วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ


ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณต่างก็มีความสัมพันธ์เอื้อต่อกันในการแสวงหาความรู้ความจริง


วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

 

                ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณต่างก็มีความสัมพันธ์เอื้อต่อกันในการแสวงหาความรู้ความจริง ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสองระเบียบวิธีวิจัยต่างก็มีลักษณะเด่นและข้อจำกัดที่จะนำมาเสริมกันได้ ดังที่เปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะหรือธรรมชาติของระเบียบวิธีวิจัยทั้งสอง ดังตารางนี้

 

ประเด็น

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ

1. การมองปรากฏการณ์

มีความเคลื่อนไหวเป็นพลวัต

ขึ้นอยู่กับบริบท

มีความคงที่สม่ำเสมอ

ไม่แปรเปลี่ยนง่าย

2. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

ตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือและ

ทำการวิจัยโดยใช้ความเป็นมนุษย์ศึกษามนุษย์

ใช้เครื่องมือที่ปราศจากความรู้สึกส่วนตัวเข้าเจือปนในการศึกษามนุษย์

3. ข้อมูลที่เก็บรวบรวม

1. เหตุการณ์ เรื่องราวการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมความรู้สึกนึกคิดระดับลึก ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม แบบแผน

วิถีชีวิต

2. ข้อมูลอาจขาดความตรง และความเที่ยง ได้รับการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอัตวิสัย (subjectivity) ของตัวนักวิจัย

1. จำนวนตัวเลขที่แทนคุณลักษณะของปรากฏการณ์ที่ศึกษา เป็นข้อมูลภาพกว้างที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์นั้น ๆ

2. ข้อมูลมีความตรงและความเที่ยงสูง รวมทั้งมีความเป็น

วัตถุวิสัย (objectivity) สูง

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้วิธีการสรุปตีความ พรรณนาปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างรอบด้าน

ใช้วิธีการทางสถิติเป็นหลักโดยเฉพาะสถิติอ้างอิง และมุ่งตีความตาม

ค่าวิเคราะห์

5. ความจริงความรู้ที่ได้รับ

มีลักษณะเฉพาะราย เฉพาะที่แต่สร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างครอบคลุม

มีลักษณะเป็นนัยทั่วไปสูงสรุปอ้างอิงไปสู่ปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่มีเงื่อนไขเดียวกันกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่สร้างความเข้าใจเฉพาะประเด็นที่ศึกษาเท่านั้น

6. เป้าหมายของการศึกษา

มุ่งสร้างความเข้าใจเฉพาะปรากฏการณ์

มุ่งอธิบาย ค้นหากฎความสัมพันธ์

เชิงเหตุผล

 

                แนวโน้มปัจจุบันและอนาคตเกี่ยวกับการวิจัยค้นหาความรู้ความจริงในปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์นั้น   การผสมผสานวิธีการวิจัย จะนำมาใช้เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ผสมผสานประเภทแบบแผนองค์ประกอบ (Component designs) โดยมีลักษณะเป็นการผสมผสานแบบใช้ระเบียบวิธีหรือเทคนิควิธีที่ต่างกันแยกกันศึกษา แต่จะนำผลที่ได้จากการศึกษามาผสมผสานกันในระดับการตีความและสรุปผลการศึกษา

2. ผสมผสานประเภทแบบแผนบูรณาการ (Integrated designs) ซึ่งมีลักษณะเป็นการผสมผสานโดยใช้ระเบียบวิธีที่ต่างกันกำหนดปัญหาการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

 

 

เอกสารอ้างอิง

รัตนะ  บัวสนธ์. (2552). ปรัชญาวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์ 

 

หมายเลขบันทึก: 461659เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 02:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท