การบัญชีอุตสาหกรรม


กระดาษทำการ 10 ช่อง

การบัญชีอุตสาหกรรม (ต่อ)

ในที่นี้ขอเริ่มกระบวนการบัญชีตั้งแต่ได้จัดทำงบทดลองแล้ว ขั้นตอนทางบัญชีต่อไปคือ
1. ทำรายการปรับปรุง
2. จัดทำกระดาษทำการ
3. จัดทำรายการปิดบัญชี
4. จัดทำงบการเงิน ได้แก่ งบต้นทุนผลิต งบกำไรขาดทุน งบดุล

1. ทำรายการปรับปรุง
เพื่อปรับปรุงแก้ไขยอดคงเหลือในบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นยอดที่ถูกต้องรายการปรับปรุงนี้จะบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป และผ่านไปบัญชีแยกประเภทตามหลักบัญชี รายการที่ต้องปรับปรุง ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
2. รายได้รับล่วงหน้า
3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
4. รายได้ค้างรับ
5. การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ
6. ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร
7. รายการตัดบัญชีสินทรัพย์ต่าง ๆ
8. รายการแก้ไขการบันทึกบัญชีผิดพลาด

2. จัดทำกระดาษทำการ 10 ช่อง
กระดาษทำการสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นกระดาษ
ทำการชนิด 10 ช่อง ประกอบด้วย
1. งบทดลอง
2. รายการปรับปรุง
3. งบต้นทุนผลิต
4. งบกำไรขาดทุน
5. งบดุล
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพเคลื่อนไหวที่ 14.1 สินค้าคงเหลือของกิจการอุตสาหกรรม


ดังแบบฟอร์มตัวอย่างต่อไปนี้




ขั้นตอนการจัดทำกระดาษทำการ 10 ช่อง

1. นำรายการต่าง ๆ ในงบทดลอง มาบันทึกในกระดาษ
ทำการ แสดงตัวเลขในช่องงบทดลองทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต แสดงยอดรวมทั้งด้านเดบิตและเครดิต
2. ทำรายการปรับปรุงที่บันทึกการปรับปรุงไว้ในสมุด
รายวันทั่วไป มาบันทึกในช่องรายการปรับปรุง เช่นเดียวกับกระดาษ
ทำการ 8 ช่อง
3. แสดงยอดบัญชีต่าง ๆ ในงบต้นทุนผลิต งบกำไรขาดทุน งบดุล โดยยึดหลักดังนี้
3.1 บัญชีในหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน แสดงยอดในงบดุลยกเว้น
- สินค้าสำเร็จรูป แสดงยอดด้านเดบิตงบกำไรขาดทุน
- สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ แสดงยอดด้านเดบิตงบต้นทุนผลิต
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพเคลื่อนไหวที่ 14.2 กระดาษทำการของกิจการอุตสาหกรรม
3.2 บัญชีที่เกี่ยวกับการขาย รายได้อื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแสดงยอดในงบกำไรขาดทุน
3.3 บัญชีที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าแสดงยอดในงบต้นทุนผลิต
3.4 สินค้าคงเหลือปลายงวดของธุรกิจ อุตสาหกรรม แสดงยอดดังนี้
- สินค้าสำเร็จรูป แสดงยอดด้านเครดิตงบกำไรขาดทุนและเดบิต งบดุล
- วัตถุดิบ แสดงยอดด้านเครดิตงบต้นทุนผลิตและเดบิต งบดุล
- สินค้าระหว่างผลิต แสดงยอดด้านเครดิตงบต้นทุนผลิตและเดบิต งบดุล
4. คำนวณหาผลต่างของยอดรวมด้านเดบิตงบต้นทุนผลิตและยอดรวมด้านเครดิตงบต้นทุนผลิต ผลต่างที่ ได้คือ ต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป ผลต่างนำแสดงไว้ด้านเครดิตงบต้นทุนผลิตและเดบิตงบกำไรขาดทุน
5. คำนวณหาผลต่างของยอดรวมด้านเดบิตและยอดรวมด้านเครดิต ของงบกำไรขาดทุน และผลต่างของยอดรวมด้านเดบิต และยอดรวมด้านเครดิตของ งบดุล ผลต่างนี้คือกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิถ้าเป็นกำไรสุทธิ จะแสดงผลกำไรนี้ไว้ส่วนเดบิตงบกำไรขาดทุนและเครดิตงบดุล ในทางตรงข้ามหากเป็นผลขาดทุนจะแสดงไว้ด้านเครดิตงบกำไรขาดทุนและ
เดบิตงบดุล

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการจัดทำบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำกระดาษทำการ 10 ช่อง ปรากฏงบทดลองในกระดาษทำการดังนี้

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.1 ตัวอย่างการจัดทำบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรม

จากงบทดลองข้างต้น รายการปรับปรุงมีดังนี้

1. สินค้าคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2546 ประกอบด้วย
  1.1 สินค้าสำเร็จรูป 90,000 บาท
  1.2 สินค้าระหว่างผลิต 80,000 บาท
  1.3 วัตถุดิบ 50,000 บาท
  1.4 วัสดุโรงงาน 2,500 บาท
2. ประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจุสูญเป็น 5% ของลูกหนี้
3. วัสดุสำนักงานคงเหลือ 5,000 บาท
4. ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้าเป็นค่าใช้จ่ายมีปัจจุบัน 5,000 บาท โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
    โรงงาน 3,500 บาท
    สำนักงาน 1,500 บาท
5. ค่าเสื่อราคา เครื่องจักรและโรงงานในอัตรา 10%
6. สิทธิบัตรที่ปรากฏในงบทดลองมีอายุ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 2546 เป็นต้นไป
7. ค่าไฟฟ้า แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต 80% ค่าใช้จ่ายทั่วไป 20%

 

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.2 ตัวอย่างการจัดทำบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรม
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.3 ตัวอย่างการจัดทำบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรม


3. จัดทำรายการปิดบัญชี

การปิดบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรมมีขั้นตอนดังนี้

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.4 ขั้นตอนการปิดบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรม

4. จัดทำงบการเงิน

ประกอบด้วย
1. งบต้นทุนผลิต แสดงต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูปในแต่ละงวดบัญชีประกอบด้วย
1. วัตถุดิบใช้ในการผลิต
2. ค่าแรงงานโดยตรง
3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต
4. สินค้าระหว่างผลิต (ต้นงวดและปลายงวด)

2. งบกำไรขาดทุน มีวิธีการจัดทำเช่นเดียวกับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้า กล่าวคือ
1. ขายสุทธิ = ขาย – รับคืน - ส่วนลดจ่าย
2. ต้นทุนขาย = สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด + ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูป - สินค้า สำเร็จรูปปลายงวด
3. กำไรขั้นต้น = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย
4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน = ค่าใช้จ่ายในการขาย + ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
5. กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
6. กำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้ = กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน + รายได้อื่น ๆ - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
7. กำไรสุทธิ = กำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้ - ภาษีเงินได้

เพียงแต่สินค้าคงเหลือจะประกอบด้วยสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ วัสดุโรงงาน

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.5 งบต้นทุนผลิต
คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.6 งบกำไรขาดทุน

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 14.7 งบดุล
3. งบดุล แสดงฐานะการเงินของกิจการ มีวิธีการจัดทำเช่นเดียวกับธุรกิจจำหน่ายสินค้า
หมายเลขบันทึก: 460236เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เก่งจัง ..... ข้อมูลดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขอบคุณคร๊ ^^

สำหรับความรู้ดีๆ

ดีมากเลย ความรู้จัดเต็ม ^^

เปิดไพล์ภาพไม่ได้ค่ะมันไม่โชว์ภาพให้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท