แบบจำลองการประเมินผลตามแนวคิดต่างๆ


การประเมินผลโครงการ

แนวความคิดและแบบจำลองของ  R.W.  Tyler

          R.W.  Tyler  เป็นนักประเมินรุ่นแรก ๆ ในปี  ค.ศ.  1930  และเป็นผู้ที่เริ่มต้นบุกเบิกแนวความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ  เขามีความเห็นว่า  “การประเมินคือการเปรียบเทียบพฤติกรรมเฉพาะอย่าง (performance)  กับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่วางไว้”  โดยมีความเชื่อว่า  จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน  รัดกุมและจำเพาะเจาะจงแล้ว  จะเป็นแนวทางช่วยในการประเมินได้เป็นอย่างดีในภายหลัง  ซึ่งต่อมาปี  1950  ได้มีรูปแบบ  มาใช้เป็นกระบวนการตัดสินการบรรลุวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ทำการประเมิน  (R.W.  Tyler.1950) เรียกว่า “Triple Ps Model”

            แนวความคิดและแบบจำลองของสเต็ค

            Robert  E.  Stake  คำนึงถึงความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกันของบุคคลหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการในการประเมินโครงการ ได้ตั้งชื่อแบบจำลองในการประเมินผลของเขาว่า  แบบจำลองการสนับสนุน  (Countenance  Model)  

            แนวความคิดและแบบจำลองของคอมราดและวิลสัน

          Comrad and Wilson. 1985 : 20-30 (อ้างอิงจาก ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2533 : 114-122)กล่าวว่าถ้าพิจารณาแนวการประเมินที่หน่วยงานต่างๆ ในการประเมินโครงการทั้งหลาย จะพบว่ามีรูปแบบการประเมินนิยมใช้กัน 5 รูปแบบ ดังนี้คือ

          5.1 รูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ (Goal –based Model)

          พื้นฐานการประเมินรูปแบบนี้ คือ ไทเลอร์ (Tyler) รูปแบบการประเมินตาม วัตถุประสงค์เป็นรูปแบบการประเมินที่เก่าแก่ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด ในการประเมินโครงการต่างๆ

          5.2  รูปแบบการประเมินแบบการตอบสนอง (Responsive Model)

          รูปแบบการประเมินโครงการนี้ พัฒนามาจากรูปแบบการประเมินของ สคริเวน (Scriven) ซึ่งประเมินยึดจุดมุ่งหมายและผลข้างเคียง (Side Effect) เป็นหลัก สเตค (Stake) ได้พัฒนารูปแบบการประเมินโครงการหลายคนได้รับการสนับสนุนตามแนวคิดนี้ เช่น กุบา (Guba) ลินคอล์น (Lincoln) การประเมินโครงการตามลักษณะนี้ เน้นที่กิจกรรมมากกว่าจุดมุ่งหมายของโครงการ

          5.3  รูปแบบการประเมินโดยผู้ชำนาญ (Conniosseurship Model)

          การประเมินโครงการตามรูปแบบนี้ มีความแตกต่างจากรูปการประเมินทั้งสอง รูปแบบที่กล่าวมาแล้ว ไอส์เนอร์ (Eisner) ได้เสนอแนวคิดของการประเมินตามรูปแบบนี้ซึ่งมีสถาบันการศึกษาต่างๆ นิยมนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

          5.4  รูปแบบการประเมินเพื่อการตัดสินใจ (Decision- Making Model)

          การประเมินโดยพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นจุดมุ่งหมายของโครงการ หรือปัญหาข้อโต้แย้งต่างๆ ในการประเมินโครงการต้นแบบของการประเมินตามรูปแบบ การประเมินเพื่อตัดสินใจ (Decision- Making Model) มีอยู่ 2 แบบ คือ รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และ CSE Model ของอัลคิน (Alkin) ทั้งสอง รูปแบบนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันมาก

          5.5 การประเมินตามกรอบตรรกของโครงการ( Log – frame)

          โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

          5.5.1  จุดมุ่งหมายของโครงการ (Objectives) ซึ่งประกอบด้วย

          (1) เป้าหมายสูงสุด (Goal) หรือเป้าประสงค์ หมายถึง จุดมุ่งหมายของแผนงานหรือผลกระทบของโครงการที่เราคาดหวังว่าจะเกิดขึ้น (Planned impact) ซึ่งจะส่งผลเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือประเทศในระดับที่สูงกว่าระดับวัตถุประสงค์ของโครงการ

          (2) วัตถุประสงค์ (Purpose) หรือ Immediate objective คือผลงานหรือผลลัพธ์ของแผนงาน หรือ โครงการที่เราหวังว่าจะเกิดขึ้นวัตถุประสงค์ จะแตกต่างจากเป้าประสงค์ตรงที่มีขอบเขตของระยะเวลาสั้นกว่า และมีขอบเขตความหมายแคบกว่า

          (3) ผลผลิต (Outputs) คือผลที่ได้รับ (Results) จากการที่ใช้ปัจจัย (Inputs)ในโครงการนั้นและเป็นผลที่ผู้ดำเนินงานโครงการประสงค์ ที่จะให้เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรและการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

          (4) กิจกรรม (Activities) คือกระบวนการ (Process) หรือการกระทำ(Actions)

ที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้บังเกิดผลผลิต(output) ในขั้นต้น

          (5) ปัจจัย (Inputs) คือทรัพยากรในโครงการเพื่อให้เกิดผลผลิต

          5.5.2 สิ่งที่บอกความก้าวหน้าตามเป้าหมาย (Objectively verifiable indicators)

หมายถึง สภาพการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าโครงการบรรลุเป้าหมาย ทั้งในระดับผลผลิต (output) วัตถุประสงค์ (purpose) และเป้าหมายระดับสูง (goal) ซึ่งอาจจะมีทั้งลักษณะที่แสดงในเชิงปริมาณ (quantitative) และคุณภาพ (qualitative)

          5.5.3 ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ เพื่อให้สามารถกำหนดความรับผิดชอบของผู้บริหารโครงการได้อย่างชัดเจน หากโครงการมีความล้มเหลวเนื่องจากปัจจัยภายนอก หรือสถานการณ์ที่นอกเหนือ การควบคุมของโครงการแล้ว ผู้บริหารไม่ต้องรับผิดชอบ

หมายเลขบันทึก: 460455เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท