การประเมินการจัดการศึกษา"แบบเรียนร่วม"


การประเมินการจัดการศึกษา"แบบเรียนร่วม"

 

โรงเรียนขนาดเล็กตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า คนลงมา ซึ่งในปี มีจำนวนทั้งหมด , แห่ง คิดเป็นร้อยละ . ของจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศทั้งหมด , แห่ง และพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ซึ่งมีสาเหตุในเรื่องข้อจำกัดหลายด้านทั้งด้านงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ทรัพยากรทางการบริหาร และภาวะขาดแคลนครู ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นักเรียนเสียโอกาสในการพัฒนาความสามารถให้เต็มตามศักยภาพได้

เมื่อวันที่ - สิงหาคม ที่ผ่านมา คณะผู้บริหาร สมศ. มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมและดูงานโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอปากชม จังหวัดเลย ซึ่งเป็นตัวอย่างโรงเรียนที่ได้ใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. -) มาพัฒนาสถานศึกษาจนเป็นผลสำเร็จ โดยพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ใช้ทรัพยากรทางการบริหารร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่างโรงเรียน ภายใต้ชื่อโรงเรียนเครือข่าย "แก่งจันทร์" ประกอบด้วยโรงเรียน แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาโม้ โรงเรียนบ้านปากมั่งห้วยทับช้าง โรงเรียนบ้านคกเว้า โรงเรียนบ้านหาดคัมภีร์ และการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน จนกลายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความเข้มแข็งได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนครู และครูสอนไม่ครบชั้นได้

จากนโยบายแนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ. ที่ได้ดำเนินการออกมาด้วยกันหลากหลายวิธี คือ การสอนแบบคละชั้น สอนแบบบูรณาการ ยุบรวมทั้งโรงเรียน จัดครูเวียนสอนระหว่างโรงเรียนในกลุ่มสาระที่ขาดแคลน และรวมกันเป็นศูนย์เครือข่ายประมาณ - โรงเรียน เพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายแก่งจันทร์ได้มองเห็นว่า แนวทางรวม
กันเป็นศูนย์เครือข่ายมีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เนื่องจากระยะทางของโรงเรียนทั้ง แห่งที่ห่างกันประมาณ - กิโลเมตร และมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จมากกว่า โดยแนวคิดสำคัญของการบริหารงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน มีจุดเริ่มต้นมาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ที่ผลด้านผู้เรียนในมาตรฐานที่ , และ ไม่ผ่านการประเมิน ดังนั้นหากจัดการศึกษาแบบเดิม จะไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กได้เต็มตามศักยภาพได้ เมื่อปรับการบริหารจัดการแบบศูนย์เครือข่ายแล้ว ผลที่ปรากฏในเบื้องต้นคือ ครูครบชั้น ครูสอนตามความถนัด ครูมีเวลาเตรียมการสอน ทำให้การสอนมีคุณภาพยิ่งขึ้น พัฒนาอย่างเป็นพลวัต นักเรียนได้เรียนเต็มเวลา และได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ นักเรียนมีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีความรัก ความสามัคคีกันทั้ง หมู่บ้านและจะส่งผลในระยะยาว สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและท้องถิ่นมีความยั่งยืน

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.) สำหรับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนรวมกันนั้นจะต้องเสนอแผนและได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก่อน ซึ่งสมศ. จะประเมินตามรายชื่อสถานศึกษาที่ สพฐ. ส่งข้อมูลมาให้ รายละเอียดการประเมินมีดังนี้

. สถานศึกษานำผู้เรียนมาเรียนรวมกัน สถานศึกษาทั้งหมด จะได้รับการประเมินรวมกัน ในปีเดียวกันตามปีที่โรงเรียนหลักได้รับการประเมิน ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งจะได้รับผลการประเมินภายนอกเหมือนกัน

. สถานศึกษาขนาดเล็กนำนักเรียนในบางชั้นเรียน/บางวิชา มาเรียนร่วมกับสถานศึกษาอีกแห่งหนึ่ง ดำเนินการประเมินสถานศึกษาทั้ง แห่ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน โดยผลที่ได้จากการประเมินภายนอกให้ไปปรากฏในรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทั้ง แห่ง โดยต้องมีการเขียนหมายเหตุกำกับการเรียนร่วมไว้ให้ทราบด้วย

. หากสถานศึกษาใดสถานศึกษาหนึ่ง ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามไปแล้ว สถานศึกษาที่เหลือ ที่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ประเมินตามสภาพจริงของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของต้นสังกัด หากสถานศึกษาเมื่อรวมกันแล้วนักเรียนไม่ถึง คน ไม่ต้องได้รับการประเมิน

. สถานศึกษาที่นำนักเรียนมาเรียนรวมยังไม่ครบ ปีการศึกษา ให้ทำการประเมินภายนอกเป็นรายแห่งกรณีการประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียนสาขาเป็นดังนี้. โรงเรียนแม่และโรงเรียนสาขา ที่มีผู้บริหารสถานศึกษาคนเดียวกัน จะได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรวมกัน ซึ่งโรงเรียนแม่และโรงเรียนสาขาจะได้รับผลการประเมินภายนอกเหมือนกัน

. โรงเรียนแม่และโรงเรียนสาขา ที่มีผู้บริหารสถานศึกษาคนเดียวกัน แต่โรงเรียนแม่ได้รับการประเมินแล้ว สมศ. จะจัดประเมินโรงเรียนสาขาและได้รับผลการประเมินแยกจากโรงเรียนแม่
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

หมายเลขบันทึก: 459894เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท