สมมุติฐานและตัวแปร


สมมติฐาน คือคำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผล เพื่อตอบความมุ่งหมายของงานวิจัยที่ได้วางไว้

สมมุติฐาน (Hypothesis) หมายถึง ข้อความที่กำหนดขึ้นเพื่อคาดคะเนเกี่ยวกับปรากฎการณ์ (ตัวแปร) ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการคาดคะเนสามารถตรวจสอบได้

สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis)

-      สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เช่น กลุ่มหนึ่งมากกว่า หรือน้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง

-      สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Non-directional hypothesis) เช่น แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน

2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis)

-      สมมติฐานที่เป็นกลาง (Hull hypothesis) (H0) ใช้ค่าพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงความไม่แตกต่างกัน เช่น 1 = 2 เป็นต้น

-      สมมติฐานอื่น (Alternative hypothesis) (H1) ใช้ค่าพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงความแตกต่างกัน เช่น 1 < 2 เป็นต้น

 ตัวอย่าง

จุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชายกับนักเรียนหญิง

สมมติฐาน นักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน

H0 :  µ หญิง = µชาย

H1 :  µ หญิง ≠  µชาย 

จุดมุ่งหมาย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนกับความมีน้ำใจของนักเรียนประถม 6

สมมติฐาน ผลการเรียนกับความมีน้ำใจของนักเรียนประถม 6 มีความสัมพันธ์กันทางบวก

H0Þ = 0

H1Þ> 0

     µ  อ่านว่า มิว (mu)

     Þ  อ่านว่า โร (rho)

 ตัวแปร (Variable) คือ คุณลักษณะของสิ่งที่สนใจ ซึ่งแปรค่าได้

ตัวอย่างเช่น

สิ่งที่สนใจ---นักเรียน ตัวแปร ได้แก่ คุณลักษณะ, ผลสัมฤทธิ์, ความก้าวร้าว, เพศ, อีคิว, ฐานะ

สิ่งที่สนใจ---หลอดไฟ ตัวแปร ได้แก่ อายุการใช้งาน, ราคา, วัสดุทำไส้

สิ่งที่สนใจ---ครู ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา, อายุ, เพศ, ประสบการณ์การทำงาน, เงินเดือน

การจัดกลุ่มของตัวแปร  แบ่ง ได้ 4 ประเภท

    1.   จัดตามระดับการวัด (level of measurement)  ได้แก่
  • ตัวแปรจัดกลุ่ม (ตัวแปรที่ใช้แทนชื่อ 1 แทน ชาย, 0 แทน หญิง)
  • ตัวแปรอันดับ (ตัวเลขแทนคุณลักษณะที่เปรียบเทียบกันได้ ได้แก่ ลำดับการเกิด, ขนาดรองเท้า) 
  • ตัวแปรอันตรภาค (ใช้ตัวเลขแทนปริมาณ/คุณภาพ ไม่มีศูนย์สมมุติ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ)
  • ตัวแปรอัตราส่วน (เป็นตัวแปรทางกายภาพ ใช้ตัวเลขแทนปริมาณ/คุณภาพ มีศูนย์สมมุติ เช่น ความสูง น้ำหนัก ความเร็ว)
    2.      จัดตามลักษณะตัวแปร (Variable attribute)
  • ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) ตัวเลขแทนคุณลักษณะที่เปรียบเทียบได้ เช่น อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก
  • ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) ตัวเลขแทนคุณลักษณะที่เปรียบเทียบไม่ได้ เช่น เพศ ศาสนา
    3.      จัดตามการจัดกระทำตัวแปร (Operation of variable)
  • ตัวแปรอินทรีย์ (เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ) เช่น เพศ, สีผิว, ความสูง, น้ำหนัก
  • ตัวแปรจัดกระทำ (ตัวแปรที่นักวิจัยสร้างขึ้น) เช่น วิธีสอน,
    4.      จัดตามความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Relations between variables)
  • ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ เช่น เพศ อายุ
  • ตัวแปรตาม สมรรถนะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แหล่งอ้างอิง

    1. รัตนะ  บัวสนธ์. (2552) ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    2. อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง Advanced Research Methodology.
    3. http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm

 

หมายเลขบันทึก: 460723เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท