แนวความคิดของ Peter Drucker


Peter Drucker

แนวความคิดของ Peter  Drucker

          เริ่มมีชื่อเสียง ตั้งแต่ปี 1950  ดรักเกอร์เกิดแถวๆ ออสเตรีย เยอรมัน   ตอนที่อยู่อังกฤษจะชอบไปฟังจอหน์   เมย์นาร์ด   คีนส์  (สาวกอดัม สมิธ ที่ใช้แนวคิดของ  ชาร์ลส์   ดาร์วิน)  ที่บอกว่า รัฐจะไม่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาไม่ได้ ในสถานการณ์ที่ประเทศมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  หากอัตราการว่างงานสูงและนายทุนไม่สามารถจ้างงานได้ เศรษฐกิจของประเทศก็จะมีปัญหา ดังนั้น  รัฐจะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ  และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว รัฐก็ควรถอนตัวออกมา   เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา  distortion (การบิดเบือน ) เช่น รัฐวิสาหกิจ

          ถึงแม้  ดรัคเกอร์  จะไปฟัง  จอหน์  เมย์นาร์ด  พูดบ่อยๆ แต่ได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อ  จอหน์  เมย์นาร์ด  ว่าเข้าใจเศรษฐกิจแต่ไม่เข้าใจคน  หนังสือที่ดังที่สุดของดรักเกอร์  คือ “ MBO Management by Objective and Self Control”  เขียนขึ้นในปี 1954  โจทย์ของดรักเกอร์ถามว่า  ถ้าเราพบคน  3  คน  ทำงานอยู่ด้วยกัน  เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าใคร  ทำงานอยู่ในตำแหน่งใด   โดยการตั้งคำถามเดียวกันกับคนทั้ง  3  คนว่า “ กำลังทำอะไรอยู่ ”   คนแรก  ตอบว่า  “ทำงาน”   , คนที่สอง  ตอบว่า  “ทำโบสถ์ที่สวยงาม”  เป็น สร้างความเป็นเลิศในชิ้นงาน , และ  คนสุดท้าย  ตอบว่า  “จะสร้างศูนย์รวมทางศาสนา”

    จากคำถามข้างต้น  จะทำให้เราทราบได้ว่าใครทำงานในตำแหน่งใด  คนแรกตอบว่า  “ทำงาน”  เป็น   คนงาน (เนื่องจากทำงานตามที่ได้รับคำสั่งมา  ไม่ได้ทราบว่างานที่ตนทำอยู่นั้นคืออะไร)  ,  คนที่  2  ตอบว่า “ทำโบสถ์ที่สวยงาม”  เป็น  ช่างเทคนิค  (technician)  (เพราะต้องใช้ความรู้  ความสามารถเฉพาะตำแหน่งในการทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ไม่ได้รู้ว่าโบสถ์ที่สวยงามนั้น  ทำไปเพื่ออะไร)  และ คนที่ 3  ตอบว่า
“จะสร้างศูนย์รวมทางศาสนา”  เป็นนักบริหาร  (เนื่องจากมองภาพรวมของการทำงานทั้งระบบ , ทราบเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการทำงาน)

          ขอยกตัวอย่าง  สถานีรถไฟนอร์ทเวส   ซึ่งพบว่าใช้งบประมาณในการเปลี่ยนประตูห้องน้ำเป็นจำนวนมาก   จากการสังเกตพบว่า  ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนำช่างเทคนิค technician  ขึ้นมาทำหน้าที่บริหาร   ซึ่งช่างเทคนิคมักจะนำเอาเกณฑ์ของนายช่างมาใช้กับเกณฑ์ของหน่วยงาน  ดังนั้น  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา  ในการดำเนินงานผู้บริหารควร  set MBO ขึ้นมา  โดยมีหลักการว่า  ในการดำเนินงานนั้น  จะต้องเอาเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก (เป้าหมายขององค์กรคืออะไร)   ไม่ใช่เอาเป้าหมายของแต่ละฝ่ายมากำหนด  อย่าสับสน  อย่าเอา technician เข้ามาทำงานบริหาร 

หมายเลขบันทึก: 460678เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท