สิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์


สิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์

สิ่งที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษย์
น.พ.สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์

1. โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)

ตามหลักจิตวิเคราะห์(Psychoanalysis)บุคลิกภาพประกอบด้วย 3 ระบบ คือ Id, EgoและSuperego

Id เป็นแรงผลักดันทางสัญชาติญาณโดยมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างความจริง(Reality)และความ คิดฝัน (Fantasy) เป็นความคิดแบบเด็กทารก ไม่มีคำพูด เพ้อฝัน ขัดกับเหตุผล ไม่เลือกเวลา เป็นส่วนที่อยู่ จิตไร้สำนึก

Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพ ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหาร อยู่ใน จิตรู้สำนึก ทำหน้าที่ตามหลักแห่งความ เป็นจริง (Reality Principle) เป็นส่วนตอบสนอง หรือ ยับยั้ง Id ขึ้นกับความเหมาะสมของสภาวะโดยใช้คำพูด เป็นไปตาม เหตุผล และถูกจำกัดด้วยเวลา เป็นความคิดของคนที่มี วุฒิภาวะ แล้วการทำงานของ Ego
โดยการประสานงาน อยู่ระหว่าง Id และ Superego

Superego เป็นบุคลิกภาพเกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Wright or Wrong) ศีลธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ส่วนนี้จะเริ่มเกิดกับเด็กในช่วงอายุประมาณ 5-6 ขวบไปสมบูรณ์เมื่ออายุ์ 9-10 ขวบ ถัดจากนั้นไป Superego จะฝังอยู่ในระดับจิตไร้สำนึกประกอบด้วย

1. มโนธรรม (Conscience) เกิดจากการอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ควร ไม่ควรหากการกระทำไดที่ขัดกับ มโนธรรม จะก่อให้เกิด ความสำนึกผิด (Guilty feeling)

2. อุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) เกิดจากการอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ควร ไม่ควร หากทำในสิ่งที่ดี ตาม อุดมคติ แห่งตนจะเกิด ความภาคภูมิใจ (Pride)นักบริหารหรือผู้นำที่ดี Ego ของเขาสามารถดึงพลัง Id ไป เสริมสร้าง Superego ได คนเหล่านี้มักมีภูมิหลังในครอบครัวที่ดี และถูกปลูกฝังอบรมในทิศทางที่ดี จนเกิดมโนธรรม (Conscience) และ อุดมคติ แห่งตน(Ego Ideal) รู้ควรไม่ควร รู้ถึงความถูกผิด สำนึกผิด ได้(Guilty Feeling) และภูมิใจตนเอง(Pride)ได้ รู้จักเคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น ไม่คิดเบียดบังตนเอง และเอาเปรียบผู้อื่น

2. ครรลอง ความคิด ความเชื่อ ของบุคคล (Mental Model)

การเรียนรู้ของมนุษย์เริ่มจาก การเห็น สังเกต ค้นหาความหมาย รับรู้ จดจำไว้เป็นประสพการณ์ เมื่อเกิดซ้ำๆ จะกลายเป็นความเชื่อ และเมื่อมีการ พิสูจน์ความเชื่อได้ผลลัพธ์เป็นจริงตามความเชื่อบ่อยๆ จะกลายเป็นทฤษฎี แต่สิ่งที่เป็นเป็นความเชื่อ(Believe) ของคน จะก่อให้เกิด ความคิดน่าจะเป็น (Paradigm) กับสิ่งที่เห็น และไม่พยายาม คิดนอกกรอบความเชื่อ (Paradigm shift) และมักด่วนสรุป (Jump conclusion) เกิดการยึดติด(Fixation) ในความเชื่อตนเองจนกลายเป็นความหลง(Delusion) ได้ในบางรายนักบริหาร หรือ ผู้นำที่ดี ต้องรู้จัก ใช้ความเชื่อของตนในการจัดกา รให้ถูกตาม สภาวะการณ์ บนพื้นฐานแห่ง ความรู้ การวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนบน ตรรกะแห่งความเป็นไปได้ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461128เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท