อยากไปเรียนรู้ (อบรม สัมมนา) แต่ต้องมีหนังสือเชิญ (มุขนี้คุ้นไหมเอ่ย?)


ผมเคยจัดหลักสูตรฝึกอบรม สัมมนา และ workshop หลายครั้ง หลายครา

แต่มักมีผู้ที่สนใจอยากเข้าร่วม  แต่ต้องมีหนังสือเชิญ จากผู้จัดไปเสนอผู้บริหารก่อน

ผมจึงสงสัย?????

เอ๊!   ถ้าไม่มีหนังสือเชิญ  เขาก็จะพลาดโอกาสเลยใช่ไหม?

แค่กำหนดการ  รายละเอียดงาน  ก็น่าจะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติได้แล้ว หรือผิดกติกา?

บางครั้ง  ต้องส่งขออนุมัติถึงขั้น อธิบดี  อธิการบดี  ผู้บริหารระดับสูงมากๆ   ผมสงสัยอีกว่า  เรื่องประเภทนี้ต้องเป็นภาระของผู้บริหารระดับสูงด้วยเหรอ?   เพราะแค่หนังสือเอกสารเรื่องอื่นก็บานเบอะแล้ว

มุขนี้  เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร  หรือ  กัดเซาะพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร   อันไหนมากกว่ากันนะ?

 พฤติกรรมนี้  มันอยู่ใกล้ หรือห่างไกล กับ จุดที่เรียกว่า empowerment?

หรือว่า  เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ  ทำต่อๆกันมา  เลยต้องทำต่อๆกันไป

หมายเลขบันทึก: 460157เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้าใจว่าเป็นกฏเกณฑ์ ของทางราชการครับ โดยเฉพาะการเข้ามาร่วมอบรม สัมมนาโดยใช้งานราชการ เเต่หากมีฉันทะมาเอง โดยใช้วันลา หรือ ป่วย ก็เป็นอีกเรื่อง

วิธีที่ง่ายเเละดูปลอดภัยที่สุด คงเป็นการขอหนังสือเชิญ

กรณีแบบนี้ เกิดขึ้นกับทีมงานผมเองด้วย เมื่อจะขอทีมงานสักคนที่เป็นราชการมาทำงานร่วมทีม ก็ต้องขอหนังสือจากหน่วยงานที่ผมไปทำ workshop ให้ ส่งไปที่ต้นสังกัดท่านวิทยากรอีกที ซึ่งก็ดูยุ่งยาก  เเต่ในปัจจุบันก็ทำแบบนี้อยู่ครับ

 

เรื่องแบบนี้เครือข่ายเบาหวานก็เจอบ่อย หนังสือเชิญที่ว่านั้นไม่ใช่หนังสือเชิญชวนทั่วไป แต่จะขอเป็นหนังสือเชิญที่ระบุชื่อตัวคนที่ต้องการจะมาเข้าอบรมหรือประชุม

เครือข่ายฯ ของเราไม่ทำให้ค่ะ เพราะเรื่องจะให้ใครมานั้นเป็นหน้าที่ที่หน่วยงานต้องพิจารณาเอง เราไม่มีหน้าที่เชิญใครอย่างเจาะจง

ศิริวัฒน์ เก็งธรรม

เอ๊! ถ้าไม่มีหนังสือเชิญ เขาก็จะพลาดโอกาสเลยใช่ไหม?

วิธีทำงานของคนในแต่ละองค์กรมีหลายแบบครับ คนและวัฒนธรรม ย่อมอยู่ใต้กฎระเบียบขององค์กรนั้น ธรรมดาครับ เขาจะพลาดโอกาสเพราะเขาต้องการพลาดเองครับ

แค่กำหนดการ รายละเอียดงาน ก็น่าจะใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติได้แล้ว หรือผิดกติกา?

ใช้ได้ครับในบางองค์กร และใช้ไม่ได้ในบางองค์กร แต่ผมมีความเห็นว่ามันมีช่องทางในทุกองค์กรให้เดินครับ เพียงแต่เขาอยากเดินหรือไม่ หรือต้องการให้ท่านได้แสดงบางอย่าง มันเป็นเพียงแต่ว่า คนนั้นเขาจะสนองต่อสิ่งที่เข้ามาอย่างไร ด้วย กฎ กติกา มรรยาท ของสังคม องค์กรเขาครับ อยากจะบอกว่าทุกอย่างทุกองค์กรทำได้แต่ จะทำหรือไม่เท่านั้นครับ

บางครั้ง ต้องส่งขออนุมัติถึงขั้น อธิบดี อธิการบดี ผู้บริหารระดับสูงมากๆ ผมสงสัยอีกว่า เรื่องประเภทนี้ต้องเป็นภาระของผู้บริหารระดับสูงด้วยเหรอ? เพราะแค่หนังสือเอกสารเรื่องอื่นก็บานเบอะแล้ว

บางครั้งเราต้องเข้าใจนะครับ เงินที่องค์กรลงไป ต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูงของเขา บางครั้่งเราต้องเห็นว่า เขาต้องการผลงาน การจากงานไปเพิ่มความรู้ต้องให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบ มีเหตุผลอีกมากมายที่ข้างล่างต้องส่งไปข้างบนครับ

มุขนี้ เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร หรือ กัดเซาะพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร อันไหนมากกว่ากันนะ?

ในการเรียนรู้ของบุคลากรนั้น การหาช่องทางไปรับการอบรมก็เป็นการเรียนรู้นะครับ เพียงแต่ว่าบริบทของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกันนะครับ การพยายามจะไปหรือพยายามจะไม่ไปก็เรียนรู้ได้นะครับ คำว่ามากกว่ากันเป็นการเปรียบเทียบนะครับ เราไม่ควรเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่รุ้ว่าเปรียบเทียบกันได้หรือไม่นะครับ

พฤติกรรมนี้ มันอยู่ใกล้ หรือห่างไกล กับ จุดที่เรียกว่า empowerment? หรือว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ทำต่อๆกันมา เลยต้องทำต่อๆกันไป

empowerment มีสองประการนะครับ มีผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้ให้แล้วผู้รับไม่รับ ก็ แหะๆๆ ไม่มีผลนะครับ ส่วนธรรมเนียมปฏิบัติต้องบอกว่าเป็นไปตามบริบทองค์กรครับ เราคงไม่สามารถตัดสินได้ว่า ทำกันต่อมา หรือ ทำไปตั้งคำถามไป อย่างไหนดีกว่ากัน เราคงต้องดูว่าสิ่งที่ทำนั้นยังรับใช้ได้ประโยชน์อยู่หรือปล่าว ก่อนปรับเปลี่ยนโดยทำตามคนอื่นน่าจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบนะครับ

ด้วยจิตน้อมน้อม ขอสันติสุขจงมีแก่คุณธวัช นะครับ

ตุ๊ตตู่ ร่วงโรย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท