การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)


การวิัจัยที่ดีควรมีสมมติฐาน

การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)

เป็นส่วนหนึ่งของสถิติเชิงอนุมาน (Statistical Inference) ซึ่งเป็นการทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่า โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรแล้วอาศัยการแจกแจงของตัวสถิติ สร้างสถิติทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์นั้นๆ

ศัพท์ที่ควรรู้ในการทดสอบสมมติฐาน

1) สมมติฐาน คือ ความเชื่อหรือคำกล่าวอ้างยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ซึ่งอาจมีเพียงประชากรเดียวหรือหลายประชากรก็ได้

2) สมมติฐานที่จะทดสอบ

สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) แทนด้วย H0

สมมติฐานแย้ง หรือสมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) ซึ่งแทนด้วย H1

3) บริเวณยอมรับ (Acceptance region) คือ

บริเวณที่ทำให้เกิดการยอมรับ H0

    บริเวณปฏิเสธ (Rejection region)

    บริเวณวิกฤต (Critical region) คือ บริเวณที่ทำให้เกิดการปฏิเสธ H0

4) ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน
เนื่องจากสมมติฐานที่จะทดสอบ (H0) เป็นความเชื่อ หรือคำยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของประชากรซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ จนกว่าจะทำการพิสูจน์โดยเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล แต่การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากประชากรเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลามาก จึงทำได้เพียงการสำรวจจากตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบ ดังนั้นผลการตัดสินใจจากการทดสอบ

สมมติฐานใดๆ สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1 ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน

 

การตัดสินใจ

ข้อเท็จจริง ของ H0

H0 เป็นจริง

H0 ไม่เป็นจริง

ปฏิเสธ H0

 ความผิดพลาดประเภทที่ 1

ตัดสินใจถูก

ยอมรับ H0

ตัดสินใจถูก

 ความผิดพลาดประเภทที่ 2

 

ผลการทดสอบไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลัก ย่อมอาจมีความผิดพลาด

เกิดขึ้นได้ 2 กรณีเสมอ คือ

1) การปฏิเสธ H0 เมื่อ H0 เป็นจริง เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 1

2) การยอมรับ H0 เมื่อ H0 เป็นเท็จ เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 2

 5) ขนาดของความผิดพลาดประเภทที่ 1 (Size of a type Ι error) คือ

ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 1 แทนด้วย α เราเรียกว่า ระดับนัยสำคัญ (Level of significant )

ขนาดของความผิดพลาดประเภทที่ 2 (Size of a type ΙΙ error) คือ

ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 2 แทนด้วย β และเรียก 1-β ว่า กำลังของการทดสอบ (Power of the test)

ในการทดสอบสมมติฐานผู้ทดสอบต้องพยายามควบคุมความผิดพลาดทั้งสองประเภทให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่ขนาดของความผิดพลาดสองประเภทนี้สวนทางกัน กล่าวคือ ถ้า α มีค่ามากแล้ว β จะมีค่าน้อย การควบคุมความผิดพลาดทั้งสองประเภทนี้สามารถลดลงได้ถ้าเพิ่ม

ขนาดตัวอย่างให้มากขึ้น สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2 ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐานและขนาดของความผิดพลาด

 

ตารางที่ 2 ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน และขนาดของความผิดพลาด

 

การทดสอบ

สภาพที่เป็น

H0 เป็นจริง

H0 ไม่เป็นจริง

ปฏิเสธ H0

Type I Error (α)

(1-β)

ยอมรับ H0

(1-α)

Type II Error (β)

 

แหล่งอ้างอิง

อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง Advanced Research Methodology.

http://teacher.snru.ac.th/chanankarn/admin/document/userfiles/ch5.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 461514เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท