การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ


จะการทดสอบสมมุติฐานอย่างไร

        ในการวิจัยใดๆนั้น เมื่อเราศึกษาเอกสารหรืองานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราวิจัยมามากพอแล้วนั้น  จะทำให้เรามีแนวทางในการกำหนดสมมุติฐานในการวิจัย และเมื่อดำเนินการวิจัยผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างแล้วนั้น  เราต้องทดสอบสมมุติฐานการวิจัย (Hypothesis testing) เพื่อเลือกหรือตัดสินใจ ที่จะปฏิเสธหรือยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เพื่อสรุปอ้างอิงไปบังคุณลักษณะของประชากร  ว่าข้อค้นพบจากการวิจัยนั้น สามารถสรุปอ้างอิงไปยังประชากรได้หรือไม่ การทดสอบสมมุติฐานจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล  เป็นชี้ให้เราเห็นว่าสมมุติฐานที่เราตั้งไว้หรือคำตอบที่กำหนดไว้ล่วงหน้านั้นถูกต้องหรือไม่  ซึ่งการทดสอบสมมุติฐานนั้นเราควรพิจารณาถึงความคลาดเคลื่อนด้วย

        การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติอาจมีความคลาดเคลื่อน 2 แบบ ดังนี้
1) ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 (type one error) คือการปฏิเสธสมมุติฐาน Ho ที่เป็นจริง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิด เราเรียกว่า ความคลาดเคลื่อนแบบ   (แอลฟ่า)

1) ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 2 (type two error) คือการปฏิเสธสมมุติฐาน Ho ที่ไม่เป็นจริง ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งเรียกว่าความคลาดเคลื่อนแบบ  (เบต้า)

         นักวิจัยโดยทั่วๆไปนั้นนิยมคำนวณหาค่าอัลฟ่า () มากกกว่า เพราะสามารถทำได้สะดวกมากกว่า 

ขั้นตอนในการทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ
          1. กำหนดสมมุติฐานทางสถิติ Ho และ Ha
          2. กำหนดระดับนัยสำคัญ หรือกำหนดแอลฟ่าที่ 0.01  หรือ 0.05 ขึ้นอยู่กับว่านักวิจัยต้องการระดับความเชื่อมั่นที่เท่าใด เช่น ถ้ากำหนดค่าแอลฟ่าที่ 0.01 แสดงว่าต้องการความเชื่อมั่น ร้อยละ 99 และ ถ้ากำหนดค่าแอลฟ่าที่ 0.05 แสดงว่าต้องการความเชื่อมั่น ร้อยละ 95
          3. การเลือกสถิติทดสอบที่เหมาะสมกับข้อมูล เช่นการทดสอบ t-test , Z-test , F-test  เป็นต้น
          4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์หรือคำนวณตามสูตรที่เราเลือก
          5. สรุปผลการทดสอบ เพื่อนำค่าที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับระดับนัยสำคัญ แล้วแปลผล สรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับ

           การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติมีอยู่สองแบบ คือ
          1) การทดสอบสมมุติฐานแบบทางเดียว (one-tailed test) เป็นการทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทางเดียว เช่น สมมุติฐานทางเลือกที่เน้นว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มหนึ่งสูงกว่าหรือต่ำกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง
          2) การทดสอบสมมุติฐานแบบสองทาง (two-tailed test) เป็นการทดสอบที่ไม่เน้นหนักไปทางใดทางหนึ่ง  แต่จะบอกกลางๆว่าไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นการไม่แแน่ใจว่าทางใดจะมากกว่า น้อยกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 461912เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2013 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท