ถามเล่นๆว่า ถ้ามีคนถามว่า สคส ทำเพื่อสุขภาพแค่ไหน.. ตอบไงดี


โยงผลงาน สคส ให้เข้าเรื่อง "สุขภาพ" ได้อย่างไร

 

 ขอขว้างก้อนหินถามทาง  เล่นๆ ว่า

สมมติ  มีคน ถามว่า ตั้งแต่ มี สคส มาเนี่ย   ผลงานที่เด่นๆ  เจ๋งๆ  ทำให้ คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น    มีอะไรบ้าง  จะตอบไงดี ? 

 top ten ที่เด่นๆ ชัดๆ เรื่องสุขภาพ มีอะไรบ้าง ?

ผมเอง ก็คงตอบว่า

(ก) พี่เดชา ที่ สุพรรณไง   ลดปัญหาการใช้สารเคมี สุขภาพดีขึ้นเอยะเลย

(ข) ไปที่ มหาชีวาลัย   แก้ปัญหายุงได้นะ

(ค) คนเราคุยกันมากขึ้น   ผลผลิตดีขึ้น   สุขภาพจิตก็ย่อมดีขึ้น   ดูที่ปูนแก่งคอย ฯ  ไง

มีอีกไหม เนี่ย   

 

คำสำคัญ (Tags): #สคส
หมายเลขบันทึก: 46051เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

        สงสัยว่าคงจะมีคนอยากถามเหมือนอาจารย์หลายคนเหมือนกันค่ะ     ถ้าจะตอบว่า สคส. ทำงานโดยมองคำว่า "สุขภาพ หรือ สุขภาวะ"  เป็นทั้งด้าน สุขภาพกาย, สุขภาพใจ, สุขภาพปัญญา, ความเป็นอยู่ที่มีความสุข (เศรษฐกิจ, ชีวิต-การงาน)   งานของเราก็เลยดูเกี่ยวกับสุขภาพไปซะทั้งหมด  โดยเข้าไปทั้งกับราชการ, การศึกษา, ชุมชน/ NGO ไม่เว้นแม้แต่ เอกชน

       ถ้าจะเอาตัวอย่างของราชการ คร่าวๆ ก่อน   เอ! จะเรียกเป็นผลงานของ สคส. ก็ไงๆ อยู่     เพราะ สคส. เราไม่เคยให้ทุนสนับสนุนกับหน่วยราชการเลย และไม่เคยไปลงมือทำ KM ให้    แต่เราอาจไปช่วยเริ่มจัด KM Workshop ช่วงเริ่มแรก และเป็นเพื่อนที่ปรึกษาให้    แล้วทั้งหมดด้วยความมุ่งมั่น มานะ และเห็นสิ่งดีของ KM  พวกเขาจึงไปผลักดันในหน่วยงานกันเอง และทำเป็นผลงานของเขาเองค่ะ     ที่น่าภาคภูมิใจ เช่น

         - กรมอนามัย :  สคส. เราไปช่วยจัด workshop ให้ไม่เกิน 2 ครั้งค่ะ  ต่อจากนั้นเป็นการปรึกษาแลกเปลี่ยนกันฉันเพื่อน   แล้วกรมอนามัย ก็ผลักดันในกรม, ศูนย์อนามัยต้นแบบ  โดยใช้เนื้องานอนามัยสุขภาพ เป็นตัวตั้ง    แถมยังพัฒนาเป็นวิทยากร KM ให้กับหน่วยงานอื่นๆ ช่วย สคส. เราได้อีก (เก่งจริง ค่ะ)

        - กรมส่งเสริมการเกษตร : กรมนี้ สคส. เราก็ไปเริ่ม Workshop ให้เล็กน้อยเหมือนกัน   แล้วก็คุยกันไปคุยกันมา  เขาผลักดันเข้าสู่นโยบาย food safety  ของกรมได้ค่ะ  ตอนนี้ทำ KM กับ 18 จังหวัดนำร่องค่ะ (แต่เกษตรจังหวัดอื่นๆ สนใจก็ทำได้ค่ะ)    และคนที่ทำจนมีประสบการณ์ระดับหนึ่งก็ไปเป็นวิทยากร KM และที่ปรึกษาให้หน่วยงานราชการอื่นๆ และมหาวิทยาลัย อีกเช่นกัน (นี่ก็เก่งเหมือนกันค่ะ)

       - กรมสุขภาพจิต : อันนี้เรื่องจิตใจ  เราเป็นเพื่อนที่ปรึกษาและทำ workshop ให้ครั้งเดียวเหมือนกัน    เขานำ KM ไปทำทั้งเรื่องของ "สุขภาพจิตในชุมชน" และ "สุขภาพจิตภัยพิบัติ"  ค่ะ (ทำกับเด็กและเยาวชน  3 จว. ชายแดนภาคใต้ ด้วยนะคะ)

        - พี่ไพฑูรย์  ช่วงฉ่ำ   ผู้จัดการโครงการ KM  รพ. ภาคเหนือตอนล่าง 17 รพ. กับเรา  ก็ advance ไปเป็นวิทยากรจัดตั้งทีมไปทำ เครือข่ายการเรียนรู้ ให้กับ สสจ. 18 จว. โครงการของ พรพ. (สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล)  และหน่วยงานอื่นๆ  (ชื่นใจค่ะ)   รพ. แต่ละแห่งก็เอาเข้าไปทำในงานของตนค่ะ    

          ยังมีหน่วยงานและจว. อื่นๆ (รายละเอียดพูดกันยาวค่ะ)  ที่เข้ามาเป็นเพื่อนกับเรา  (เรามีประชุมภาคีจัดการความรู้ ภาคราชการ ทุก 3 เดือน  เพื่อเชื่อมโยงกันด้วยนะคะ)   แต่ขอตอบเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันค่ะ    เดี๋ยวให้คนอื่นมาต่อ........

                                                   (**ตอบคนเดียวไม่ได้)

     ก่อนอื่นอยากจะขอคิดหลุดกรอบก่อนว่า แล้วจะเอาคำว่า "สุขภาพ" ตามความหมายของใครดีก่อนกัน หากจะเอาตามความหมายของชาวบ้าน ใน "โครงการไตรภาคีฯ" ผมเคยสรุปไว้ เขาหมายถึง "ชีวิต" ครับ ทีนี้ สคส.ได้ทำอะไรเพื่อ "ชีวิต" ดีขึ้นบ้างไหม ก็ตอบเลยว่า การที่ สคส.ทำให้เกิดทัศนะที่ดีต่อกันในการเคารพศักดิ์ศรีของกันและกัน เจ้าของชีวิตทุกชีวิตเกิดความรู้สึกไม่เป็นคนชายขอบ รู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง รู้สึกมั่นใจมากขึ้นมาก ๆ ว่า เอ! เราก็ทำอะไร คิดอะไร พูดอะไร โดยเฉพาะจากประสบการณ์ที่เราได้ลอง ๆ ทำมาแล้ว ด้วยชีวิตเราเอง ก็เข้าท่าด้วยเนอะ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีโอกาสได้เรียนสูงอะไรมากนัก
     เท่าที่กล่าวข้างต้นก็เพียงพอแล้วครับ คือการทำให้คนที่เข้ามาสัมผัสกับ สคส. รู้สึกต่อชีวิตตนเองว่าดีขึ้น ไม่รัดทด ไม่ทดท้อ การยอมรับตนเองว่ามีเกียรติ ทีศักดิ์ศรีพอ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" นี่แหละครับ ผลของ สคส.ทั้งทางตรงและทางอ้อม
     คำถามที่อาจารย์โยนถามว่าวันนี้ น่าจะเป็นคำถามที่ สสส.จะประเมิน สคส.โดยอาจารย์เป็นคณะกรรมการฯ ด้วยใช่ไหมครับ ผมขอตอบสักประเด็นดังข้างต้นด้วยคนนะครับ ที่ไม่ใช่ตอบแทน สคส. แต่ขอตอบในมุมมองคนที่ได้รับผลฯ จาก สคส.ครับ

ผมคงไม่ขอเล่าตัวผลงานโดยตรงนะครับ   เพราะวิธีการทำงานของ สคส.  เราย้ำภาคีเสมอว่า   สิ่งที่กำลังจะทำ หรือกำลังทำอยู่นั้น    สคส. ไม่ใช่เจ้าของ     แต่หน่วยงานของเขาเหล่านั้นเองที่เป็นเจ้าของต่างหาก     เพราะฉะนั้นรอเจ้าของเขาตอบเองน่าจะเป็นภาพที่ชัดเจน  และ Update กว่าครับ

ผมขอให้ภาพวิธีการทำงานของ สคส. แทนก็แล้วกันนะครับ     สคส. มีตัวตนคนทำงานรวมทั้ง office ก็ 11 คน (ตอนนี้)   เราคงไม่มีปัญญาวิ่งลง implement เองทั้งประเทศได้หมด     ด้วยข้อจำกัดอย่างนี้   เราจึงเคลื่อน KM เข้าไปในจุดที่เป็น Hub หรือเป็นกลุ่มเครือข่าย  แทนการลงเป็นรายหน่วยงานเล็กๆ

จากประสบการณ์ทำงาน 3 ปี ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า KM นั้น  เอาไปใช้กับงานทุกอย่าง  เห็นผลที่เกิดในหลากหลายบริบทมากขึ้น ตั้งแต่ในทุ่งนา  ไปจนถึงมหาวิทยาลัย   ในกรม  ในกระทรวง

เราเรียนรู้ว่า  KM ที่น่าจะถูกทาง   คือ KM ที่มีพื้นฐานของยกย่องเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นคน  อยู่ข้างใน    ดังนั้น   การดำเนินการส่งเสริม KM ของ สคส. จึงย้ำเสมอว่า   "ความรู้เรื่องการปลูกข้าว  มีอยู่แล้วในตัวชาวนา,   ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  มีอยู่แล้วในตัวพยาบาล หรือแม้แต่ตัวคนไข้เอง"   การจัดการความรู้รูปแบบของ สคส. จึงมักจะเริ่มจากตรงนี้

สิ่งที่เราไม่คาดคิด   คือเมื่อดำเนินการในทิศทางนี้   เราเห็นความภาคภูมิใจ  ของเจ้าของความรู้  เหล่านี้  ซึ่งแต่เดิม  เขาได้รับเกียรติเช่นนี้น้อยมาก     คน no name เหล่านี้ในอดีต (ซึ่งเป็นคนทำงานดี)  ได้กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น    ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่หลายท่าน

ทีมงาน  สคส.  จึงหวังลึกๆว่า  สิ่งดีๆเหล่านี้ที่ฝังอยู่ในกระบวนการส่งเสริม KM จะเป็นแรงกระเพื่อมต่อช่วยให้ภาคีเครือข่าย  สคส.  มีเรี่ยว มีแรง ทำ KM อย่างมีความสุข  และเรียนรู้วิธีการสร้างความสุข  คู่ไปกับวิธีการสร้างความรู้ด้วย

พรพิ มล หรรษาภิรมย์โชค

   ดิฉันในฐานะที่นักศึกษาปริญญาเอกที่ทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการความรู้  และได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การทำงานของ สคส.  อีกทั้งยังได้เข้าไปทีมงานบางงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย  ดังนั้นดิฉันขอแสดงความคิดเห็นว่า  สคส.ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากสิงที่ดิฉันพบ  ก็คือ  การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้มาจากการส่งเสริมความรู้ให้กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพ เพราะถ้าเราวิเคราะห์การดำรงชีวิตของมนุษย์ให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวม (Holistic)  จะพบว่า

        ปัจจัยที่ส่งเสริมมาจากหลายด้าน   คือ

1.  วัฒนธรรม  ในด้านความเชื่อ  ค่านิยม  ทัศนคติ  แนวคิด  การนับถือศาสนา  สิ่งเหล่าล้วนส่งผลต่อกระบวนการคิด  พฤติกรรมต่างๆของคนในสังคม

2.  การเกษตร  ในด้านการผลิต  การจัดจำหน่าย  การบริโภค 

3.  เทคโนโลยี  ในด้านการผลิตนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต 

4.  ภาคราชการ   ประกอบด้วย 140 กรม  75  จังหวัดที่จัดทำแผนการจัดการความรู้ส่งให้กับ กพร.  หน่วยงานเหล่านี้ล้วนต้องใช้ KM ในการทำงานซึ่งผลที่ได้รับจากการนำ KM มาใช้สุดท้ายก็คือ  การจัดการที่ดีให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านกายและจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่ดี  มีคุณค่าของประเทศ   

       หากมองอย่างรอบด้านคงพบว่า   ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ  คงไม่ใช่แค่ปัจจัยที่จำกัดอยู่แค่  หมอ พยาบาล  สถานพยาบาล  หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขในระดับต่างๆ     เพราะสุขภาพของคนในสังคมจะแข็งแรงได้  คงต้องอาศัยตนเองเป็นหลักมากกว่าที่จะพึ่งหมอ  หากระบบการศึกษาที่เข็มแข็ง   มีประสิทธิภาพ  ระบบการเมืองที่ไร้ซึ่งปัญหาความขัดแย้ง   ระบบครอบครัวที่กลมเกลียว  ทุกคนมีงานทำ  มีรายได้ที่พอเพียงกับรายจ่าย  อาหารการกินปลอดภัยจากสารพิษ คนไทยทุกคนก็คงจะมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้า

       ดังนั้นการจัดการความรู้ของ สคส.  จึงควรเข้าไปส่งเสริมและแทรกซึมในทุกระดับของสังคม  ในมิติต่างๆ ทั้งภาคเอกชน  ภาคราชการ  ภาคประชาสังคม    เพราะเราทุกคนในสังคมไทยต้องช่วยกันสร้างคนไทย  สังคมไทย  ประเทศไทยให้เข็มแข็งทั้งด้านกาย  จิต และวิญญาณที่สมบูรณ์ของความเป็น  "ไท"

พรพิมล   หรรษาภิรมย์โชค

[email protected]

ขอบคุณมากๆ .... ทำให้ เสาร์ 26นี้  ผมง่ายขึ้นเยอะ .... 

แต่ >>>  สมมติเล่นๆนะ

ผมคิดเชิง ป้องกัน   ถ้าเจอ คำถามประหลาดๆ ที่ คนประเภทถนัดแนว result oriented  มาถามผมว่า "ประเมินเป็น รูปธรรม  ... หน่อยสิ"

ผมคง  หายใจลึกๆ  โอ้ พระเจ้าจอร์จ  

KM ถ้าจะประเมินเป็น รูปธรรม   นี่มันไม่หมูน่ะ  มัน subjective (ความรู้สึกส่วนตัว  )  และ มีอะไรที่เป็น intangible but sustainable  (นามธรรม แต่  ยั่งยืน) อีกมากมาย    คนไม่เคยทำ LO &KM ยากที่จะเข้าใจ

แต่ผมต้องทำให้เขา เข้าใจ  นี่สิ ... ฝีมือล้วนๆ

ผมเคย ทำงานให้ หน่วยงานกลาง ประเมิน KPI & BSC งานราชการ   ....  ผมพอจะเดาออกว่า บางที พบว่า หากคนที่ยังไม่ ซึ้ง KM จริงๆ  จะไม่รู้ว่า   ประเทศไทย กำลังจะเปลี่ยนไป  เพราะ สคส  ...ขอปรบมือให้ดังๆ 

 

สมมติ ผมแยก category เป็น  ที่

  • ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง
  • ส่งผลแบบอ้อมๆ 
  • ยังไม่ส่งผล แต่ กำลัง In trend  (ดาวรุ่ง  star)
  • เคยส่งผล  แต่ กำลัง Out trend  (ร่วงโรย   โฮ่งๆ  dog )
  • กำลังแสดงผล แต่ ทรงๆ  (cash cow  กำลังดี)
  • กำลัง ลุ้น ไม่รู้ จะออกหัว หรือ ก้อย  (Question mark ?)  
  • ส่งผลไปที่สุขภาพใจตรงๆ 
  • ส่งผลแบบสั้นๆ ยังไม่ยั่งยืน  คุณเอื้อเปลี่ยน คุณอำนวยตาย โดนย้าย ฯลฯก็กระเทือน  (เช่น แหลมรุ่งเรืองเนี่ย  กำลังเติบโต คนมาก โจทย์ก็เปลี่ยนไป  /  ครูบาสุทธินันท์ สมมติ ละสังขาร  ใครจะถ่ายทอด   น้องกิ่ง หรือ พี่ จรัส พริกบันลือโลก ฯลฯ /  พี่เดชา  / ผอ รพ บ้านตาก / พี่สมบูรณ์  พี่ปัญญา แพรกหนามแดง ฯลฯ /  คุณหมอวิจารณ์   ดร ประพนธ์ ฯลฯ )  และ ขาดการถ่ายทอดต่อ ผู้สืบทอดวัฒนธรรมการเรียนรู้ แต่ ก็ถือว่า เป็นหน่อที่ดี
  • ส่งผลแบบยาวๆ คือ ไม่ว่า จะเปลี่ยน คุณเอื้อ คุณอำนวย  ไม่ต้องห่วง  เพราะ คุณกิจ  รับไปเป็น วัฒนธรรมแล้ว  เรียนรู้เป็นแล้ว  ทั้งด้านใจ  ทั้งด้าน learn how to learn แล้ว
  • อื่นๆ ยังคิดไม่ออก ?    (ขว้างก้อนหิน ถามทางเฉยๆนะ)

category พวกนี้ เป็น ตาราง (matrix / Table) ให้คะแนนน้ำหนัก 

  ร่างคร่าวๆ  อาจจะไม่เอาเลยก็ได้

 

ผม อยู่ในช่วงโง่ๆ เซ่อๆ  เบลอๆ หลาวๆ   คิดๆ คุยๆ ถามๆ แหย่ๆ   ยังไม่ตกผลึก  เพราะ ของแบบนี้  ต้อง ระดมความคิด  ต้องปฏิบัติ ฯลฯ

ขอบคุณทุกท่านครับ     สคส   สสส   สกว  จงเจริญ  อยู่คู่ฟ้าดิน  สาธุ 

 

 

 

"KM ถ้าจะประเมินเป็น รูปธรรม   นี่มันไม่หมูน่ะ"

ขอเสนอเพิ่มว่า แล้วสมมุติว่า เจ้านายเราอยากได้แผนงาน KM จากเรา เรามิแย่หรือครับ หรือตัวเราเองจะรู้ได้อย่างไรว่าไปถูกทางแล้ว หรือหลงทางอยู่ หรือเราจะทันได้อยู่ดูหรือเปล่า ถ้าโดนย้ายสะก่อน

ด้วยความเคารพอย่างสูงครับอาจารย์ 

(ก)  เริ่มต้น  ก็เจ๊งแล้วครับ   หากนายใช้ คำว่า ขอดูแผน KM

เพราะ KM เป็น Chaos   ท่ามกลางความสับสน   จะมีหลักการ   (  นึกถึง เตียซำฮง  สอนวิทยายุทธ์ให้ เตียบ่อกี้  ใน มังกรหยก 3) 

นาย ประเภท  ไม่มา ร่วมวง "ค่อย" รู้จัก LO & KM  มัก จะโยน ภาระให้ ให้สักคนทำ  แต่ ตนเอง "ไม่เข้าใจ" นึกเอาเองว่า "เข้าใจ"   โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า  KM  เป็น  "กระบวนการเรียนรู้ร่วม" 

อย่าโยนให้ใครรับไป   บอกนายว่า  หัด  เดินเคียงข้าง เรียนรู้ไปด้วยกัน

ถอยยศ ถอดตำแหน่ง  ลงมาล้อมวง  เล่าสู่กันฟัง  ทำผิดทำถูก  ก็ทำไป

(ข)  นาย แบบนี้ วิธีคิด  ยังเป็นแบบ patern  แบบ Format     ชอบเล่นหมากสูตร  ฯลฯ

บังเอิญ เรื่องอื่นๆ คิดเป็น gantt chart  เป็น Phase  เป็น step ได้   แต่ LO &KM  ไม่หมู   ขนาดนั้น

Lo & KM  เป็น วัฒนธรรม   ต้องผ่าน "กระบวนการ" ต่างๆ  ผสมผสาน    อุปมา  ทำเกษตร   ต้องดู  สายพันธุ์ (คนของเรา)  ปุ๋ย (ทรัพยากรที่ นายจะให้  เช่น งบประมาณ  เวลา  น้ำใจ  เอื้อ อำนวย ฯลฯ)  ดิน (ประเภทธูรกิจ   ความรู้พื้นฐาน  บริบทต่างๆ  เป็นต้น) 

เอาคนคิดเชิงระบบ  มาทำ LO & KM  ก็พังตั้งแต่ เริ่มแล้วครับ

(ค) ค่อยๆ  กล่อม  หลอกล่อ  ใช้จิตวิทยา  คุยกับนายให้เข้าใจ  เอาบทความนี้  copy ไปให้ ท่านอ่านก็ได้

นายบางคน  เวลาไม่พอ  ปวดหัว  เรื่อง ขาย ซื้อ ขยาย ทะเลาะกับบอร์ด ฯลฯ จึง อยู่ หอคอยงาช้าง  ไม่ลงมาทำ  ก็เลย นึกๆ เอา ตามประสา "คนเก่ง"   คุณนึก  ก็เลยไม่เข้าใจ LO & KM สักที

(ง)  ถ้าจะเอา step กันจริงๆ  ดูพฤติกรรม  เช่น

  1. นาย เริ่ม อ่าน ปริยัติ กับ KM    อยากอ่าน อยากฟัง  อยากเจอผู้รู้
  2. นายเริ่มพบว่า  อ๋อ KM เนี่ย เป็น culture ไม่ใช่ system  ต้องใช้ มุข ใช้ปิยวาจา ฯลฯ
  3. นายเริ่มค้นพบว่า KM เนี่ย  ไร้ลักษณ์  ไร้รูปแบบ  เป็นแนว Zen  แนวจิตวิทยา  เป็น Chaos ฯลฯ
  4. นายค้นพบว่า  การเรียนรู้วิธีเรียนรู้  (Learn how to learn) สำคัญมากๆ ในจุดเริ่มต้น
  5. นายค้นพบว่า  ต้องเรียน ร่วมกันเป็นทีม  ต้องหาเวที   ต้องมีสนทนาระดับลึก  ต้องสร้างบรรยากาศ  กระตุ้น ยั่ว  ฯลฯ  จึงจะเป็น KM
  6. นายพบว่า LO &KM  เนี่ย คือ  การค้นพบตนเอง  เรียนรู้ใจตนเอง   หาศักญภาพในตนเอง  และ เริ่มขจัด ดัดนิสัยไม่ดีของตน  เช่น  เอาเปรียบคน  ขี้เกียจ  พูดน้อยเกินเหตุ  บ้าอำนาจ  เหยียบขี้ไก้ไม่ฝ่อ  อยู่หอคอย  มือไม่เปื้อนฝุ่น  ไม่ร่วมรบกับลูกน้อง  ดึแต่พูดไม่ชอบทำ  บ้าสอน  ให้ความสำคัญเรื่องคนน้อยไป  ฯลฯ
  7. นายเริ่ม อยากให้ ลูกน้อง  ค้นพบตนเอง  ( เย้  ... ไชโย.. พวกเราเหล่าลูกน้อง ฉลองได้  นาย เข้าใจ LO&KM แล้ว)  ทีนี้ ล่ะ  มาวางแผนLO KM ได้แล้ว

(จ) นาย จับเข่า คุย  กับ พวกเรา  หา วิธี  ติดตั้ง LO & KM  ในองค์กร  โดย  วางแผนเคร่าๆ  เช่น  

  • ถามตนเองว่า รู้อะไร  
  • ยังไม่รู้อะไร 
  • ไม่รู้ตัวว่าเรารู้ (Tacit knowledge)  
  • ไม่รู้ตังว่ามไร้ (หลง)
  • และ ต้องรุ้อะไร

หา หัวปลา (ทุกข์) ของพนักงาน (อย่าเอา องค์กร เป็นตัวตั้ง  เอาคนเป็นตัวตั้งก่อนเสมอ)

พูดคุยกัน  หาหนทางดับทุกข์นั้นๆ  ให้ พนักงานค้นพบเอง อย่าเฉลย  อย่าบังคับ อย่าเผด็จการ  ฯลฯ

ลงมือ ทดลองเดินตามวิธีพ้นทุกข์ นั้นๆ

อบรม basic เช่น  LO KM คืออะไร   /คิดเป็นระบบ เช่น six hats & six shoes / culture mannagement /change management /  book briefing /  WebLog /  Show & share / Team learning / Learning camp    ฯลฯ

อ่าน หนังสือ LO KM ที่ผมเขียนไว้ สองเล่มแล้ว

อ่าน ของ สคส  ก็ได้   นพ วิจารณ์   ดร ประพนธ์  ท่านเขียนดีกว่าผมเยอะเลยครับ

 

 

 

ขอบคุณค่ะ  ที่มาให้สติ

ขอยกตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของ สคส. และภาคีดังนี้ค่ะ

สคส.

ในส่วนของ สคส. พบว่า เราฟังกันมากขึ้น เคารพความคิดเห็นของเพื่อนมากขึ้น ไม่ติเรือทั้งโกลน เราออกแบบกระบวนการได้อย่างเชื่อมโยง เพราะเราทำงานแบบ ก่อน ระหว่าง หลัง คือ คนที่เข้ามาติดต่อมีทุนเดิมอะไรมาบ้าง กลุ่มมีวัฒนธรรมเดิมอย่างไร แล้วเขาอยากได้อะไร  กิจกรรมของ สคส. แต่ละครั้งจึงไม่เหมือนกันเลย

แต่ละคนพูดถึงจุดที่ต้องปรับปรุงของเราเอง ไม่ต้องรอให้ใครพูด การประชุมแต่ละครั้งจึงมีบรรยากาศแบบกัลยาณมิตร ไม่กลัวการประชุม แต่กลับกระหายที่จะนำเสนอและได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ

เราทำงานเป็นกลุ่มแบบทุกคนมีโอกาสเป็นทั้งหัวหน้าและทีมงาน ไม่มีใครเป็นหัวหน้าตลอด และมีอิสระอย่างเต็มที่ในการออกแบบกิจกรรม

ภาคี

มูลนิธิข้าวขวัญได้เรียนรู้ KM จากการทำงานร่วมกับ สคส. เป็นการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว  จนขณะนี้ได้รับเชิญเป็นวิทยากร KM หลายรายการทีเดียว 

ในส่วนสำนักงานจังหวัดชุมพร ทีมงานสะท้อนว่า เมื่อได้รู้จัก KM จริงๆ พบว่าทำให้ภาระงานน้อยลง มีความสุขขึ้น ถึงขั้นที่ท่านผู้ว่าฯ เสนอให้มีผู้ช่วย ก็ไม่เอา

คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย ทำ KM แบบลืนไหล และเป็นผู้บริหารท่านหนึ่งที่ empower ทีมงานได้ดีมาก เมื่อมีคนติดต่อให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นวิทยากร ก็จะดูว่าใครถนัดในเรื่องไหน ก็จะส่งทีมงานคนนั้นไป แล้วคุณธุวนันท์ ก็ถอยมามองภาพรวมของงาน   

ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆมากมายให้คิดมาก  

เท่าที่ฟังจากปากคำของคนที่ทำ KM จริงๆ เข้าใจ KM อย่างถ่องแท้แล้ว ทุกท่านจะเกิดความสุขขึ้นที่ใจเป็นอันดับแรก...ถ้าอธิบายยาวๆ กว่านี้ก็คือว่า ทำKM แล้ว คนมันรักกัน(อันนี้เป็นคำพูดของภาคีสคส.ไม่ใช่สคส.ไปถามนำ เขาพูดขึ้นมาเอง) ซึ่งความรักแบบนี้ เราคิดว่าเป็นความรักที่โลกเรากำลังขาดแคลนไม่ใช่รักแบบเด็กแนวน่ะค่ะ และนี่เองคงเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาวะในทุกๆ ด้านบนโลกใบนี้3

 ผมเอง ไม่มีข้อกังวลใจ อะไร กับ การทำงานของ สคส แต่    บางที   กรรมการอีก 5 ท่าน  ผมไม่แน่ใจ ท่านคิดไงน่ะ

ผม และ พวกเราก็ต้อง เมตตาท่าน  ค่อยๆ  อธิบายทำความเข้าใจ

คนไม่ได้ ทำ KM กับมือ   มันไม่ซึ้ง  

หลายคน  เขาก็มีข้อคิด  มีอคติ มีลำเอียง   มองอีกมุมมองหนึ่ง  เราก็ต้องไม่ถือโทษเขา

เป็นหน้าที่ ของเราที่จะ convince เขามากกว่า

เพียงแต่ ตอนนี้ ผมนึก อุบาย  ไม่ค่อยจะออก

เลิกประชุม  เสาร์เช้านั้น กลับมา  ก็คิด  เป็นห่วงอยู่น่ะ

ผมเอาใจช่วย และ รักที่คน ที่ทำ KM เสมอ

 

 

เรียนคุณคนไร้กรอบ

ดิฉันเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย KM เบาหวาน หวังว่าเข้ามาเขียนตอนนี้คงยังไม่สายเกินไปนะคะ

เครือข่ายของเราเริ่มต้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ ด้วยการแนะนำและความช่วยเหลือจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และทีมงาน สคส. เราได้เรียนรู้และใช้ KM เป็นเครื่องมือสร้างเครือข่ายและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจุบันมีทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ผ่าน KM workshop ของเรา ไปแล้วกว่า ๖๐ ทีม ทีมเหล่านี้สามารถพัฒนางานของตนเองทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลที่ดีขึ้น จนเห็นเป็นที่ประจักษ์ ยกตัวอย่างเช่นที่ รพร.ธาตุพนม ทีมเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.พุทธชินราช เสียดายที่หลายๆ ทีมไม่ได้เขียนบันทึกในบล็อกอย่างต่อเนื่อง แต่เราก็มีการติดต่อกันทาง e-mail ทางโทรศัพท์ และจดหมายข่าว

นอกจากนี้ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ยังได้นำวิธีการ KM ไปใช้กับผู้ป่วยด้วย เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านมาก

ถ้ามีโอกาสอยากคุยและขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ได้มีโอกาสเชิญอาจารย์ประพนธ์ไปสอนหนี่งครั้งและทางสคสส่งคนไปจับภาพ    ที่สถาบันบำราศนราดูรมีการพัฒนาblogและเกิดการพูดคุยกันมากขึ้นเกิดCQI เพิ่มขึ้น     ตำราที่อาจารย์ทั้งสองเขียนก็ดีมากๆ     ส่วนตัวดิฉันมองว่าหลักการของKMจะเกิดได้ต้องเริ่มจากความมีเมตตาก่อน     ถ้าประเมินความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของผู้บริหารและกิจกรรมที่เริ่มพัฒนาน่าจะOKนะคะ     เรื่องของสุขภาพปัจจัยเยอะมากค่ะ     กระทรวง สธ.ใช้เงินตั้งมากยังทำได้ระดับหนึ่ง

ดิฉันติดตามอ่านของอาจารย์เป็นระยะๆค่ะ    กำลังกำหนดรู้อยู่แต่ยังไม่รู้ว่าเรารู้แค่ใหนค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท