ตัวแบบนโยบายสาธารณะ


นโยบายสาธารณะ

ตัวแบบนโยบายสาธารณะ

1.ตัวแบบชนชั้นนำ 

หลักการ

  • ·จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายอย่างเด็ดขาด
  • ·ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นหลัก
  • · ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชน
  • · ทิศทางการกำหนดนโยบายจึงเน้นทิศทางแบบแนวดิ่ง

คุณลักษณะสำคัญ

  • · คนในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และคนส่วนมากที่ไม่มีอำนาจ
  • · คนส่วนน้อยมิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคนส่วนมากคือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า
  • · การเปลี่ยนแปลงฐานะขึ้นไปสู่ชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
  • ·นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนแต่สะท้อนความต้องการของชนชั้นนำ
  • · แนวคิดตัวแบบชนชั้นนำยังเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่สนใจการเมือง ความรู้สึกของประชาชนจึงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ

ต.ย. พรบ. ให้คุ้มครองและห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508

1.ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม

            คน ในสังคมประกอบด้วยกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล มุ่งเรียกร้องการพิทักษ์ความเป็นธรรมของสังคม กลุ่มผลประโยชน์มุ่งรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเพื่อป้องกันการละเมิด “นโยบายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลผลิตของดุลยภาพระกลุ่มโยตรง”Arther F. Bently  “การเมืองนั้นเปรียบเสมือนระบบที่มีแรงผลักดันที่กระทำปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ” 

คุณลักษณะสำคัญ

  • ·เป็นลักษณะของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคม เรียกว่า “กลุ่มแผงเร้น”
  • ·กลุ่ม ที่สมาชิกบางส่วนคาบเกี่ยวกัน ลักษณะกลุ่มเช่นนี้จะมีส่วนในการดำรงรักษาดุลยภาพระหว่างกลุ่ม โดยป้องกันมิให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเคลื่อนไหวเกินกว่าผลประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างกลุ่ม
  • · การตรวจสอบและความสมดุลที่เกิดขึ้นจากกลุ่มที่แข่งขันกันจะมีส่วนช่วยดำรงรักษาความสมดุลระหว่างกลุ่ม

ต.ย. พรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527  พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

 

1.        ตัวแบบเชิงระบบ

คุณลักษณะที่สำคัญ

  • · กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ
  • · David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน “ชีวิตการเมือง” ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ
  • · ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ

ภาย ใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการ ตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง

-          ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม

-          การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี  “ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน”

ต.ย. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

2.ตัวแบบสถาบัน

  • · ฐานคติที่ว่า “นโยบายสาธารณะ คือ ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง สถาบันทางการเมืองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
  • · นโยบายจะถูกกำหนด นำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันหลัก 

“ ความสัมพันธ์ของนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบถูกนำ ไปปฏิบัติ  และบังคับใช้โดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ 3  ประการ

1.        สถาบันราชการเป็นผุ้รับรองความชอบธรรมของนโยบายกล่าวคือ นโยบายของรัฐถือว่าเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม

2.        นโยบายสาธารณะมีลักษณะคลอบคลุมทั้งสังคมทั้งนี้เพราะนโยบายสาธารณะมีผลต่อประชาชนทั้งสังคม

3.        รัฐบาลเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคมคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ

Henry ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธารณะตามตัวแบบสถาบัน

  • · นโยบาย ที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารได้แก่ นโยบายปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์กับดูแล รักษากติกา วางแผน ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่ มีความจำเป็นต้องดำเนินการ
  • · นโยบาย ที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติไดแก่ นโยบายที่รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติล้วนมีส่วนเป็นผลผลิตของสถาบัน นิติบัญญัติทั้งสิ้นเพราะนโยบายของรัฐจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อได้ผ่านความ เห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ

5.ตัวแบบกระบวนการ        

a.        การจำแนกปัญหา : การ พิจารณาปัญหาจากการเรียกร้องของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐแก้ไขว่าเป็นลักษณะใด เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาชุมชุนแออัดจะต้องนำมาวิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา

b.        การจัดทำทางเลือกนโยบาย : การ กำหนดวาระสำคัญของการอภิปรายนโยบาย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานำไปสู่ทางเลืองนโยบายต้องพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางเลือกนำทำเลือกมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนผลประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่

c.        การให้ความเห็นชอบของนโยบาย : ขั้น ตอนสำคัญในการตัดสินใจนโยบายว่าจะเลือกทางใดต้องคำนึงถึงผลที่เกิดและความ สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและต้องผ่านความเห็นชอบจากสถาบัน นิติบัญญัติ

d.        การนำนโยบายปฏิบัติ :  การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์

e.        การประเมินผลนโยบาย :  การศึกษาดำเนินงานของโครงการและการประเมินผล

-          สิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

-          ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า

-          กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ

-          ผลผลิตของนโยบาย

-          ผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย

-          ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุง

6. ตัวแบบหลักเหตุผล

            ปัจจัยในการใช้ตัวแบบหลักเหตุผล

1.        ต้องมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

2.        จะต้องจัดเก็บข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมครบถ้วน เที่ยงตรง

3.        ต้องมีนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ

4.        ต้องมีงบประมาณในการลงทุนเพื่อเป็นต้นทุนจม

ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแบบหลักเหตุผล

1.        ต้องกำหนดคุณค่า วัตถุประสงค์ และเกณฑ์การตัดสินใจให้ชัดเจน

2.        ต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์

3.        ประมาณค่าเบื้องต้นในผลที่คาดหวังของการตัดสินใจ และผลของทางเลือกต่าง ๆว่าควรใช้กลยุทธ์เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อย

4.        ถ้า เลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อยควรใช้กลยุทธ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่ จำกัด ถ้าเลือกกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรมต้องพิจารณาผลที่เป็นไปได้ของทางเลือกต่าง ๆ

5.        ใช้ประโยชน์จากความเห็นของนักวิเคราะห์ที่หลากหลาย

6.        วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้กรณีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

กรณีศึกษา  โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ  โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง

7. ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน

            ฐานคติ  นโยบายสาธารณะที่มีลักษณะการกระทำที่ต่อเนื่องจากอดีตเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนหรือส่วนน้อย

คุณลักษณะของตัวแบบ

  • · เป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือนโยบาย โครงการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเกณฑ์
  • · ให้ความสนใจต่อนโยบายหรือโครงการใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเล็กน้อย
  • · ยอมรับความชอบธรรมของนโยบายที่ดำเนินมาก่อนเพราะความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ใหม่
  • · ถ้ามีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อยู่แล้วจะเป็นข้ออ้างสำคัญในการปฏิเสธนโยบายใหม่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
  • · การเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมได้ง่ายเพราะผลกระทบมีน้อย
คำสำคัญ (Tags): #นโยบายสาธารณะ
หมายเลขบันทึก: 460684เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท