมื่อ พ.ศ.2536 หลังจากนั้นทางกองราชเลขาในองค์สมเด็จ ได้นำเรื่องนี้เข้าไปในพระราชวัง แผนกศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา ต่อมาคุณพ่อกรีมา ได้ติดต่อสอบถามและได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทางแผนกศูนย์ศิลปาชีพ จึงได้ออกใบอนุญาตและรับสั่งให้คุณกรีมา นำตัวแทนกลุ่มสตรี ไปเรียนเสริมวิชาทอผ้า ที่พระราชวังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยตัวแทนที่ไปเรียนนั้น ชื่อนางอานา มิ่งศรีสุข ได้ไปกับคุณพ่อกรีมา เมื่อคุณพ่อกรีมา ไปทำงานในตำหนักภูพิงค์ ตามรับสั่งของกองราชเลขาและศูนย์ศิลปาชีพ ต่อจากนั้นกลุ่มสตรี ได้รับพระราชทานพระราชโอวาท ว่าให้ทำงานเป็นกลุ่มก้อน และทรงสนพระทัยในเรื่องกลุ่มอาชีพของกลุ่มสตรีโดยเฉพาะการทอผ้า และได้พระราชทานทุนจำนวน 10,000 บาท ให้กับกลุ่มสตรี เพื่อบริหารจัดการในกลุ่มในช่วงการก่อตั้งกลุ่ม ช่วงแรกและหลังจากนั้นก็ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ทางกลุ่มก็ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ในด้านฝีมือ การบริหารจัดการกลุ่มมากขึ้น จนสามารถติดต่อการตลาดได้ โดยการประสานกับศูนย์ศิลปาชีพแม่ฮ่องสอน และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ลาน้อย ปัจจุบันกลุ่มสตรีมีสมาชิกทั้งหมด 40 คน ผลการดำเนินงานของกลุ่มตลอดระยะเวลา 7 ปี กว่า ที่ผ่านมา การดำเนินงานก่อให้เกิดผลดีในหลายๆด้าน เช่น ทำให้เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้นระดับหนึ่ง สตรีในกลุ่มมีรายได้ จากอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 6 - 7 พันบาทต่อคนต่อปี ปัจจุบันกลุ่มสตรีบ้านละอูบ จัดตั้งที่บ้านเลขที่ 25 / 1 หมู่ 6 บ้านละอูบ ต.ห้วยห้อม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

เป็นการสืบสานวัฒนธรรมเก่าแก่ของชาวบ้านละอูบ เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างงานสร้างอาชีพให้กับบุคคลเหล่านี้รวมทั้งรายได้ที่ชาวบ้านได้รับอีกด้วย

นางสาวมนรักษ์ รอดทอง การจัดการทั่วไป 3/54 544407159

บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และพันธมิตรสีเขียวจัดกิจกรรมตามโครงการ “Let’s go green by Idea Green.” โดยมีนายพยัต ชาญประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ รับมอบกล่องรักษ์โลก พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ณ ห้องศรีจันทร์ 1 โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น

สำหรับโครงการ “Let’s go green by Idea Green.” จัดขึ้นเพื่อต่อยอดนโยบายจัดซื้อ จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคลากรของภาครัฐและเอกชนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ให้มีจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม รณรงค์ให้คัดแยกกระดาษก่อนทิ้ง โดยเอสซีจี เปเปอร์ได้มอบกล่องรักษ์โลก จำนวน 10,000 ใบให้กับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนที่ร่วมโครงการ ช่วยคัดแยกเศษกระดาษก่อนทิ้ง

นายพยัต ชาญประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เกิดความตระหนักด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งจังหวัดขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนชาวชขอนแก่นอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อมั่นว่า สิ่งแวดล้อมที่ดี นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม

แม้กระทั่งการจัดซื้อจัดจ้าง ทางรัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือได้รับฉลากเขียว โดยปีนี้รัฐบาลมีนโยบายให้ร้อยละ 75 ของหน่วยงานรัฐ ใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นโยบายต่างๆ ของทางรัฐบาล

นายดนัยเดช เกตุสุวรรณ ผู้จัดการธุรกิจ โฮมแอนด์อออฟฟิศ โซลูชั่น บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จุดยืนองค์กรเอสซีจี ที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษและพันธมิตรสีเขียว เผยแพร่นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ

พร้อมทั้งรณรงค์ส่งเสริมให้มีการใช้กระดาษอย่างรู้คุณค่า ช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งช่วยจุดประกายความคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคนในสังคม โดยจัดโครงการ “Let’s go green by Idea Green.” ขึ้นใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ

นางสาวชุติมา หอมเนียม การจัดการทั่วไป 3/54 544407139

การทำกล้วยกวน

กลุ่มอาชีพทำกล้วยกวน เริ่มจากประชาชนในหมู่บ้านเสร็จจากการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก ทำให้มีเวลาว่าง กลุ่มสตรีจึงได้ทำประชาคมกันว่าจะหาอาชีพอะไรมาทำเสริม เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มทำกล้วยกวนขึ้นมาโดยมีการเลือก ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม และกรรมการร มีสมาชิกทั้งหมด 14 คน มีเงินทุนครั้งแรก 700 บาท

เป็นการช่วยเหลือประชากรที่ทำสวนกล้วย การนำกล้วยมาแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับประชากร

"Idea Green" กระดาษเป็นมิตรกับต้นไม้ โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้

กระดาษ Idea Work ผลิตภายใต้กระบวนผลิต Green Process ของ SCG Paper และใช้เยื่อที่ได้จากไม้ปลูก 100% ทำให้มั่นใจได้ว่า กระดาษ Idea Work ใช้ทรัพยากรเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด และโดยไม่ทำลายธรรมชาตีอีกด้วย

เอสซีจี เปเปอร์(SCG Paper) บริษัทผลิตกระดาษภายใต้เครือซีเมนต์ไทย เข้าใจความห่วงใยของผู้บริโภคที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ได้เปิดตัว "ไอเดีย กรีน" กระดาษคุณภาพเพื่อใช้ในสำนักงานที่มีส่วนผสมของ EcoFiber 30% ภายใต้แนวคิด "Think for the better" เพื่อให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง

โดย EcoFiber นี้คือเยื่อกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทำมาจากเศษวัสดุ หรือวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วจากนอกโรงงาน การนำวัสดุรีไซเคิลมาผลิตกระดาษนี้ช่วย ลดปริมาณการตัดต้นไม้ลงได้ 30% เพราะกระดาษทั่วไปนั้นต้องใช้เยื่อของต้นไม้ 100% ในการผลิต

จากรายงานของ สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษแห่งประเทศไทย ระบุว่า คนไทยบริโภคกระดาษ 56 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งเท่ากับจำนวนบริโภคต่อคนโดยเฉลี่ยของโลก

ตัวเลขนี้อาจดูน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่บริโภคกระดาษมากที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกาที่สูงถึง 312 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นที่บริโภคกระดาษ 250 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

แต่รู้มั้ยว่าเพียงแค่นี้ในปี 2550 เราได้บริโภคกระดาษพิมพ์เขียนไปแล้วถึง 964,000 ตัน เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 13% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2546-2550

ซึ่งการผลิตเยื่อกระดาษ 1 ตันนั้น ต้องใช้ น้ำกว่า 120,000 ลิตร ใช้ ต้นไม้เกือบ 20 ต้น และใช้ ไฟฟ้าประมาณ 1.2 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง

แม้จะมีทางเลือกใหม่เป็นกระดาษที่ลดการตัดต้นไม้ออกมา แต่จากตัวเลขข้างต้นแล้ว แสดงให้เห็นว่ากว่าจะเป็นกระดาษให้เราใช้กันเนี่ย ต้องเผาผลาญทรัพยากรใช่ย่อยเลยนะ

รู้อย่างนี้แล้วมาช่วยกันใช้กระดาษแต่ละแผ่นให้คุ้มค่ากันดีกว่า โดยใช้กระดาษทั้งสองด้าน ไม่ทิ้งกระดาษใช้แล้วปะปนกับขยะอื่น ๆ และไม่ฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จะได้เอาไปรีไซเคิลต่อได้

เพราะกระดาษใหม่แต่ละแผ่นนั้นสามารถนำไปรีไซเคิลกลับมาเป็นกระดาษได้เกือบ 10 ครั้ง

กระดาษเก่า 1 ตัน สามารถนำมารีไซเคิลเพื่อผลิตกระดาษใหม่ได้อีกเกือบ 1 ตัน

อีกทั้งการนำกระดาษเก่ามาผลิตกระดาษใหม่แทนการใช้ต้นไม้ จะช่วยลดมลภาวะทางอากาศได้ถึง 74% และหลีกเลี่ยงมลภาวะทางน้ำได้อีก 35%

ถ้ามีกระดาษที่ไม่ใช้แล้วเยอะ ๆ แต่ไม่รู้จะเอาไปไว้ไหน ทาง มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา เค้าทำ "โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้" มาสิบกว่าปีแล้ว รับบริจาคกระดาษใช้แล้วทุกประเภท เพื่อนำไปขายต่อให้กับโรงงานรีไซเคิลกระดาษ ส่วนรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปสมทบเข้ากองทุนป่าชุมชนกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ

นางสาวพัชริดา ศรีบุญมา 524407013 กาจัดการทั่วไป/1

นางสาวสิริพร ท้วมทอง

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หรือโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility; CSR) ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์ที่จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งสร้างและสืบสานความสัมพันธ์อันดีที่เกิดจากการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน มีหลักการกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ประกอบด้วยหลัก 7 ประการ 1. การกำกับดูแลองค์กร บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบที่ดีของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าและ ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงการบริหารจัดการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นสากลและเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและดำรงรักษาความเป็นเสิศในคุณธรรมอันเป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนำ 2. สิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ ส่งเสริมความเสมอภาค ไม่แบ่งแยกเพศและชนชั้น ไม่ใช้แรงงานเด็ก และต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ 3. การปฏิบัติด้านแรงงาน บริษัทฯ มีการกำกับดูแลให้ค่าจ้างอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอุตสาห-กรรมของไทย การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และการจัดระเบียบองค์กรนั้นจะดำเนินการอย่างรับผิดชอบโดยอยู่ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายไทย รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยสำหรับพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โดยพยายามให้ทุกคนปลอดจากอุบัติเหตุและอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 4. สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น มีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมต่างๆขององค์กร ทั้งนี้เพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ 5. การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและ มีจริยธรรม ใส่ใจในการปฎิบัติตามกฎหมาย เคารพกฎระเบียบของสังคม และเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางการเมือง 6. ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้จัดหา มุ่งเน้นการบริการที่ดีเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า มีความจริงใจต่อการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า รวมทั้งพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผลิต และ/หรือการบริการ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าและการบริการในลักษณะเดียวกันนี้จากองค์กรผู้จัดหาสินค้า โดยมุ่งเน้นที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าและผู้จัดหา 7. การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน บริษัทฯ จะพิจารณาความต้องการของชุมชน ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่นรอบสถานประกอบการในด้านการพัฒนา- การศึกษา วัฒนธรรม สังคม และมีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมทำงานอาสาสมัคร และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วม กับชุมชน นางสาวสิริพร ท้วมทอง รหัส 544407215 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 4

ดวงจันทร์ สุขสำราญ

การทำเรื่องไทยจิ๋ว ซึ่งวัสดุที่ให้ทำมาจากเศษไม้สักที่เหลือใช้สำหรับวิธีการทำบ้านไทยจำลองจิ๋วนั้นทางกลุ่มจะแบ่งหน้าที่ให้กับทางสมาชิกรับผิดชอบกัน คนไหนทำรั้วบ้าน คนไหนทำชิ้นส่วนของหลังคาบ้าน หรือชิ้นส่วนอื่นๆ ตามความถนัด ซึ่งสามารถนำกลับไปทำที่บ้าน แล้วนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบกัน จนออกมาเป็นบ้านแสนสวย มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบสวนถาด นาฬิกา หรือแม้กระทั่งชุดประกอบสำเร็จรูป ทั้งนี้ในเรื่องราคาก็ไม่สูง มีราคาเริ่มต้นที่ 250 บาท และที่ขาดไม่ได้คือชุดประกอบแบบสำเร็จรูป ราคาเพียง 179 บาท เท่านั้น

นอกจากนี้ตัวบ้านเรือนไทยจิ๋ว ก็มีให้เลือกหลากหลายฤดูกาล แตกต่างกันออกไป ใครชอบแบบไหน ชอบต้นไม้ชนิดใด สามารถปลูกได้ตามใจต้องการ

สำหรับรางวัลการันตีของที่นี่มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกียรติบัตรกลุ่มบ้านเรือนไทยจิ๋ว ชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์เด่นประเภทหัตถกรรม งานมหกรรมสินค้าชุมชน รางวัลชุมชนเข้มแข็งตัวอย่าง รางวัลโอท๊อป 4 ดาว 2 ปีซ้อน หากท่านใดที่กำลังมองหาของที่ระลึก ของฝาก โดยเฉพาะช่วงเดือนแห่งการเกษียณอายุราชการ นี้ อย่าลืมเรือนไทยจำลองจิ๋ว ของดีองค์การบริหารส่วนตำบลอรัญญิก เป็นตัวเลือกหนึ่ง และยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านมีรายได้เลี้ยงครอบครัวด้วย

นางสาวสิริลักษณ์ คำภิระแปลง การจัดการทั่วไป 1/52 524407034

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (“บีเจซี”)มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวมบุคลากรทุกระดับรับผิดชอบและยึดมั่นในการดูแลรักษาลิ่งแวดล้อม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่องค์กรตั้งอยู่ ดำเนินกิจกรรมเพื่อร่วมสร้างสรรสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับรัฐและชุมชน ป้องกันอุบัติเหตุและควบคุมการปล่อยของเสียให้อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อันเนื่องจากการดำเนินงานของบริษัท โดยให้ความร่วมมือเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จิราภรณ์ อ่อนสำอางค์

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.สานต่อ“แนวคิดสีเขียว”ดันโครงการ “Go Green Exhibition ปี 2” เดินหน้านโยบายรักษ์โลกในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้า ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชนกว่า 30 องค์กรระดมความ คิดเห็นเตรียมจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมตั้งเป้าจัดตั้ง “คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” เพื่อผลักดันสู่วาระแห่งชาติ สร้างแบรนด์ “งานแสดงสินค้าสีเขียว” ของไทยติดอันดับในระดับโลก

นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่ง เสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)หรือ สสปน. เปิดเผยถึง โครงการ “Go Green Exhibition” ปีที่ 2 ครั้งนี้ว่า “จากความสำเร็จของโครงการ Go Green Exhibition ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเราได้นำร่องโครงการโดยการเชิญชวนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าเข้าร่วม โครงการ โดยในปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งสิ้น 35 หน่วย งานขานรับแนวนโยบายและเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ในปีนี้เราจึงต่อยอดขยายผลการดำเนินงานในโครงการและเร่งสร้างความเข้าใจให้ ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว เพื่อ “กระตุ้นให้นำแนวนโยบายมาประยุกต์ใช้สู่การปฏิบัติจริง”

โครงการ Go Green Exhibition ปี 2 เป็นโครงการเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนว ทางปฏิบัติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้า โดยในครั้งนี้มุ่งเน้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของไทยทั่วประเทศได้ ตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและระดมความคิดเห็นเพื่อ ร่วมกันจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” ขึ้น เป็นครั้งแรก พร้อมเตรียมแผนจัดตั้ง “คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” เพื่อ ผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไปในอนาคต ภายใต้กรอบแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดสีเขียวร่วมกับการบริหารจัดการด้านการ ตลาด และการประสานแนวคิดของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเข้ากับการ อนุรักษ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันสร้างแบรนด์สีเขียว (Green Branding) ให้อุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับใน ระดับโลก

“แนว ทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ สสปน.ใช้กรอบแนวคิด“Sustainability and Branding for Green Exhibition” อันจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าร่วมกันอย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอม รับในระดับนานาชาติ โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้จะมุ่งเน้นการหารือร่วมกันในด้านการพัฒนา และการปฏิบัติตัวตามนโยบาย แนวทางการสร้างแบรนด์สีเขียวให้แก่ประเทศไทย และความคาดหวังของภาคเอกชนต่อการสนับสนุนของภาครัฐบาล โดยร่วมมือกับ สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เพื่อร่วมกันสร้างกรอบแนวทางที่เป็นมาตรฐานยอมรับได้ในระดับโลกและสามารถนำ มาประยุกต์ใช้ได้จริงในประเทศ พร้อมทั้งสสปน.ได้เตรียมจัดตั้ง “คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” และผลักดันให้เกิดการปฎิบัติอย่างจริงจังในระดับองค์กรต่อไปในอนาคต” นายอรรคพล กล่าวเสริม

ทาง ด้านนางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ สสปน.กล่าวว่า “และเพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าได้นำเอานโยบายสีเขียวเข้ามาปรับใช้ ในอุตสาหกรรมฯอย่างจริงจัง ในระยะเริ่มต้น สสปน.จึงได้ร่วมจัดตั้งโครงการ “Go Green Exhibition Award” ขึ้น โดยเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ อาทิ บริษัทจัดงานแสดงสินค้า บริษัทรับเหมาก่อสร้างคูหา บริษัทขนส่ง สถานที่จัดงาน รวมถึงอีเว้น ออร์แกไนซ์เซอร์ ฯลฯ ส่งแผนธุรกิจเข้าประกวด โดยแผนงานที่เข้าประกวดจะต้องมีการนำแนวคิดสีเขียวไปปรับใช้ในทุกๆ ด้านทั้งการบริหารจัดการภายในองค์กร การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร และการดำเนินธุรกิจ โดยแผนงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนจาก สสปน.ในการนำเสนอผลงานเพื่อร่วมแข่งขันในเวทีระดับโลกต่อไป พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นองค์กรสีเขียวต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรม งานแสดงสินค้าของประเทศ”

โครงการ Go Green Exhibition Award เป็นโครงการในระยะเริ่มต้นของ การจัดทำ“แผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าแห่งชาติ” โดยความร่วมมือระหว่าง สสปน. สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) และสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการระดับโลก (UFI – Global Association of the Exhibition Industry) ผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครการประกวดได้โดยตรง ณ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ www.greenmeetingsthailand.com และสามารถร่วมส่งแผนงานเข้าประกวดได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่วันนี้ถึง 1 ตุลาคม 2553

นางสาวจิราภรณ์ อ่อนสำอางค์ รหัส 544407136 ห้อง 3/54

นางสาวมุกมณี โรจนทรัพย์กุล

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

เป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงมาก แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ภายใต้แนวคิด ทุกองค์การควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม

การดำเนินการของธุรกิจจะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎหมายและเสียภาษีหรือไม่ ? แต่จะรวมไปถึง "องค์กรจะปฏิบัติต่อลูกจ้างพนักงานอย่างไร? ใส่ใจลูกค้า ผู้บริโภค หรือเปล่า? ใส่ใจที่จะปกป้องดูแลสภาพแวดล้อมหรือไม่?

เนื่องจากแต่ระบริษัทมีการ รณรงค์เรื่องโลกสีเขียวตลอดเวลา มีการใช้กาซธรรมชาติมาช่วย เป็นการประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง

นางสาวมุกมณี โรจนทรัพย์กุล

การจัดการทั่วไป 4/54 กลุ่ม4 ห้อง2

รหัสนักศึกษา 544407200

นพวรรณ เชิดชู 524407069 การจัดการ 2

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก

นางสาวนุชจรีย์ จันทร์ทอง

ยกตัวอย่าง เช่น

1.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง อาทิ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย Young Thai Artist Award รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้านกีฬา จัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย และจัดแข่งขันวอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย

ชิงชนะเลิศยุวชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการ Do It Clean เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ในส่วนของบุคลากร เครือซิเมนต์ไทยได้มีการจัดอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถอยู่สม่ำเสมอ

2.บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

นางสาวนุชจรีย์ จันทร์ทอง การจัดการทั่วไป 4/54 รหัส 544407195

โครงการลานกีฬา AIS

เนื่องด้วยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ดำเนินนโยบายจัดทำโครงการเพื่อตอบแทนสังคม ด้วยตระหนักถึงภาระหน้าที่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทฯได้จัดโครงการตอบแทนสังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ เอไอเอส ยิ้มหวานวันเด็ก เอไอเอส แฟมิลี่ แรลลี่ สมทบทุนมูลนิธิสายใจไทย เอไอเอส แฟมิลี่ วอล์ค แรลลี่ สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นต้น

ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมมากขึ้น การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเต็มไปด้วยความรีบเร่งและมีการแข่งขันกันสูง นำมาซึ่งความเครียดของคนในสังคม ดังนั้นวิถีชีวิตของคนในสังคมจึงเริ่มเรียกร้องถึง "คุณภาพชีวิต" มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากคนในสังคมได้พยายามหาทางออกโดยการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม หรือทำงานอดิเรกต่างๆเพื่อการผ่อนคลายทางอารมณ์ และหนึ่งในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ที่เป็นทางเลือกในอันดับต้นๆของคนในสังคม คือการเล่นกีฬา โดยจะเห็นได้จากลานกีฬาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในสวนสาธารณะหรือในแหล่งชุมชน จะได้รับการตอบรับเข้าใช้บริการจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ในบางครั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ด้วยเหตุนี้เอไอเอสจึงเล็งเห็นว่า การเล่นกีฬา จะมีส่วนช่วยให้คนในสังคมได้ผ่อนคลายทางอารมณ์ และยังช่วยสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังและเชิญชวนให้เยาวชนได้หันมาให้ความสนใจกับการเล่น กีฬามากขึ้น ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศให้มีความแข็ง แรงและเจริญก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต

นางสาวพิศิพร ทัศนา การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 524407014

บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรหนึ่งที่เล็งเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบนโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้มีการพัฒนาระบบการดำเนินงานควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม เพื่อแสดงถึงจุดยืนของบริษัทฯ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ในเรื่องการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับกระบวนการผลิตนั้น มีการสร้างระบบป้องกันมลพิษทั้งทางด้านน้ำและอากาศ อาทิ ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีมานานกว่า 15 ปี

การนำผลิตผลที่ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย (CH4) ไปใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้พลังงานและยังสามารถลดมลพิษเป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากบุคลากรเหล่านี้จะได้รับการอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจและมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องในเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว บริษัทฯ ยังจัดให้มีการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญก็คือ การที่บริษัทฯ พยายามเผยแพร่และผลักดันให้บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมจากองค์กรอื่น ๆ ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น ๆ โดยเปิดโอกาสให้แก่นิสิต นักศึกษา บุคคลภายนอกที่สนใจ และบริษัทอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูระบบงานและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม ผมเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ การได้ร่วมงานกับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น ๆ ถือเป็นความภาคภูมิใจของผม เพราะนอกจากผลงานด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯ สามารถแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว บริษัทฯ ยังสนับสนุนให้บุคลากรร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและระบบงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับลูกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งทำให้รู้สึกว่าผมก็เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ขึ้นด้วย

นางสาว นิภาพร ตุ้มพงศ์ การจัดการทั่วไป (กลุ่ม1) 524407011

ธุรกิจ Amway บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตระหนักถึง โดย กิจธวัช ฤทธีราวี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากปณิธานของแอมเวย์ต่อสิ่งแวดล้อม เราเชื่อว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แอมเวย์จึงได้ดำรงรักษาความมุ่งมั่นในด้านนี้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธุรกิจเมื่อปี 2502 พร้อมใส่ใจในสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้จากการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในปัญหาสำคัญที่บริษัทได้ตระหนักถึงมาโดยตลอดคือ ปริมาณขยะที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แอมเวย์ประเทศไทยจึงได้สร้างสรรค์กิจกรรม “ฉันมิใช่ขยะ...นะจ๊ะ” เพื่อเป็นอีกหนึ่งพันธสัญญาที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีและน่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้นักธุรกิจแอมเวย์และสมาชิกได้แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการรณรงค์ให้นำบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วของแอมเวย์กลับคืนมายังบริษัท เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี ลดปริมาณขยะให้สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือแปรรูปใช้ใหม่ และถือเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย

นางสาว นิภาพร ตุ้มพงศ์ การจัดการทั่วไป(กลุ่ม1)524407011***

นางสาวเรขา อาจองค์ การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 524407023

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หรือโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility; CSR) ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์ที่จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งสร้างและสืบสานความสัมพันธ์อันดีที่เกิดจากการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน

นางสาวทิพยาภรณ์ อินทร์ภู่ 524407009 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1

บริษัท CP

CP 3 R

Reduce ลดเลิก Re-use ใช้คุ้ม Recycle นำไปผลิตใหม่ทดแทน

ยกเลิกการใช้โฟมบรรจุสินค้า เปลี่ยนมาใช้กระดาษแทน

สนับสนุนการลดปริมาณขยะ ด้วยการพิมพ์ข้อความบนถุงพลาสติก แนะนำให้ลูกค้านำกลับมาใช้อีกครั้ง

เราเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าภายในร้านทั้งหมดเป็นหลอดประหยัดไฟ เปิดไฟอย่างประหยัด เปลี่ยนระบบปรับอากาศใหม่ ให้ประหยัดพลังงาน ของร้าน ของประเทศและของโลก

นำร่องใช้ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในร้านสาขาพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะเต่า และเกาะพีพี

สนับสนุนกิจกรรม “45 วัน รวมพลังลดถุงพลาสติก...ลดโลกร้อน” โดยให้พนักงานของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ สอบถามลูกค้าก่อนรับสินค้าว่า “ไม่รับถุงพลาสติก ช่วยลดโลกร้อนไหมค่ะ/ครับ”

บันทึกสถิติยอดลูกค้าปฏิเสธรับถุงพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 2,702,700 ถุง

จัดโครงการลดและคัดแยกขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร จังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดภูเก็ต

โครงการบริจาคถุงพลาสติกคืนเพื่อรีไซเคิล เป็นโครงการที่รณรงค์ภายในองค์กรให้พนักงานของบริษัทนำถุงพลาสติกใช้แล้วมาบริจาคเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งสามารถรวบรวมถุงพลาสติกได้มากกว่า 30,000 ถุง

โครงการร่วมใจใช้ถุงผ้าไม่เรียกหาถุงพลาสติก รณรงค์ให้พนักงานใช้ถุงผ้าใส่ของแทนถุงพลาสติก

โครงการหิ้วถ้วยกาแฟไม่แคร์ถุงพลาสติก ด้วยการจัดทำถุงหูหิ้วรูปตัว T ให้ลูกค้าของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ใช้หิ้วถ้วยเครื่องดื่ม ซึ่งสามารถช่วยให้ลดปริมาณและขนาดของถุงพลาสติกลงได้

**นางสาวทิพยาภรณ์ อินทร์ภู่ 524407009 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1***

รัศมี ศรีเจริญ 544407201 4/54

บริษัท โตโยต้า

มีอย่างไม่มีข้อสงสัยวันนี้เกี่ยวกับการที่อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นหัวเรื่องและเป็นที่แน่นอนขับรถต่อทุ่งหญ้าสีเขียวเป็น ด้วยความกังวลสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตและราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นดูเหมือนว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่มีเกมง่ายๆที่ว่า บริษัท น้ำมันจะต้องหันไปทางพลังงานสีเขียว โตโยต้าได้ไปอีกขั้นหนึ่งในขณะนี้โดยการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่อย่างไม่สามารถเถียงได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดของพลังงานสีเขียวบนโลกในหนึ่งของร้อนใหม่ของพวกเขา studs - The Prius ไฮบริด! โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปวางแผนที่จะติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในรุ่นถัดไปของพริอุสรถยนต์ไฮบริมันกลายเป็น automaker สำคัญตัวแรกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับยานพาหนะ โตโยต้าจะจัดให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาของรุ่นท้ายสูงของพริอุสที่เมื่อมัน redesigns น้ำมันเบนซินไฟฟ้ารถไฮบริในต้นปีหน้าและพลังงานที่สร้างโดยระบบที่จะใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศ ดูเหมือนว่าจะย้ายที่มีทั้งง่ายและสิ่งที่ทำให้มากทั้งความรู้สึกมากเกินไป โตโยต้าวางแผนที่จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำโดย บริษัท เคียวเซร่าและในขณะที่รายงานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจาก บริษัท ตัวเองที่ดูเหมือนว่าบางอย่างสวยที่นี้จะเกิดขึ้น Prius ที่แรกของโลกที่มวลผลิตไฟฟ้าน้ำมันรถไฮบริดครั้งแรกก็ที่ขายในญี่ปุ่นในปลายปี 1997 และในตลาดอื่น ๆ ในปี 2000 และยอดขายสะสมได้มีการเติมเงิน 1 ล้านหน่วยทั่วโลก นี้อาจทำให้ทุกที่เป็นที่นิยมมากขึ้น แหล่งDisqus

รัศมี ศรีเจริญ 544407201 4/54

นางสาว ราตรี เพ็งพล

โครงการ “5 Green” ของบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด

ด้วย ความตระหนักถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิดเป็นขยะพิษไม่มากก็น้อย ดังนั้นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบโดยมีกิจกรรมที่ช่วยดูแลสิ่ง แวดล้อมอย่างจริงจัง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการ “5 Green” อันประกอบด้วย Green1 Product คือ สินค้าต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ จัดหาวัตถุดิบ การผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง ตลอดจนการจัดทิ้งให้ถูกวิธี Green2 Service มีบริการเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค โดยเน้นถึงความปลอดภัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม Green3 Purchasing เลือกซื้อสินค้าที่เป็น Green Product จากบริษัทที่เป็น Green4 Company เช่น ผ้าป้ายโฆษณาหมึก inkjet ที่ประดิษฐ์โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งรักษาสิ่งแวดล้อมแต่มีความคงทนสวยงาม Green5 Company โดยทั้งบริษัทขายและโรงงานผลิตจะรณรงค์ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำและ Green Society คือ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่าชายเลน ป่าปะการัง เป็นต้น

นางสาวราตรี เพ็งพล การจัดการทั่วไป 4/54 รหัส 202

นางสาวเบญจมาศ ตุ้มเรือง

ในงาน SET AWARD 2006 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 นับเป็นครั้งที่ 4 ที่วารสารการเงินการธนาคาร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมประกาศเกียรติคุณและยกย่องบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีความยอดเยี่ยมด้านผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการในด้านต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนดีเด่น โดยมีการมอบรางวัลทั้งสิ้น 39 รางวัล ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่มีการมอบรางวัล Best Corporate Social Responsibilities (CSR) Awards ซึ่งมอบให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 4 รางวัล โดยผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้ง 4 บริษัทเป็นบริษัทที่โดดเด่นในเรื่องนี้อย่างไม่มีข้อสงสัย การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็น 3 ปัจจัยสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคม นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก "...เราทำทุกเรื่องตั้งแต่การดูแลสินค้าให้มีคุณภาพ หัวใจสำคัญที่สุดในการรับผิดชอบต่อสังคมของเรา คือ การแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง..." นายประเสริฐ กล่าว ขณะที่ ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองเรื่องนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทมีความชัดเจนว่า บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม "ในเชิงธุรกิจการแข่งขันไม่ใช่แค่เรื่องสินค้าและราคา แต่ทุกวันนี้มีการมองในเรื่องภาพลักษณ์ ถึงวันนี้เราเชื่อว่าลูกค้าที่ซื้อน้ำมันของเราไม่ได้ซื้อเพราะของถูก แต่ซื้อเพราะสิ่งที่เราเป็นมากกว่านั้น..." ดร.อนุสรณ์ กล่าว การมอบรางวัลนี้ไม่เพียงเป็นการการันตีและยกย่องการเป็นบริษัทที่ดี การมอบรางวัลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีนัยสำคัญของความพยายามขับเคลื่อนเรื่อง CSR เป็นการจุดประกายที่จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมแห่งความรับผิดชอบที่จะขยายวงมากขึ้นในอนาคต

นางสาวเบญจมาศ ตุ้มเรือง รหัส 544407149 กลุ่ม 3/54

นางสาว สุพัตรา ทัพงาม

ปัจจุบันกระแสการเรียกร้องของประชาชนให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากที่ผ่านมาทุกองค์กรมุ่งเน้นแต่เพียงผลผลิต (Output) และการสร้างผลกำไร (Profit) จนทำให้ละเลยและมองข้ามเรื่องสิ่งแวดล้อมชุมชน ผู้บริโภค และสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการนำพาธุรกิจสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่มีส่วนทำให้สังคมได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตมากที่สุด

ดังนั้นความตื่นตัวในกระแสการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR)

ของภาคอุตสาหกรรมจึงมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือใหญ่ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำ CSR กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีการรับรู้ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เห็นได้จากการขานรับกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมโดย “การให้” ผ่านรูปแบบของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆในกลุ่มดังกล่าวมีน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง อาทิ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย Young Thai Artist Award รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้านกีฬา จัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย และจัดแข่งขันวอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย

ชิงชนะเลิศยุวชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการ Do It Clean เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ในส่วนของบุคลากร เครือซิเมนต์ไทยได้มีการจัดอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถอยู่สม่ำเสมอ

สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้จากการทำ CSR จะเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้กับอุตสาหกรรมที่ทำการติดต่อค้าขายกับประเทศในกลุ่ม อียู และกลุ่มประเทศ OECD ที่ได้ทำข้อตกลงด้าน CSR เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเสนอให้ประเทศในกลุ่มทำการติดต่อค้าขายกับประเทศคู่ค้าที่ทำ CSR เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าภาคอุตสาหกรรมใดยังไม่มีมาตรฐานหรือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับ CSR คาดว่าในอนาคตอาจจะประสบปัญหาลำบากได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจกลายมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศเหล่านี้ก็เป็นได้

นางสาว สุพัตรา ทัพงาม รหัส 544407173 กลุ่ม 3/54

นางสาว สุชญา สวัสดี

โสภณ พรโชคชัย" ธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดคือธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุด

Wed, 2008-06-25 11:26

ดร.โสภณ พรโชคชัย* ([email protected])

ท่านทราบหรือไม่ ธุรกิจใดที่รับผิดชอบต่อสังคมสูงสุด

คำตอบก็คือ ธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุด นั่นเอง!

บางท่านอาจแย้งว่า ธุรกิจที่ทำกำไรได้สูงสุด อาจเป็นเพราะขูดรีดแรงงานสูงสุด หรือเป็นธุรกิจที่หลบเลี่ยงภาษีก็ได้ นี่คือมโนทัศน์ที่เกิดขึ้นจากสังคมที่บิดเบี้ยว บิดเบือนและด้อยพัฒนาที่เราเห็นจนเคยชินอยู่ทุกวัน

แต่ในความเป็นจริง ธุรกิจที่ทำกำไรได้สูงสุด ย่อมหมายถึงธุรกิจที่มีระบบการบริหารที่ดีที่สุดในเชิงเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น ระบบบริหารที่ดีไม่ใช่ได้มาด้วยการเอาเงินไปซื้อมาเป็นสำคัญ แต่แสดงถึงการมีทักษะ หรือ Know-how ที่ดี ไม่ใช่ต้อง Know-who อย่างที่พบเห็นบ่อยครั้งในสังคมที่ต้องหมอบราบคาบแก้วกับความชั่วร้ายเพียงเพื่อการเอาตัวรอดทางธุรกิจไปวัน ๆ

ระบบบริหารที่ดีที่ทำให้ธุรกิจได้กำไรสูงสุดยังหมายถึงการมี CEO ที่ดี เราจึงควรส่งเสริมการเรียนรู้ว่า ธุรกิจและ CEO จะบริหารจนธุรกิจทำกำไรสูงสุดได้อย่างไร (บนพื้นฐานที่ไม่โกง) การทำกำไรสูงสุดโดยไม่เบียดเบียนใคร ไม่ใช่ตราบาปหรือเคราะห์กรรมที่เราพึงปกปิด หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง แต่ความสามารถในการทำกำไรสูงสุดควรได้รับการยกย่องอย่างโอ่อ่าเปิดเผย และเป็นการแสดงทักษะในการบริหารอย่างน่าภาคภูมิใจของ CEO ที่แท้จริง

นี่จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์และศิลปของการทำธุรกิจที่ตรงไปตรงมา สัตย์ซื่อถือคุณธรรมอย่างแท้จริง ที่ไม่ใช่การทำธุรกิจแบบ "มวยวัด" หรือเป็นแบบ "ปากคาบคัมภีร์ (CSR)" หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหลไร้แก่นสาร

ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ธุรกิจที่ทำกำไรสูงสุดนั้น ย่อมเสียภาษีสูงสุด ผู้ที่เสียภาษีสูงสุดย่อมเป็นผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดในทางหนึ่ง จะเห็นได้ว่าภาษีรายได้ของธุรกิจของไทยนั้นเสียในอัตราประมาณ 30% ของกำไรสุทธิ ยิ่งธุรกิจใดมีกำไรมาก ก็ยิ่งเสียภาษีมาก

กลุ่มผู้ที่เสียภาษีมากที่สุดในประเทศไทยก็คือธุรกิจเอกชนนั่นเอง เสียภาษีมากกว่าตาสีตาสาที่เสียภาษีทางอ้อมต่าง ๆ เสียอีก อาจกล่าวได้ว่าเฉพาะเขตบางรักเขตเดียว ธุรกิจทั้งหลายเสียภาษีสูงกว่าชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคด้วยซ้ำไป

เราควรเข้าใจว่าภาษีทุกบาททุกสตางค์ นำไปพัฒนาประเทศ ที่ประเทศเรามีทางด่วน รถไฟฟ้า โทรศัพท์ ถนน ฯลฯ ก็ล้วนมาจากภาษีแทบทั้งสิ้น ส่วนที่จะมีใคร "งาบ" ภาษีไป ก็อยู่ที่กลไกของรัฐในการตรวจสอบ เราจะ "มั่ว" ใช้ "อารยะขัดขืน" พาลไม่จ่ายภาษี คงไม่ได้

ผมขอขยายความประเด็นการ "งาบ" หรือโกงกินทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ ซึ่งผู้มีอำนาจควรดำเนินการให้เด็ดขาด ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง การโกงกินไม่อาจหมดไปได้ด้วยการออกมารณรงค์ต่อต้าน ซึ่งถือว่าเป็นการ "เกาไม่ถูกที่คัน" และดำเนินไปเพียงเพื่อปกปิดความชั่วด้วยการเบนให้ประชาชนเข้าใจว่าเราพยายามต่อสู้กับการโกงกิน แต่แท้ที่จริง กลับ "เอาหูไปนา ตาไปไร่" เปิดโอกาสให้เกิดการโกงกินเพิ่มขึ้นทุกหย่อมหญ้านั่นเอง

กลับมาเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เราลองคิดดูว่า ธุรกิจที่เสียภาษี 10 ล้านบาท กับธุรกิจที่เสียภาษี 1 ล้านบาท ใครแสดงว่ามีความรับผิดชอบหรือเกื้อหนุนต่อประเทศชาติมากกว่ากัน หรือถ้าคิดให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นก็คือการเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจที่เสียภาษี 10 ล้าน แต่บริจาคเพียง 1 แสนบาท (1% ของกำไรซึ่งดูคล้ายตระหนี่) กับธุรกิจที่กำไร 1 ล้าน แต่ก็บริจาค 1 แสนบาท (10% ของกำไรซึ่งดูคล้ายใจกว้าง)

โดยนัยนี้เราจึงคงพอเห็นได้ว่า การทำดีเอาหน้านั้นเป็นเช่นใด การทำดีเช่นนี้ ไม่ได้ก่อโภคผลใด ๆ ให้กับสังคม นอกจากการ "ได้หน้า" ของคนทำดีเป็นสำคัญ ในการทำดี "เอาหน้า" นั้น CEO ควรเป็นผู้ควักเงินออกเอง ไม่ใช่ไป "ไถ" จากคู่ค้า (Suppliers) และไม่ควรทำโดยเอาที่เงินปันผลที่พึงได้ของผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยไปทำดีเอาหน้าให้กับตัว CEO เอง

ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมี CEO ที่บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะเสียภาษีถูกต้องและเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาพัฒนาประเทศแล้ว ธุรกิจเหล่านี้ยังไม่เป็นภาระให้รัฐบาลต้องเอาเงินภาษีอากรมาโอบอุ้มอีกต่างหาก

เราคงเคยเห็นธนาคารที่เชิดหน้าชูตาหรือได้รับรางวัลมากมายด้าน "ความรับผิดชอบต่อสังคม" กลับ "ล้มบนฟูก" รัฐบาลต้องตั้งกองทุนมาฟื้นฟูต่าง ๆ นานา ธุรกิจหลายแห่ง หลายแขนง รัฐบาลก็ต้องเอาเงินภาษีอากรไปอุดหนุน เช่น ช่วยค่าน้ำมัน ช่วยประกันราคา ช่วยรับซื้อสินค้า ฯลฯ บางแห่งถึงขนาดนัดหยุดให้บริการจนประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ธุรกิจเหล่านี้ นอกจากจะขาดความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ยังเป็นปัญหาและสร้างภาระให้กับสังคมด้วยหรือไม่

ดังนั้นธุรกิจที่ทำกำไรมาก เสียภาษีมาก จึงมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ธุรกิจถือเป็น "กระดูกสันหลัง" ของความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะหากไม่มีภาษีจากธุรกิจเหล่านี้มาหล่อเลี้ยงประเทศแล้ว ประเทศไทยก็คงตกต่ำไม่ต่างจากประเทศหลายแห่งในทวีปอาฟริกาที่มีแต่คนจนที่รอเศษซากความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติเท่านั้น

นางสาว สุชญา สวัสดี รหัส 544407171 กลุ่ม 3/54

นางสาว วาสนา ควรชื่นใจ

นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทขนส่ง จำกัด

“ความรับผิดชอบต่อสังคม” เป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการประกอบธุรกิจ โดยการให้ความสนับสนุนแก่องค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินโครงการ และกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ในปัจจุบันการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทฯ มี “คณะอนุกรรมการดำเนินงานด้านความ รับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ (CSR)” ซึ่งเป็นคณะกรรมการในระดับกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่วางกรอบการดำเนินงานกำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินงาน ทำให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในวงกว้างและเป็นแนวทางปฏิบัติการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ของนโยบายบริษัทฯ : เป็นต้นแบบธุรกิจด้านการขนส่งผู้โดยสารในการรักษาสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขอนามัย ตลอดจนสนับสนุนสังคม

1.นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้ดำเนินตามแนวทางหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีคุณธรรม ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และตระหนักเป็นอย่างดีว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยได้กำหนดแนวนโยบายการดำเนินงานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมดังนี้

1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักรและกระบวนการทำงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1.2 การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1.3 บุคลากรทุกระดับยึดถือจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและคำนึงถึงการลดภาระโลกร้อน ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1.4 การจัดการสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานและลูกค้า

2.นโยบายพัฒนาความปลอดภัยและสุขอนามัย

บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการด้านรถโดยสารสาธารณะ ตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายด้านการพัฒนาความปลอดภัยให้อยู่ในนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและจดจำให้กับพนักงานของบริษัทฯ ที่จะต้องยึดหลักความปลอดภัยของผู้ใช้บริการเป็นหลักในการดำเนินงานดังนี้

2.1 ปรับปรุงและตรวจสอบประสิทธิรถโดยสารให้มีความปลอดภัยเป็นมิตรต่อผู้ใช้บริการ

2.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความปลอดภัยสูงสุด

2.3 กำหนดแนวทางป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุจากการให้บริการด้านรถโดยสารสาธารณะ

2.4 ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในการให้บริการลูกค้าด้วยความปลอดภัย

2.5 ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในการดูแลสุขภาพของพนักงานและครอบครัว

3.นโยบายรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของความยั่งยืนของบริษัทฯ เพื่อสร้างชุมชนและสังคมให้มีความเติบโตและเข้มแข็งขึ้น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี บริษัทฯ จึงให้การสนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นในเรื่องเกียวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา การพัฒนาด้านการเรียนรู้รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยกำหนดนโยบายดังนี้

3.1 ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรฐานเพื่อลดปัญหาสังคม

3.2 ให้การสนับสนุนสังคมและชุมชน โดยเฉพาะที่อยู่รอบสถานประกอบการของบริษัทฯ โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

3.3 ให้การสนับสนุนพัฒนาเยาวชนและส่งเสริมการเรียนรู้

3.4 ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ

3.5 จัดให้มีระบบที่เปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นสำหรับโครงการต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชม รวมทั้งการเสนอความคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของบริษัทฯ

3.6 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านความปลอดภัยและการดำเนินการอย่างเป็นธรรมเพื่อตอบสนองด้านบริการรถโดยสารสาธารณะให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด

นางสาว วาสนา ควรชื่นใจ รหัส 544407166 กลุ่ม 3/54

นางสาว พเยาว์ กาศวงค์

การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ของบริษัทไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด

จรรยา ไตรรัตน์ วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ

เกษริน เกียรติกุลไพบูลย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ

มณี แก้วยอด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

ชวลิต เพชรภิรมย์ นายช่างโยธาชำนาญงาน

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่ของสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ของบริษัทไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง โดยได้ดำเนินกิจการต่อจาก บริษัท ดงหลงไทยเปเปอร์ จำกัด บริษัทไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด เป็นบริษัทรายแรกของวงการผลิตกระดาษคราฟท์ครบวงจรในประเทศไทย การดูงานในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณวีระ ศรีรัตนโช และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกรรมของโรงงาน

บริษัทไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ.2540 เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในด้านการผลิตกระดาษคราฟท์ แผ่นลูกฟูก กระดาษม้วน และกล่อง ภายใต้นโยบายการผลิตกระดาษคุณภาพดี ได้มาตรฐาน ตลอดจนให้ความสำคัญด้านการบริการที่ สะดวก รวดเร็ว ภายใต้มาตรฐานคุณภาพ ISO 9001:2000 และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 มีกำลังการผลิตกระดาษคราฟท์ 120,000 ตัน/ปี ให้บริการครอบคลุมความต้องการของลูกค้าด้วยบริการในคุณภาพมาตรฐานสากล ได้ทำการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีให้ทันสมัย มีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตกระดาษเป็นจำนวนมาก เป็นผลทำให้มีปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากการดำเนินงานมากด้วยเช่นกัน และบริษัทฯยังเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำกล่องกระดาษที่ใช้แล้วนำมาเข้าขบวนการผลิตใหม่ (Re-cycle) ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยอีกด้วย

แนวคิดในด้านการบริหารจัดการน้ำ Water Management

บริษัทฯมีแนวคิดด้านการจัดการน้ำ โดยสูบน้ำดิบจากคลองชลประทานมาใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง ประกอบกับยึดหลักการอนุรักษ์ คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ปัจจุบันมีการนำน้ำเสียกลับมาใช้ซ้ำ (Re-cycle)ในกระบวนการผลิตกระดาษเต็ม 100% โดยไม่มีน้ำเสียถูกทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะและได้ผลพลอยได้จากการบำบัดน้ำทิ้งเป็นก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากบริษัทฯมีความห่วงกังวลในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ซึ่งต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีกลุ่มธุรกิจต่างๆ มากมายแข่งขันกันอยู่สูง จึงจำเป็นต้องให้ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์การใช้พลังงานเป็นหลัก โดยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยโดยเฉพาะในเรื่องของประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย

ด้านการจัดการน้ำ เริ่มกระบวนการโดยการสูบน้ำจากคลองชลประทานเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตซึ่งน้ำเสียที่เกิดจากการใช้แล้ว ก็นำไปผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเป็นระบบผสมที่มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ระบบไม่ใช้อากาศ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน และตามด้วยระบบเติมออกซิเจน แบบ AS (Activated Sludge) ระบบไม่ใช้ออกซิเจนทำหน้าที่กำจัดสารอินทรีย์ส่วนใหญ่(ระบบขั้นแรก) ส่วนระบบใช้ออกซิเจนเป็นระบบขั้นที่สองซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำทิ้งคุณภาพสูง กระบวนการบำบัดน้ำเสียเริ่มจากน้ำเสียจากระบบผลิตกระดาษที่ออกจากระบบ DAF จะถูกส่งมาที่ถังตกตะกอนขั้นต้น เพื่อแยกเศษเยื่อกระดาษที่หลุดมากับน้ำทิ้งก่อนที่จะไหลไปถังพักน้ำเสีย ส่วนตะกอนจะถูกนำไปรีดที่โรงรีดตะกอน น้ำเสียที่ออกจากถังตกตะกอนขั้นต้นจะไปสู่ถังปรับ pH โดยมีเครื่องกวนผสมปูนขาว ก่อนเข้าสู่ถัง UASB หลักการคือน้ำเสียจะไหลย้อนขึ้นด้านบนโดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง ทำให้น้ำเสียเข้าไปสัมผัสกับชั้นตะกอนของจุลินทรีย์ น้ำเสียที่ไหลเข้าถังปฏิกิริยาจะทำให้แบคทีเรียลอยตัวเป็นสลัดจ์ไม่จมลงก้นถัง จุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจะมีการเติมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ได้แก่ ไนโตรเจน, CO เมื่อทำปฏิกิริยากันก็จะได้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปเป็นพลังงานทดแทนได้ น้ำที่ออกจากถัง UASB จะไหลเข้าบ่อบำบัดต่อในถังเติมอากาศ เพื่อลด COD, BOD ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานมีกำลังการผลิต 7,000 ลบ.ม.ต่อวัน น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะน้ำไปพักไว้ในสระเก็บน้ำเพื่อน้ำไปใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษใหม่ จึงไม่มีน้ำทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อไม่ไห้เกิดมลภาวะทางน้ำ

ผลลัพธ์ที่ได้

การก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่บริษัทฯคาดหวังไว้ คือ มาตรฐาน ซึ่งเน้นการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า และต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน เป็นโรงงานประหยัดพลังงานและผสมผสานจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวอย่างของความตั้งใจของผู้บริหารและในการก้าวต่อไปของการพัฒนาธุรกิจโรงแรมด้วยวิสัยทัศน์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

นางสาว พเยาว์ กาศวงค์ รหัส 544407153 กลุ่ม 3/54

“ข้าวโรงเรียน” แก้ปัญหา พัฒนาสังคม: ต้นแบบแนวคิดริเริ่มธุรกิจเพื่อสังคม

ปัญหาการศึกษาไทยที่ยังคงเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน คือ คุณภาพของโรงเรียน อันเป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับมีคุณภาพที่ยังไม่ได้มาตรฐานทัดเทียมกับโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนชั้นนำของประเทศ สาเหตุของการที่ไม่สามารถยกระดับคุณภาพของโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานนั้น ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณที่ได้จากภาครัฐไม่เพียงพอ ประกอบกับนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาลในระยะหลัง ส่งผลโรงเรียนรัฐบาลเรียกเก็บส่วนต่างในรูปของค่าเทอมได้อย่างจำกัด

จะดีกว่าหรือไม่ หากโรงเรียนจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง และไม่ต้องรอแต่การอุ้มชูจากภาครัฐ เพียงอย่างเดียว แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงคำนึงถึง และสามารถรองรับเด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจนถึงปานกลางได้ ไม่ได้แปรสภาพไปเป็นโรงเรียนเอกชนเสียทั้งหมด

ข้าวโรงเรียน เป็นต้นแบบแนวคิดริเริ่มของการสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โครงการดังกล่าวริเริ่มโดยบริษัทธุรกิจเพื่อพัฒนาการศึกษา และชนบท จำกัด (Business for Rural Education and Development) หรือ B.R.E.A.D ร่วมกับองค์กรชั้นนำที่มีจิตสาธารณะอีกจำนวนหนึ่ง และอาศัยความร่วมมือของนักเรียน ครูอาจารย์ ผู้ปกครองจากโรงเรียนมีชัยพัฒนา และชุมชนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในกระบวนการผลิตทั้งการปลูกและการเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถัน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากวิทยาลัยข้าวไทย ดังนั้นผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ 100% จากโครงการข้าวโรงเรียนจึงไม่เพียงแต่มีคุณค่าในเชิงสังคม แต่ยังมีคุณภาพสูงและมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยน่าสนใจไม่แพ้ข้าวถุงแบรนด์อื่นๆที่วางจำหน่ายในท้องตลาดเลย

จุดเด่นของโครงการข้าวโรงเรียนอยู่ที่การนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นอย่าง “ข้าว” และความชำนาญในกระบวนการผลิตของชาวบ้านในพื้นที่ มาผนวกกับทักษะ และองค์ความรู้ทางด้านการวิจัย และการตลาดของผู้มีประสบการณ์ตรง เช่น ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการพัฒนา และการขับเคลื่อนทางธุรกิจอย่างเป็นระบบจนสามารถแข่งขันในตลาดได้ ผลที่ได้คือ โรงเรียนมีขีดความสามารถพอที่จะพึ่งพาตนเอง ขณะเดียวกันรูปแบบของโครงการก็ใช้กระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่เกินขีดความสามารถของโรงเรียน และชุมชนที่จะทำได้เอง เพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อย ก็สามารถนำไปขยายผลดำเนินการกับโรงเรียนอื่นๆได้ทั่วประเทศ

โครงการข้าวโรงเรียน นอกจากจะเป็นการสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนแล้ว ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนรอบๆโรงเรียนด้วยเพราะในกระบวนการรับซื้อข้าวนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผู้ปกครองของนักเรียน แต่จะเปิดโอกาสให้กับคนในชุมชนรอบข้างโรงเรียนด้วย โดยรายได้จากการจัดจำหน่ายก็จะนำไปพัฒนาทั้งโรงเรียน และชุมชนได้โดยตรง ซึ่งอาจนับได้ว่า ข้าวโรงเรียนเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อชุมชนได้ยั่งยืนมากกว่าการช่วยเหลือแบบแจกเงินหรือประชาสงเคราะห์ที่ไม่ได้เน้นการพัฒนาศักยภาพ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างแท้จริง แต่กลับกลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ผิดๆให้กับชุมชนจนกลายเป็นชุมชนที่มุ่งแต่จะขอ และรอคอยความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาความยากจนหมดสิ้นไปได้เลย

แนวคิดเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ชุมชน มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะเชิงธุรกิจ การสอนให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ขณะเดียวกันก็เน้นการสร้างองค์กรภายในชุมชนที่เข้มแข็งให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ และดูแลตนเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง โครงการข้าวโรงเรียนเองก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ แต่มีการต่อยอดให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของโรงเรียน และชุมชน นี่จึงเป็นคุณค่าที่สำคัญของโครงการ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยพัฒนาการศึกษาไทย และเด็กไทย

นางสาวเวรุลี แจ้งสว่าง การจัดการทั่วไป กลุ่มที่ 4 รหัสนักศึกษา 544407208

นางสาวละอองดาว เปรมกมล

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

นางสาวละอองดาว เปรมกมล การจัดการทั่วไป 54/4 544407203

วรรณนิษา กล่อมดี 204 4/54

บริษัทSCG เดินหน้าผลิตสินค้ารับกระแสลดโลกร้อน ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชูคอนเซ็ปต์"เอสซีจี อินโนเวชั่น โซลูชั่น" ทุ่ม 40 ล้านบาทเปิดตัว“ อีโค โปรดักต์”อย่างยิ่งใหญ่ในงานสถาปนิก'53 เรียกน้ำย่อยบริษัทรับสร้างบ้านและสถาปนิกแวะชมบูธ แย้มแผนเตรียมเปิดตัวระบบบำบัดน้ำทิ้งแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

การตื่นตัวของกระแสโลกร้อน โดยการประหยัดพลังงานและเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการทำตลาดของผู้ประกอบการเกือบทุกราย ไม่เว้นทั้งรายเล็ก รายใหญ่ รวมถึงยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้างอย่างบริษัท เอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ในเครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) ซึ่งเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างประหยัดพลังงาน โดยภายในงานสถาปนิก'53ที่จัดขึ้นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันที่ 30 เม.ย.-5 พ.ค.นี้ เอสซีจี ได้ร่วมออกบูธอย่างยิ่งใหญ่ บนพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ภายใต้คอนเซ็ปต์"เอสซีจี อินโนเวชั่น โซลูชั่น"

พิชิต ไม้พุ่ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ การร่วมงานในครั้งนี้ เอสซีจี ลงทุนมากที่สุดนับตั้งแต่เคยไปร่วมออกงานมาโดยใช้งบลงทุนมากถึง 40 ล้านบาท เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งแยกการจัดแสดงสินค้าและบริการออกเป็น 4 โซน ได้แก่ โซนเฮาซิ่งเทคโนโลยี นำเสนอเทคโนโลยีบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์ โซนโฮมโซลูชั่น นำเสนอโซลูชั่นในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของบ้าน โซนอีโคโปรดักต์ นำเสนอวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ โซนไลบรารี่ หรือห้องสมุด ที่นำเสนอรายละเอียดวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ

โดยโซน"อีโคโปรดักต์" ถือเป็นไฮไลต์ครั้งนี้ เพราะเป็นโซนที่เน้นสินค้าประหยัดพลังงานมากขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์"กรีนบิลดิ้ง" ซึ่งเป็นอาคารเขียวอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เอสซีจีจึงตั้งใจใช้งานนี้เป็นเวทีนำเสนอสินค้าให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือบริษัทรับสร้างบ้าน และสถาปนิก ซึ่งปัจจุบันโครงการปรับปรุงหรือก่อสร้างอาคารเขียวส่วนใหญ่ใช้การอ้างอิงมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ "LEED" (Leadership in Energy and Environmental Design) ของประเทศอเมริกา ซึ่งแบ่งมาตรฐานอาคารเขียวเป็น 3 ระดับ คือ ซิลเวอร์ โกลด์ และแพลทินัม ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

ปัจจุบันเอสซีจีเสนออีโคโปรดักต์ภายใต้มาตรฐาน หลักเกณฑ์ LEED รวม 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ด้านการใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งจากผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ป้องกันปัญหาน้ำท่วม และลดโลกร้อน 2.ด้าน ประสิทธิภาพการใช้น้ำจากสุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ และผลิตภัณฑ์เสริมอื่น ๆ โดยมีแผนเปิดตัวก็อกน้ำประหยัดน้ำ และระบบบำบัดน้ำทิ้งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 3.ด้านพลังงานและบรรยากาศที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยให้อยู่อาศัยได้สบายในภาวะที่เหมาะสม และ 4.ด้านวัสดุและทรัพยากร

พิชิต กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้ายอดขายสินค้าวัสดุกลุ่ม "อีโคโปรดักต์" ประมาณ 5,500-6,500 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของยอดขายรวมกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้างทั้งหมด แยกเป็นการขายผ่านงานโครงการที่ต้องการขอรับรองมาตรฐาน LEED 500 ล้านบาท และการขายวัสดุผ่านบริการ โฮมโซลูชั่นต่าง ๆ ภายในร้านโฮมมาร์ทอีกประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

วรรณิษา กล่อมดี 544407204 4/54

ดวงจันทร์ สุขสำราญ

กระดาษดับเบิ้ลเอ เพราะมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นดับเบิ้ลเอทดแทนเพื่อเป็นกระดาษที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

นางสาวชนากานต์ แก้ววิเชียร รหัส 544407184 การจัดการทั่วไป 4/54

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ด้านสิ่งแวดล้อม

1. โครงการ “ลดต้นทุนพลังงาน ต้านโลกร้อน โดย K SME Care”

ธนาคารกสิกรไทยจัดทำโครงการลดต้นทุนพลังงาน ต้านโลกร้อน โดย K SME Care ส่งเสริมให้เอสเอ็มอีของไทยมีการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน โดยได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization หรือ TGO) ดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร่วมกันลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก และสามารถสร้างรายได้กลับคืนจากการขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) โดยจัด Workshop ไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาและคำแนะนำในด้านเทคโนโลยีการสร้างโรง ไฟฟ้าพลังงานทดแทน และกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้กับผู้ประกอบการที่สนใจด้วย

นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังให้สินเชื่อเงินกู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานกสิกรไทย (K-Energy Saving Loan) เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอีกด้วย โดยจะแบ่งออกเป็นสินเชื่อ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ได้วงเงินช่วยเหลือจากกระทรวงพลังงาน 160 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 4% ระยะเวลากู้ 7 ปี วงเงินสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท และสินเชื่อที่ได้รับการสนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทยในอัตราดอกเบี้ยปกติ

2. โครงการ "K-Email Statement"

ปี 2550 ธนาคารกสิกรไทยพัฒนานวัตกรรมใหม่ในการรับรายการเดินบัญชีผ่านอีเมล์ หรือบริการ K-Email Statement เพื่อลดปริมาณกระดาษที่จะเกิดจากการจัดพิมพ์รายการเดินบัญชีให้กับลูกค้า เป็นประจำทุกเดือน โดยบริการดังกล่าวสามารถแจ้งรายละเอียดการเดินบัญชีเงินฝาก การซื้อสินค้าและบริการของบัตรเดบิตและบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย ส่งตรงถึงลูกค้าผ่านอีเมล์ที่แจ้งไว้กับธนาคารอย่างรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และตรงเวลา ซึ่งเป็นความตั้งใจลดการใช้กระดาษ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม รวมทั้งลดการใช้พลังงาน ทั้งในกระบวนการผลิตกระดาษ และการจัดส่งทางไปรษณีย์แบบเดิม

นางสาวชนากานต์ แก้ววิเชียร รหัส 544407184 การจัดการทั่วไป 4/54

ดั๊บเบิ้ล เอ เป็น กระดาษ คุณภาพ ระดับ Premium จากไม้ปลูกของเกษตรกรไทย สำหรับผู้ใช้ทั่วโลก เป็นกระดาษ 80 แกรม ซึ่งคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ บรรจุในบรรจุภัณฑ์ป้องกันความชื้น ทำให้สามารถใช้งานได้ดีกับอุปกรณ์พิมพ์ในสำนักงานทุกชนิด เหมาะสำหรับทั้งงานสีและขาวดำ ขนาดมาตรฐาน A3, A4, A11 , B4, B5 และ F14 ให้คุณได้เลือกสรรตามการใช้งาน ทั้งงานพิมพ์ งานถ่ายเอกสารเพื่องานพิมพ์คุณภาพ คมชัด

บริษัทฯ ผลิต กระดาษ สำหรับใช้ในงานพิมพ์และเขียน โดย ดั๊บเบิ้ล เอ มีโรงงาน กระดาษพิมพ์เขียนทั้งหมด 3 แห่ง และโรง กระดาษ ของบริษัท ไฮ-เทค เปเปอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ดั๊บเบิ้ล เอ ผลิต กระดาษพิมพ์เขียนทั้งชนิดเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว เพื่อจำหน่ายและเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าคุณภาพ

บริษัท ดับเบิ้ลเอ มีโครงการแจกต้นกล้าต้นกระดาษฟรี ให้กับพื้นที่บริเวณภายในวัดในจังหวัดนครปฐม

แจกต้นฟรี วัดละ 2,000 ต้น(หากมีพื้นที่มากสามารถขอเพิ่มได้)

ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย...

ปลูกไม่เกิน 2 ปี...ทางบริษัท ให้ต้นละ 30 บาท

(ทางบริษัท รับซื้อคืนทุกต้น มีบริการตัด ขน ย้ายฟรี)

นางสาวนิศาชล ทิพย์รี 544407147 กลุ่ม 3

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1.ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม

2.ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ

3.ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization

4.ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

5.ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง

6.สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมในมิติของความเป็นมนุษย์

มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR)

นางสาวพรพิไล สาดรุ่ง รหัส 544407198 การจัดการทั่วไป (กลุ่ม 2)

สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

นางสาวพรพิไล สาดรุ่ง รหัส 544407198 การจัดการทั่วไป (กลุ่ม 2)

นางสาวปัทมา บุญโพธิ์ รหัส 544407150 การจัดการทั่วไป (กลุ่ม 2)

ความรับผิดชอบต่อสังคม

ยูเซอริน“มีชีวิตอย่างมีคุณค่า ทั้งในวันนี้และในวันหน้า” เป็นหลักการที่ยูเซอรินยึดปฏิบัติต่อสังคม เช่นเดียวกับหลักการของ

UN’s International Charter of Human Rights และมุ่งมั่นที่จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้กำลังของยูเซอริน การดำเนินการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด เราีมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เป้าหมาย “จำนวนอุบัติเหตุเป็นศูนย์”ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัวและวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆเพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน นอกเหนือจากนั้น เราได้ค้นหาวิธีการและเป้าหมายที่สามารถวัดผลจากโครงการต่างๆ ได้จริง มีการทบทวนและปรับปรุงโครงการกับเหล่าผู้ถือหุ้น ขององค์กรอย่างต่อเนื่องและเปิดเผย

นางสาวปัทมา บุญโพธิ์ รหัส 544407150 การจัดการทั่วไป (กลุ่ม 3)

ความรับผิดชอบต่อสังคม

ยูเซอริน“มีชีวิตอย่างมีคุณค่า ทั้งในวันนี้และในวันหน้า” เป็นหลักการที่ยูเซอรินยึดปฏิบัติต่อสังคม เช่นเดียวกับหลักการของ

UN’s International Charter of Human Rights และมุ่งมั่นที่จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้กำลังของยูเซอริน การดำเนินการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด เราีมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เป้าหมาย “จำนวนอุบัติเหตุเป็นศูนย์”ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัวและวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆเพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน นอกเหนือจากนั้น เราได้ค้นหาวิธีการและเป้าหมายที่สามารถวัดผลจากโครงการต่างๆ ได้จริง มีการทบทวนและปรับปรุงโครงการกับเหล่าผู้ถือหุ้น ขององค์กรอย่างต่อเนื่องและเปิดเผย

นางสาววรรณา จันทร การจัดการทั่วไป 3/54 544407164

idea …กระดาษรีไซเคิล ทางเลือกช่วยลดโลกร้อน

Read more: idea …กระดาษรีไซเคิล ทางเลือกช่วยลดโลกร้อน | บล็อกความรู้ | WiseKnow | Knowledge Blog

EcoFiber คืออะไร

EcoFiber คือ เยื่อกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนำเศษวัสดุ หรือวัสดุซึ่งผ่านการใช้งานแล้วจากนอกโรงงาน มาคัดสรร จัดการ และควบคุมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีเฉพาะเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษที่มีคุณภาพสูง

พุทธพร แสงรัตนเดช ผู้จัดการธุรกิจ Home and Office Solution, เอสซีจี เปเปอร์

กล่าวว่า จากการศึกษาตลาดในเซ็กเมนต์กระดาษสำนักงานพบว่า สิ่งที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ทำอยู่ก็คือ ทำกระดาษที่หนา ขาว เรียบ ลื่นไม่ติดเครื่อง ซึ่งคุณสมบัติลักษณะดังกล่าว ส่วนใหญ่ต้องผลิตจากเยื่อที่ได้ จากป่าปลูก 100% ส่วนกระดาษที่ผลิต โดยใช้เยื่อกระดาษรีไซเคิล ยังไม่สามารถที่จะผลิตได้จนมีคุณภาพดีหรือเทียบเท่า แต่หลังจากที่ศึกษาและพัฒนามาประมาณ 1 ปี ก็สามารถผลิตจนออกมาเพื่อทำ ตลาดได้

ซึ่งนับเป็นช่องทางใหม่ที่ในตลาดกระดาษถ่ายเอกสารยังไม่มีใครทำมาก่อน จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ตระหนักที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม โดยการใช้สินค้าจากผลิตภัณฑ์รีไซเคิล

ขณะที่ในเชิงธุรกิจมูลค่าตลาดที่เติบโตต่อเนื่องทุกปี ก็เป็นโอกาสทางการตลาด ที่น่าใจ

พุทธพรให้ข้อมูลว่า จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษแห่งประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นว่าโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจกระดาษในประเทศไทย ยังสดใสอยู่มาก เนื่องจากการบริโภคกระดาษในประเทศไทยยังอยู่ที่เพียง 56 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการบริโภคกระดาษต่อคนที่สูงกว่าประเทศไทยมาก เช่น สหรัฐอเมริกา 312 ก.ก. ต่อปี, ญี่ปุ่น 250 ก.ก. ต่อปี และสิงคโปร์ 145 ก.ก. ต่อปี เป็นต้น

นอกจากนี้ปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้มีการใช้งานกระดาษพิมพ์เขียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคธุรกิจ รวมทั้งการพัฒนาการด้านการศึกษาและเทคโนโลยี ปัจจุบันปริมาณกระดาษพิมพ์เขียนที่ใช้ในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วน 19% ของการบริโภคกระดาษทั้งหมด โดยในปี 2550 เราบริโภคกระดาษพิมพ์เขียน 964,000 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มีปริมาณ 893,000 ตัน) ทั้งนี้การบริโภคมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13% ต่อปีนับตั้งแต่ปี 2546-2550

เป้าหมายของไอเดียกรีน จึงขอมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10% จากมูลค่าตลาดในเซ็กเมนต์นี้มีอยู่ประมาณ 6,000 ล้านบาท คิดเป็นเม็ดเงินก็ประมาณ 600 ล้านบาทสำหรับการทำตลาดในช่วงปีแรก นั่นหมายความว่า ทุกช่องทางสามารถซื้อหากระดาษไอเดียกรีน ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด ร้านจำหน่ายเครื่องใช้สำนักงาน และร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าองค์กรธุรกิจ และหน่วยราชการต่างๆ

ทั้งนี้ ไอเดียกรีน เป็นเพียงสินค้าตัวแรก ขณะที่ในด้านภาพรวมของการขยายตลาดกระดาษถ่ายเอกสารภายใต้แบรนด์ “Idea” เอสซีจี เปเปอร์ ยังคงมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ สู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ภายใต้แนวคิด “Think for the better”

นางสาว รุ่งนภา กลัยารอง

กระดาษรีไซเคิล

หากถามว่าใครเคยตัดไม้ทำลายป่าบ้าง คงส่ายหน้ากันจนหัวสั่นหัวคลอน แต่ถ้าเปลี่ยนมาถามว่าใครเคยใช้กระดาษบ้าง จะมีสักกี่คนที่กล้าปฏิเสธ อย่าลืมนะว่าต้นไม้นั่นแหละคือวัตถุดิบสำหรับการผลิตกระดาษ ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้กระดาษ ก็คือการทำลายต้นไม้(โดยไม่ได้ตั้งใจ)นั่นเอง

ทุกวันนี้คนไทยเราใช้กระดาษกันปีละ 3.5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย คนละ 56 กิโลกรัมต่อปี ในเมื่อเรายังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษได้ซะทีเดียว สิ่งที่ช่วยกันได้ก็คือการใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น หรือใช้ให้คุ้มค่าที่สุด และลองเปลี่ยนมา ใช้กระดาษรีไซเคิลกันให้มากขึ้น

ในบ้านเราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกันเท่าไหร่นัก วันนี้เลยมีกระดาษถ่ายเอกสารรีไซเคิลมาแนะนำ กระดาษถ่ายเอกสารรีไซเคิล ไอ.เจ(IJ) ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล สีขาวนวล จึงช่วย ถนอมสายตา อาจจะบางกว่ากระดาษที่เคยคุ้นมือกันนิดหน่อย เนื่องจาก หนา 64 แกรม เท่านั้น แต่ก็ทำให้ ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บมากขึ้น 20% ใช้ได้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทเครื่องโทรสาร และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท เหมือนกระดาษปกติทั่วไป

จากข้อมูลของ GrassRoots Recycling Network ในปี 2000 ระบุว่า กระบวนการรีไซเคิลนั้นสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่ากระบวนการผลิตใหม่ถึง 4-5 เท่า โดย กระดาษรีไซเคิล 1 ตัน สามารถรักษาชีวิตต้นไม้ไว้ได้ 24 ต้น ลดการใช้น้ำได้ 50% และลดการใช้พลังงานซึ่งพอเพียงต่อการเปิดไฟในบ้านให้ส่องสว่างได้นานถึง 6 เดือนเลยทีเดียว

นางสาว รุ่งนภา กัลยารอง รหัส544407229 4/54

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท