ศาสตร์ และวิธีวิทยาการวิจัย


ศาสตร์ เป็นสิ่งเดียวกันกับกระบวนการวิจัย (Research process)

คำว่าศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ มีความหมาย 3 ลักษณะ

-  ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและกฎที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ

-  สาขาวิชาหรือสาขาความรู้ต่างๆ ซึ่งจัดเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์

-  กระบวนการที่เป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้ได้ความรู้ที่สามารถทดสอบได้กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย

  1. การสังเกตปรากฏการณ์ในธรรมชาติแล้วกำหนดปัญหา

  2. การตั้งสมมติฐาน

  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

  4. การวิเคราะห์

  5. การสรุปผล

ศาสตร์
      ในความหมายของกระบวนการที่เป็นการค้นหาความรู้แล้ว
จะพบว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับกระบวนการวิจัย (Research process)

ลักษณะที่สำคัญของศาสตร์

  1. มีองค์ความรู้ (Body of Knowledge)

  2. มีศัพท์เฉพาะตัว (Technical term)

  3. มีวิธีการค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว (Method of inquiry knowledge)

ประเภทของศาสตร์ พิจารณาจากลักษณะของปรากฏการณ์ที่ศาสตร์นั้นๆมุ่งเน้นทำการศึกษา  จำแนกได้ เป็น 3 กลุ่มใหญ่

กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์หรือธรรมชาติศาสตร์ (Natural science)
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มุ่งศึกษาปรากฎการณ์ธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสิ่งต่างๆ ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางพฤติกรรมของมนุษย์ ตัวย่างของศาสตร์  เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 สังคมศาสตร์ (Socialscience)
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มุ่งศึกษาปรากฎการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์หรือศึกษาปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ตัวย่างของศาสตร์  เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

กลุ่มที่ 3มนุษยศาสตร์ (Humanitiesscience)
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มุ่งศึกษาปรากฎการณ์เกี่ยวกับมนุษย์ในส่วนที่ยังเป็นปัจเจกบุคคล ได้แก่ เรื่องของคุณค่า ความงาม ความสุนทรีย์ การใช้เหตุผลทำนองนี้ ตัวย่างของศาสตร์  เช่น ภาษา วรรณกรรม
ศิลปะ และดนตรี

เป้าหมายของศาสตร์

 ศาสตร์มีเป้าหมายสำคัญ 4ประการ

  1. เพื่อบรรยายหรือพรรณนา (Description) ปรากฏการณ์ หมายถึง การบอกเล่าตอบคำถามว่าใคร (Who) ทำอะไร (What) ที่ไหน (Where) เมื่อไร(When)  อย่างไร(How)

  2. เพื่ออธิบาย (Explanation) ปรากฏการณ์ หมายถึง การบอกว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุใด

  3. เพื่อทำนาย (Prediction) การบอกหรือคาดคะเนนได้ว่าถ้ามีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วจะมีปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นตามมานั้นคือ

    การบอกในลักษณะถ้า (If)... แล้ว (Then)... นั่นเอง

  4. เพื่อควบคุม (Control) การทำให้เกิดหรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ตามที่มนุษย์ (ซึ่งมักจะเรียกว่านักวิจัยหรือนักทดลอง) ต้องการ

    ระเบียบวิธีวิจัยเป็นสิ่งที่ใช้ศึกษาเพื่อการค้นคว้าหาความรู้ความจริง
    แล้วสั่งสมเป็นองค์ความรู้ของศาสตร์ในแต่ละสาขาหรือศาสตร์ ในการวิจัยแต่ละครั้งจะทำให้ได้ความรู้ความจริงเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งขึ้นอยู่กับเทคนิคการวิจัยแต่ละประเภทเป็นสำคัญ
    เช่น งานวิจัยเชิงบรรยาย (Description research) ทำได้ความรู้ความจริงในลักษณะพรรณนา หรือบรรยายในขณะที่งานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ทำให้ได้รู้ความจริงในลักษณะอธิบาย ทำนาย และควบคุม เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

รัตนะ  บัวสนธ์. (2552) ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำสำคัญ (Tags): #ศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 460516เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท