เลือกคบเพื่อนให้ดี คุณเลือกได้


เลือกคบเพื่อนให้ดี คุณเลือกได้

เลือกคบเพื่อนให้ดี คุณเลือกได้

 

นิวรณ์ 5 : คบคนพาล พาลพาใจไม่สงบ 

ตลอดเวลาที่เราฝึกอานาปานสติ ให้เราพยายาม 
ตั้งตัว ตั้งสติ โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ตัว เพื่อให้อยู่กับกาย 
อยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก 

เราพยายามสร้างความพอใจที่จะอยู่กับกาย อยู่กับลมหายใจนี้ 
พยายามสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และพยายาม 
ไม่ให้จิตนี้คิดออกไปภายนอก คือไม่ส่งจิตออกนอก 

เมื่อใดก็ตามที่เราเกิดความรู้สึกไม่สงบ แสดงว่ามีเพื่อนเก่าแวะ 
เข้ามาเยี่ยมเยียนเราแล้ว เพื่อนกลุ่มนี้มีชื่อว่า นิวรณ์ 5 ซึ่งก็คือ 
ความ ไม่สงบ” คำเดียวนี่แหละ 

นิวรณ์ 5 มีอะไรบ้าง 

กามฉันทะ : ความคิดชอบใจ พอใจ รักใคร่ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 
พยาบาท : ความที่จะทะเลาะกัน ความขัดเคืองแค้นใจ ไม่ชอบสิ่งนี้ ไม่ชอบสิ่งนั้น 
ไม่ชอบคนนี้ ไม่ชอบคนนั้น ความคิดปองร้ายอาฆาตพยาบาท 
ถีนะมิทธะ : ความหดหู่ เซื่องซึม ง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจ ขี้คร้าน 
อุทธัจจกุกกุจจะ : ความคิดฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ คิดไปสารพัดอย่าง 
วิจิกิจฉา : ความลังเลสงสัย จะทำอะไรก็ทำไม่ได้ เพราะทำไปได้นิดหน่อยก็ 
เกิดความสงสัยขึ้นมา 

นิวรณ์ทั้ง 5 นี้เป็นสิ่งกีดขวางความดีความงามไม่ให้เกิดขึ้น 
ในตัวเรา 

 เมื่อเราจะทำอะไรที่เป็นกุศล ก็จะมีพวกนี้เข้ามาขวาง 
ไม่ให้เราทำความดี เมื่อเรามีสติ สังเกตดูจิตใจเราอย่างละเอียดแล้ว 
เราจะพบว่านิวรณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ เปรียบเหมือนเพื่อนคนหนึ่ง 
ของเรา และ

ในแต่ละวัน นิวรณ์อาจเกิดขึ้นเป็นพันๆ หมื่นๆ ครั้ง 

เท่ากับว่า เราได้คบคนพาล คบเพื่อนที่ไม่ดี เป็นพันเป็นหมื่นคน 
แต่เราก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะเป็นเพื่อนเก่า เป็นเพื่อนที่สนิทสนมกับเรา 
มานาน สำหรับปุถุชนคนธรรมดาแล้ว นิวรณ์ทั้งหลายเป็นเพื่อนที่ 
ดี เป็นเพื่อนคลุกคลีพาสนุกสนานเฮฮาสารพัดตลอดเวลา 

เมื่อเราได้ยินได้ฟังธรรมะแล้ว ได้รู้จักเพื่อนใหม่ เป็นกัลยาณมิตร 
เป็นเพื่อนที่ดีจริงๆ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของตัวเราเอง 
นี่แหละ เราก็พยายามเจริญสติ แล้วก็ โยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด 
อย่างถูกต้องตามธรรมะ รู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล เพื่อให้เกิดปัญญาที่ 
จะตรวจดูว่า

เรามีความพอใจที่จะอยู่กับกัลยาณมิตรนี้ไหม 

 

เราต้องถามจิตใจของเราดูว่า เราอยากจะเป็นคนดีจริงๆ ไหม 
เราต้องการความสุขความเจริญจริงๆ ไหม 

โดยอาศัยสติมาตรวจดู 

 
เมื่อมีสติแล้ว ธัมมวิจยะ คือ การพิจารณาธรรมจะเกิดขึ้นและเกิดปัญญา 
วินิจฉัยได้ว่า นิวรณ์ทั้ง 5 นี้เป็นตัวทุกข์ หากเรายินดีพอใจที่จะคิดไป 
ตามนิวรณ์ จะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดทุกข์กับตัวเรามากขึ้น 

นิวรณ์ทั้งหมดเป็นเหมือนเพื่อนเก่าๆ ที่เราคบอยู่ประจำ เราเคย 
พอใจคลุกคลีอยู่กับเพื่อนเหล่านี้ แต่เมื่อเราพิจารณาเห็นแล้วว่า 
เขาเป็นผู้ที่ไม่นาคบ ถึงเขาจะมาเยี่ยมเรา เราเฉยเสีย ไม่ต้องใส่ใจ 

ถ้าเปรียบก็คือ เหมือนแขกที่เราไม่ชอบ มาเยี่ยมเรา เราไม่ต้อง 
ต้อนรับ และไม่แสดงความรังเกียจ พยายามทำเฉยๆ เหมือน 
กับมีธุระ ไม่มีเวลาว่างที่จะเอาใจใส่ แล้วในที่สุดเขาจะไปเอง 

แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเราจะไม่รู้อะไรเลย เราต้องคอยระวังเหมือนกัน 
ไม่ว่าเขาจะชวนเราไปไหน ชวนเราทำอะไร เราต้องทำตัวเหมือน 
คนไม่มีเวลา ทำตัวเฉยๆ อย่าไปด่าว่าเขา ถ้าเราไปด่าเขา ประเดี๋ยว 
เขาจะด่าคืน แต่ถ้าเราแสดงความยินดีต้อนรับ เขาจะติดใจไม่ยอมไปเสียที 

ถ้าจิตนี้มีความพอใจที่จะอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก 
เหมือนอยู่กับกัลยาณมิตร

นิวรณ์จะตั้งอยู่ไม่ได้ 

 

 

ขอขอบคุณที่มา ลานธรรมจักร


หมายเลขบันทึก: 461279เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2011 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความโกรธเกิดขึ้นได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้ 

เขาพูดจริงโดยหวังดีต่อเรา แต่ไม่ถูกใจเรา..... เราโกรธ 
เขาพูดธรรมดา แต่ไม่ถูกใจเรา..... เราโกรธ 
เขาไม่พูด ไม่ถูกใจเรา..... เราโกรธ 
เราคิดว่าเขานินทาเรา (ที่จริงเขาไม่ได้นินทาเรา)..... เราโกรธ 
เขาว่าเรานินทาเขา (แต่เราไม่ได้นินทาเขา)..... เราโกรธ 
เราเข้าใจผิดว่าเขาทำผิด (ทั้งๆ ที่เขาทำดี)..... เราโกรธ 
เขาเข้าใจผิดว่าเราทำผิด (ทั้งๆ ที่เราทำดี)..... เราโกรธ 
เขาหน้าบึ้ง ใจไม่ดี เรารู้สึกว่าเขาไม่พอใจเรา..... เราโกรธ 

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบความโกรธว่า เหมือนไฟไหม้ป่า 
ไม่ว่าอะไรขวางหน้าเผาทั้งหมด เผาหมดเลย 
เผาแม้แต่คนที่รักที่สุดหรือแม้แต่หัวใจของตัวเอง 
เผาหมด ไม่มีอะไรเหลือ เหมือนตกนรกทั้งเป็น 
มีแต่โทษร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีคุณเลย แม้แต่นิดเดียว 

เราต้องถามจิตใจของเราดูว่า เราอยากจะเป็นคนดีจริงๆ ไหม 
เราต้องการความสุขความเจริญจริงๆ ไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท