นักวิชาการ นักนิติปรัชญาไทย


นักวิชาการ นักนิติปรัชญาไทย(ร่วมสมัย), ตั้งแต่ พ.ศ.2449 (ค.ศ.1906) - ปัจจุบัน

นักวิชาการ นักนิติปรัชญาไทย 

1. พุทธทาสภิกขุ, พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ หรือ พุทธทาส อินทปัญโญ) พ.ศ.2449-2536/1906-1993

2. ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี เกษมทรัพย์ (อังกฤษ: Prof.Dr.Preedee Kasemsup) 2470 -

3. ศาสตราจารย์ นพ. ดร. ประเวศ  วะสี 2475 -

4. นายอานันท์  ปัญญารชุน 2475 -

5. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์  หรือ ส. ศิวรักษ์ 2475 –

6. ดร. คณิต  ณ  นคร 2480 –

7. ประยุทธ์ ปยุตฺโต, พระพรหมคุณาภรณ์ 2481

8. ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, Prof. Dr. Likhit Dhiravegin. 2484 -

9. นายชาญชัย  ลิขิตจิตถะ 2489 -

10. ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ  ภักดีธนากุล 2493 -

11. รองศาสตราจารย์ ใจ  อึ๊งภากรณ์ (Giles Ji Ungpakorn) 2496 –

 

1. พุทธทาสภิกขุ, พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ หรือ พุทธทาส อินทปัญโญ)พ.ศ.2449-2536/1906-1993

http://th.wikipedia.org/wiki/

th.wikipedia.org/wiki/ 

พรรษา 72 อายุ 86 วัด ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) จังหวัด สุราษฎร์ธานี สังกัด มหานิกาย

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เกิดในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร

การศึกษา 

เปรียญธรรม 3 ประโยค, น.ธ.เอก

ท่านพุทธทาสภิกขุพบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น “พุทธทาส” เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน

 

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง “สวนโมกขพลาราม” เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกมากมายจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ทั้งเรื่องพุทธพาณิชย์ เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลัทธิพราหมณ์ เรื่องความยึดมั่นถือมั่นในบุญบาป เรื่องความหลงใหลในยศลาภของพระสงฆ์ และเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ท่านพุทธทาสภิกขุมุ่งชี้ให้ชาวพุทธทั้งหลายเห็นถึงมิจฉาทิฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เสมอมา ทำให้หลายคนขนานนามท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็น พระผู้ปฏิรูป แต่แท้จริงแล้ว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเลย เพียงแต่ระยะเวลาอันยาวนานได้ทำให้ความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปรหรือถูกเบี่ยงเบนไป ท่านพุทธทาสภิกขุจึงทำหน้าที่เสมือนผู้กลั่นให้พระพุทธศาสนากลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง

ท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน

 

ผลงาน และหลักธรรมคำสอน 

ปณิธานในชีวิต 

            โดยท่านมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมด และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือต้องการให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงได้ตั้งปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ

            1. ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน

             2. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา

             3. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

            ซึ่งก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน หาว่าท่านจาบจ้วงพระพุทธศาสนาหรือรับจ้างคนคริสต์มาทำลายล้างพระพุทธศาสนา แต่ผลจากการอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุได้ 87 ปี และเป็นพระทั้งหมด 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่แทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปณิธานของท่านต่อไป

ตลอดชีวิตของท่านพุทธทาสได้ย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" ที่ทั้งทางฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ และท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ของพระพุทธเจ้า จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าผลงานที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อเป็นมรดกทางธรรมนั้นจะมีมากมายสักปานใด ซึ่งมีผลงานหลักๆ ดังนี้

            1. การจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรมสวนโมกขพลาราม และสวนโมกข์นานาชาติ

            2. การร่วมกับคณะธรรมทานในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา" ราย 3 เดือน ซึ่งนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลารวมถึง 61 ปี และนับเป็นหนังสือพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย

            3. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมจากปาฐกถาธรรมที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และงานหนังสือเล่มอื่นๆ ของท่าน แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ

            หมวด "จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีโดยตรง

            หมวด "ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติ

            หมวด "ธรรมเทศนา" เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ

            หมวด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความข้อธรรมะเพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง

            หมวด "ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ

            4. การปาฐกถาธรรมของท่านก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่วิธีการ และการตีความพระพุทธศาสนา ซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจธรรมะมากขึ้น ครั้งที่สำคัญๆ ได้แก่ การปาฐกถาธรรมเรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม", "อภิธรรมคืออะไร", "ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร", "จิตว่างหรือสุญญตา", "นิพพาน", "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" และ "การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น

            5. งานประพันธ์ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์", "ชุมนุมเรื่องสั้น", "ชุมนุมเรื่องยาว", "ชุมนุมข้อคิดอิสระ", "บทประพันธ์ของสิริวยาส" (เป็นนามปากกาที่ท่านใช้ในการเขียนกวีนิพนธ์)

            6. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่านเล่มสำคัญคือ "สูตรของเว่ยหล่าง" และ "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่มเป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนานิกายเซ็น

 

2. ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี เกษมทรัพย์ (อังกฤษ: Prof.Dr.Preedee Kasemsup) 2470 -

http://th.wikipedia.org/wiki/

http://www.china2learn.com/preedee.shtml

เกิดปี พ.ศ. 2470 ในครอบครัวคนจีนแต้จิ๋ว ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรนายกิมเฮง และนางบัวทอง เกษมทรัพย์

ผลงาน  

- สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (สภาสนามม้า) พ.ศ. 2516

- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516-2518

- กรรมการในคณะกรรมการปกครองของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

อิทธิพล  

- ผู้คิดค้นทฤษฎีกฎหมายสามชั้น และปรมารจารย์นิติปรัชญา

วุฒิสูงสุด  

- ปริญญาเอก

เกียรติประวัติ  

- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา  

- โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

- โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก

- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- นิติศาสตรมหาบัณฑิต, Tulane University

- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแห่งกรุงบอนน์

- เนติบัณฑิตไทย

- ประกาศนียบัตรครูสอนภาษาจีน กระทรวงศึกษาธิการ

การทำงาน 

นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแพ่ง และนิติปรัชญา อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอธิการวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก รองประธานสหพันธ์คีตาอาศรมแห่งโลก และประธานคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย

 

3. ศาสตราจารย์ นพ. ดร. ประเวศ  วะสี 2475 -

http://th.wikipedia.org/wiki/

http://www.thaigoodview.com/node/66350

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส นักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (79 ปี) ณ ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี

การศึกษา 

ศึกษาชั้นมูลที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร

2503 Ph.D. มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

2504 มนุษยพันธุศาสตร์ (Human Genetics) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การทำงาน 

นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย

 

4. นายอานันท์  ปัญญารชุน 2475 -

http://th.wikipedia.org/wiki/

เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และ พฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2540 อีกด้วย

การศึกษา 

ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2498

การทำงาน 

หลังจบการศึกษา นายอานันท์เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2519 นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะถูกสั่งพักราชการในปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ว่ามีแนวคิดฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จากนั้นถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2522

นายอานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์เช่นกัน ทั้งเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ผลจากการเลือกให้นายอานันท์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในตอนนั้นช่วยให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนแรกที่เกิดภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภารกิจหลักของรัฐบาลนายอานันท์ในสมัยแรก คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ได้นำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีภาพพจน์ที่ดี มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

การบริหารประเทศของนายอานันท์ ได้ประกาศเน้นเรื่อง "ความโปร่งใส" นอกจากนั้นยังดำเนินนโยบายเป็นเอกเทศ ไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งของคณะรสช. ทำให้รัฐบาลได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชน และได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ จนได้รับฉายาว่า "รัฐบาลโปร่งใส" และตัวนายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามารับหน้าที่ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ

 

5. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์  หรือ ส. ศิวรักษ์ 2475 –

http://th.wikipedia.org/wiki/

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2475 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนเดียวของ นายเฉลิม - นางสุพรรณ. สมรสกับ นางนิลฉวี มีบุตร 3 คน เป็นชาย 1 คน และ หญิง 2 คน

การศึกษา 

            พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็น โรงเรียนคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดทองนพคุณ อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาของวัดในพุทธศาสนา แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา

            พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ และวรรณคดี จากวิทยาลัยเซนต์เดวิด เมืองแลมปีเตอร์ ในแคว้นเวลส์

            พ.ศ. 2503 เนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักเดอะมิดเดิ้ล เทมเปิล

การทำงาน 

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า ส. ศิวรักษ์ เป็นนักคิด นักเขียนชั้นแนวหน้าของประเทศไทยได้รับฉายานามว่า ปัญญาชนสยาม มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการวิจารณ์อย่างไม่เกรงใจใคร ไม่เกรงอำนาจผู้ใด ได้รับ รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล ในปี พ.ศ. 2538 มีผลงานการเขียนมากมายครอบคลุมหลายด้าน เช่น พุทธศาสนา สังคม การเมือง รูปแบบการปกครอง เป็นต้น โดยมีหนังสืออัตชีวประวัติของตนเองชื่อว่า "ช่วงแห่งชีวิต"

 

6. ดร. คณิต  ณ  นคร 2480 –

http://th.wikipedia.org/wiki/

เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายนัด ณ นคร กับนางเปรียบ ณ นคร มีพี่น้องจำนวน 8 คน สมรสกับนางโสธร ณ นคร มีบุตรธิดารวม 4 คน

การศึกษา 

ในวัยเด็กคณิต ณ นคร เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดม่วง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช จากนั้นจึงเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2504 และเข้ารับการอบรมจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับทุนรัฐบาลให้ไปศึกษาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงบอนน์ จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Jurisprudence: DJur or J.D.) ที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนั้นแล้วยังได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย

ประสบการณ์ 

ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุทหาร-ตำรวจขอคืนพื้นที่จากกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค. อดีตอัยการสูงสุด อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และอดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยคนแรก (ชุดจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง)

การทำงาน

คณิต ณ นคร เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งต่างๆ อาทิ อัยการจังหวัดผู้ช่วย อับการประจำกรม อัยการพิเศษประจำกรม เป็นอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงาน ในปี พ.ศ. 2531 เป็นรองอธิบดีกรมอัยการฝ่ายคดี ในปี พ.ศ. 2533 เป็นรองอัยการสูงสุดในปี พ.ศ. 2535 และเป็นอัยการสูงสุด ในปี พ.ศ. 2537 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2540

คณิต ณ นคร ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 สาขากฎหมายมหาชน และในปี พ.ศ. 2540 จึงได้เข้าร่วมกับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น แต่ก็ได้ลาออกในภายหลัง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ได้มีการแต่งตั้งคณิต ณ นคร เป็นประธานสอบสวนคดีฆ่าตัดตอนในช่วงประกาศสมครามยาเสพติด ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันคณิต ณ นคร เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และกรรมการสภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต่อมาภายหลังการสลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งให้คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการอิสระสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุทหาร-ตำรวจขอคืนพื้นที่จากลุ่มนปช. เมื่อวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.ทำให้บทบาทของคณิต ณ นคร ถูกจับตามองจากสังคมไทยอีกครั้ง

 

7. ประยุทธ์ ปยุตฺโต, พระพรหมคุณาภรณ์ 2481

http://th.wikipedia.org/wiki/

www.dhammathai.org/monk/sangha10.php

(นามเดิม: ประยุทธ์ อารยางกูร) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ.ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อ ปีพ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร และได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จักเช่นหนังสือ พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) นอกจากนี้ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

การศึกษา

สำเร็จเปรียญ 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรและเป็น นาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระแก้ว ในพระบรมราชานุเคราะห์ เมื่อพ.ศ. 2504

นักธรรมเอก, เปรียญธรรม 9 ประโยค, ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร

ผลงานทางวิชาการพุทธศาสนา

พุทธธรรม

พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์

พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม

สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์

จารึกอโศก

ธรรมนูญชีวิต

มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย

พระพุทธศาสนากับสังคมไทย

ปัจจุบัน

ที่ปรึกษาทางวิชาการ ประจำ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์

เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน พุทธมณฑลสาย 4 จ.นครปฐม

 

8. ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, Prof. Dr. Likhit Dhiravegin. 2484 -

http://www.dhiravegin.com/#

http://www.dhiravegin.com/profile.php

http://www.thaiswatch.com/politician/info/pid/POL0000000734/info/history

ราชบัณฑิตสำนัก: ธรรมศาสตร์และการเมือง
ประเภทวิชา: สังคมศาสตร์
สาขาวิชา: รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์


เกิด 11 พ.ค. 2484 กรุงเทพฯ เป็นลูกหลานคนไหหลำ

ข้อมูลการศึกษา

- ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี), ม.ธรรมศาสตร์

- Master of Arts (International Relations), The Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, U.S.A. 1968

- Master of Arts in Law and Diplomacy (same institution as above), 1969

- Master of Arts, (Political Science), Brown University, U.S.A., 1970

- Doctor of Philosophy (Political Science), Brown University, U.S.A. 1972

- ปริญญาบัตร, วิทยาลัยป้องการราชอาณาจักร, หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน-ปรอ. รุ่นที่2 (2532)

 

ข้อมูลงานการเมือง

ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย (30 มิถุนายน 2549 – 30 พฤษภาคม 2550)

24 เม.ย. 2548 - 30 พ.ค. 2550 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

6 ก.พ. 2548 - 6 ก.พ. 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ

6 ม.ค. 2544 - 6 ม.ค. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ

 

ตำแหน่งและรางวัลทางวิชาการ

- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2531

-  ศาสตราจารย์ระดับ 11 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536

- ได้รับการยกย่องเป็นกีรตยาจารย์ (อาจารย์ผู้มีเกียรติ) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2540

-  ศิษย์เก่าดีเด่นในรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (27 มิถุนายน พ.ศ. 2547)

- รางวัล “ปากกาขนนกทองคำ” สำหรับหนังสือที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 15 สาขาวิชา สาขาวิชารัฐศาสตร์ เรื่อง วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สิงหาคม พ.ศ. 2547

 

9. นายชาญชัย  ลิขิตจิตถะ 2489 -

http://th.wikipedia.org/wiki/

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ (25 เมษายน พ.ศ. 2489 - ) องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตผู้พิพากษาอาวุโส

การศึกษา

จบการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรม จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512 จบเนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2514

การทำงาน

เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย หัวหน้าศาลแขวงนครสวรรค์ หัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี หัวหน้าศาลประจำกระทรวง หัวหน้าศาลจังหวัดกระบี่ หัวหน้าศาลจังหวัดเพชรบุรี

ผู้พิพากษาศาลแพ่ง หัวหน้าคณะในศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองอธิบดีศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาศาลฎีกา หัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 รองประธานศาลฎีกา เป็นประธานศาลฎีกาในปี 2548 ต่อจากนายศุภชัย ภู่งาม เกษียณอายุราชการในปี 2549 และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์

หมายเลขบันทึก: 459741เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณที่รวบรวมมาให้อ่าน อ่านเร็วๆ ไปแล้ว ดิฉันจะเข้ามาอ่านละเอียดอีกครั้งค่ะ

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

 

พร้อมทั้งรับสั่ง เปิดสภาไม่ครบ 500-ขอนายกฯ พระราชทานทำให้ประชาธิปไตยมั่ว การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปพิจารณาเลือกตั้ง 2 เมษา โมฆะหรือไม่ ทรงย้ำกษัตริย์ไม่เคยทำตามใจชอบ

 

ต่อมาได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับคณะตุลาการทั้ง 3 ฝ่ายประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาการเมือง เมื่อวันที่ 28 เมษายน

 

นายชาญชัย เป็นผู้มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการเมือง อันเนื่องจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 2 ที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภเป็นประธานก่อนที่จะเกิดการรัฐประหาร หลังจากที่เกษียณอายุราชแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาอาวุโสศาลแพ่งธนบุรี แต่ทำงานได้เพียง 2 วันจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง

 

ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เคยถูกทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดทาง คปค. ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ต่อมาจึงถูกเลือกให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้รับพระบรมราชการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาในปี พ.ศ. 2549

 

ภายหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ชาญชัยยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน และยังเป็น 1 ใน 3 องคมนตรีที่ถูกตั้งเป้าลอบสังหาร แต่เจ้าตัวออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน

 

นายชาญชัย เป็นผู้มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการเมือง อันเนื่องจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 2 ที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภเป็นประธานก่อนที่จะเกิดการรัฐประหาร หลังจากที่เกษียณอายุราชแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาอาวุโสศาลแพ่งธนบุรี แต่ทำงานได้เพียง 2 วันจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง

 

เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

 

ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเคยทาบทามให้ชายชัย ลิขิตจิตถะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ชาญชัยจึงถูกเลือกให้มาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

 

ในการโฟนอินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2552 ได้กล่าวหาชาญชัยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวางแผนการรัฐประหาร 19 กันยายนที่บ้านของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ต่อมา ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวระหว่างการปราศรัยกับกลุ่มคนเสื้อแดง ผ่านระบบวิดีโอลิงก์ว่า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้เล่าให้ตนฟังว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี, นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี), นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ), นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ อ้างว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ วางแผนที่จะใช้ ปฏิญญาฟินแลนด์ และนายปีย์ ร่วมปรึกษาหารือกัน ที่บ้านพักของนายปีย์ ถนนสุขุมวิท ในอันที่จะวางแผนจัดตั้งขบวนการขับไล่ตน โดยเฉพาะการลอบสังหารตน และวางแผนสำรอง หากดำเนินการไม่สำเร็จ ซึ่งก็คือการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ทั้งพลเอก สุรยุทธ์ และนายปีย์ ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

 

10. ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล 2493 -

http://th.wikipedia.org/wiki/

 

เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด ปัจจุบัน เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

การศึกษา

 

นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเนติบัณฑิตไทยโดยสอบไล่ได้ลำดับที่ 1 ได้ปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม สาขาวิชากฎหมาย (B.A. in Law Cantab) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษและเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากสำนักเกรส์อิน (Gray's Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 

การทำงาน

 

นายจรัญเริ่มรับราชการเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ (ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2535) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2540) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และเลขาธิการประธานศาลฎีกา (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545) ตามลำดับ โดยระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา นายจรัญมีบทบาทในการแถลงข่าวแทนฝ่ายตุลาการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเมือง ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนเมษายน 2549 และการมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับให้เข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าว

 

ต่อมา นายจรัญได้รับเลือกเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ โดยวาระการดำรงตำแหน่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 แต่ก่อนจะเริ่มดำรงตำแหน่ง ก็ได้ขอโอนย้ายจากราชการตุลาการไปยังราชการพลเรือน โดยไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีนั้น นอกจากนี้ ในช่วงปีดังกล่าวซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ นายจรัญยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งยังอยู่ในฝ่ายสนับสนุนรับร่างด้วย

 

ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 นายจรัญได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์อย่างแท้จริงตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ปีนั้นเอง

 

11. รองศาสตราจารย์ ใจ อึ๊งภากรณ์ (Giles Ji Ungpakorn) 2496 – http://th.wikipedia.org/wiki/

 

รองศาสตราจารย์ ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์ เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับนางมาร์กาเร็ต สมิธ ซึ่งมาจากลอนดอน มีพี่ชายสองคน คือ จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และไมตรี อึ๊งภากรณ์ เจ้าหน้าที่ข่าวสารองค์การการค้าโลก ประจำเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

การศึกษา

 

ปริญญาตรีชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ และปริญญาโทสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเดอแรม และปริญญาโทรัฐศาสตร์ (การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่ วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (The School of Oriental and African Studies - SOAS) และทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เป็นเวลา 12 ปี

 

การทำงาน

 

ใจ อึ๊งภากรณ์ เดินทางกลับประเทศไทย และเป็นอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540 ร่วมกับกลุ่มเพื่อนฝูง ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อชำระประวัติศาสตร์กรณี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขึ้นมาใหม่ ร่วมกิจกรรมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และเขียนบทความวิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ในหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ

 

เป็นนักเคลื่อนไหวทางวิชาการและการเมืองสัญชาติไทย-อังกฤษเดิมเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร เพื่อหลบหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

บทบาททางการเมือง

 

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ใจประกาศไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเป็นแกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยจัดชุมนุมประท้วงในกรุงเทพมหานครรวมทั้งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน จนถูกแจ้งความจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

ในปี พ.ศ. 2550 นายใจได้ตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อ A Coup for the Rich โดยมีเนื้อหาบางส่วนอ้างอิงหนังสืออื้อฉาว The King Never Smiles และพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เขายังแย้งว่ารัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้หนังสือถูกงดจำหน่ายในประเทศไทย ดังที่บรรณาธิการได้ชี้แจงและนายใจถูกสั่งฟ้องคดีอาญา ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 เขาถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นายใจ ซึ่งเป็นบุคคลสองสัญชาติ (ไทย-อังกฤษ) ได้เดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อหลบหนีการดำเนินคดีในประเทศไทยโดยอ้างว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

นายใจประกาศตนเองว่าเป็นพวกนิยมสาธารณรัฐ และฝ่ายตรงข้ามทางคำพูดต่อราชวงศ์ไทย ในขณะหลบหนีคดีจากประเทศไทยนั้น เขาได้เขียนแถลงการณ์ "แดงสยาม" ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ พระมหากษัตริย์ไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างโจ่งแจ้งเขาวิพากษ์วิจารณ์ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ "อ่อนแอ" และ "ไร้ศีลธรรม" ผู้ซึ่งไม่เคยสนับสนุนประชาธิปไตย และอ้างว่าพระองค์มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519เขายังได้ติเตียนทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โดยตีตราว่ามันเป็นคำสั่งให้คนจน "รู้จักฐานะของตัวเอง" และกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งร่ำรวยที่สุดในโลกเขายังประกาศตนเองว่าเป็นนักลัทธิมาร์กซิสต์เขายังเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสังคมนิยมสากล อันนับถือแนวคิดความคิดลัทธิทร็อตสกี

 

ในความเห็นซึ่งเขาได้เขียนให้กับเว็บไซต์ของ Asia Sentinel เขาได้ลดราคาของมุมมองในด้านการปฏิรูปสังคมและการเมืองอย่างได้ผล และวางตนเองอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติในประเทศไทย

ยังมีนักวิชาการ นักกฎหมาย ที่มีชื่อเสียงอีกหลาย ๆ คน ที่สมควรยกย่องเป็นนักวิชาการ นักนิติปรัชญาร่วมสมัย (ยังไม่นับรวมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) แต่ยังค้นหาประวัติไม่ค่อยได้ ต้องใช้เวลาสักนิด ท่านใดเห็นว่ามีนักวิชาการไทยท่านใดที่สมควรยกย่องเข้าข่ายดังกล่าว ซึ่งแต่ละท่านมีบทบาทในวงการวิชาการ ส่วนใหญ่เป็น "นักกฎหมาย" (นักนิติศาสตร์) มีแง่มุม กรอบความคิดเฉพาะตน ลองเสนอแนะนำ อาทิเช่น ๑. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ๒. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ๓. อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ๔. อ.รศ.จรัญ โฆษณานันท์ ๕. ศ.วิษณุ เครืองาม ๖. ศ.บวรศักดิ์ อุวรรโณ

๗.ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์

“ดร.อมร” ฉะ “สภาเผด็จการนายทุน” ต้นตอความล้มเหลวการเมืองไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ธันวาคม 2553 17:36 น.

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000175788

๘. ศ.มีชัย ฤชุพันธุ์ หมายเหตุ นักวิชาการบางท่าน อาจมิได้มีคุณวุฒิการศึกษาสาขานิติศาสตร์ แต่มีแนวความคิดทางด้านปรัชญาที่หลักแหลม น่าเคารพนับถือ ... ฯลฯ ฯลฯ เป็นต้น

พุทธทาส

เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา

เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา

จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่

เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู

ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย

จะหาคนมีดีเพียงส่วนเดียว

อย่าไปเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย

เหมือนเสาะหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย

หัดให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

++++++++++++++++++

“สิ่งตรงยิ่งคดลึก” “ก็เกิดมามือเปล่า แล้วยังจะเอาคด เอาตรงไปทำอะไร”

(ดู พระธรรมโกษาจารย์-พุทธทาสภิกขุ,มปป. [Online]. Available URL : http://dhammapoem.blogspot.com/2010/08/blog-post_31.html.)

“ยิ่งตรงยิ่งคดลึก”

ยิ่งจะให้ ตรงมาก ยิ่งคดลึก

เป็นข้าศึก เร้นลับ กลับร้ายใหญ่

อยากจะตรง เพราะอยากดี อยากมีชัย

มันตรงอยู่ เมื่อไร? ใครคิดดู

อวดว่าตรง ตามเขาว่า น่าสรรเสริญ

ยังตรงเกิน ต้องนอนจม พยศอยู่

ที่อยากตรง เพื่อให้ใคร เขาอุ้มชู

ไว้ให้หนู เด็กๆเขา เราโตครัน

จิตที่แจ่ม จนปล่อย เสียได้หมด

ทั้งตรง-คด ไม่เห็น เป็นแผกผัน

พ้นคด-ตรง จนไม่หลง ในเรามัน

จะสุทธิ์สันติ์ พ้นโลก หมดโยกเอยฯ

วิจารณ์ พานิช
http://th.wikipedia.org/wiki/วิจารณ์_พานิช
(แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 เวลา 21:46 น.)

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช (27 พฤศจิกายน2485 -) ผู้ก่อตั้งและประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้ง สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
วิจารณ์ พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศ ในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้

ประวัติ
วิจารณ์ พานิช เป็นหลานชายของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บุคคลสำคัญของโลกที่เรารู้จักกันในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ (นามเดิม เงื่อม พานิช) สมรสกับ ศ.พญ. อมรา (เศวตวรรณ) พานิช มีบุตรธิดา 4 คน

การศึกษา
จบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505-2509 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยพันธุศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2510-2511 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ตำแหน่งปัจจุบัน
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

เกียรติคุณและรางวัล
    ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด.) สาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธูวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
    ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กศ.ด.) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ. 2545)
    รางวัลปาฐกถาสุด แสงวิเชียร ประจำปี พ.ศ. 2544 จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    เกียรติบัตรเชิดชูพยาธิแพทย์อาวุโส ประจำปี พ.ศ. 2545 จากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์
    รางวัลมหิดลทยากร ประจำปี พ.ศ. 2545 จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2450 ณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2545 ณ กรุงเทพฯตลอดชีวิตของ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ตั้งใจรับ ใช้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ด้วยสติปัญญาและ ความสามารถ อย่างเต็มที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตทุกประการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความกล้าหาญ เสียสละแม้จะเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตก็ตาม งานเป็นผลสำเร็จเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ

สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2549 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 มีมติเห็นชอบในหลักการการเสนอชื่อศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม ในโอกาสการฉลองครบ 100 ปี ชาตกาลต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุคคลดีเด่นที่สมควรได้รับการยกย่องในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1) ด้านวัฒนธรรมเนติธรรม 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการศาสนา

การศึกษา

                - พ.ศ. 2457 เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ 
                - พ.ศ. 2470 อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตรและได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบไล่นักธรรมตรี ได้ที่ 1
                - พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทยที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม
                - พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากการสอบแข่งขันทุนรพีบุญนิธิไปศึกษาวิชากฎหมายที่ The Middle Temple ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
                - พ.ศ. 2498 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 1

ประวัติการทำงานโดยรวม

              - พ.ศ. 2476 เป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม
              - พ.ศ. 2494 เป็นข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 (อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ปัจจุบัน)
              - พ.ศ. 2496 เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม
              - พ.ศ. 2505 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 
              - พ.ศ. 2506 – 2510 เป็นประธานศาลฎีกา
              - พ.ศ. 2510 – 2516 เป็นองคมนตรี
              - พ.ศ. 2511 – 2514 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
              - พ.ศ. 2514 – 2516 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
              - พ.ศ. 2516 – 2518 เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง 14 ต.ค. 2516 - 21 พ.ค. 17, และ 27 พ.ค. 2517 - 26 ม.ค. 2518
              - พ.ศ. 2518 – 2541 เป็นประธานองคมนตรี
              - พ.ศ. 2527 – 2541 เป็นประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
              - วันที่ 13 มิ.ย. 2537 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีมติให้ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง “ธรรมศาสตราจารย์” เพื่อเป็นที่ ประจักษ์ในเกียรติคุณและความเป็นปูชนียบุคคลสืบไป

http://www.tu.ac.th/org/sanyains/

ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ อุกฤษ มงคลนาวิน

http://www.thairath.co.th/people/view/pol/7985

Thairath ไทยรัฐออนไลน์

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2555

ออก มาแสดงความคิดเห็นท่ามกลางอุณหภูมิการเมืองที่ร้อนระอุ สำหรับ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องตาม รธน.มาตรา 68 ไว้พิจารณา และให้รัฐสภารอดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข รธน. โดยระบุว่า คอ.นธ. เห็นว่าศาลรธน.ไม่อาจรับคำร้องกรณีนี้พิจารณาไว้ได้ เนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่ถูกหลักเกณฑ์และกระบวนการ โดยการแจ้งให้รัฐสภารอดำเนินการแก้ไขร่าง รธน.โดยไม่มีอำนาจ เป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัด รธน.มาตรา68 เป็นเหตุให้อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้...

 

ชื่อ-สกุล : ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ อุกฤษ มงคลนาวิน

วันที่เกิด : 10 มีนาคม 2476

บิดา นาวาโทพระมงคลนาวาวุธ

มารดา นางมงคลนาวาวุธ (ต่วนทิพย์)

ชื่อคู่สมรส ท่านผู้หญิงมณฑินี นามสกุลเดิมของคู่สมรส บุณยประสพ

 

ประวัติครอบครัว

- เป็นบุตรคนที่ 9 ในจำนวนพี่น้อง 11 คน

- มีพี่สาวชื่อ นางอุไรวรรณ ตุลยสุวรรณ (เสียชีวิต สวดถึง 1 ก.ค.2548 ที่ศาลา 4 วัดมกุฏฯ)

- ภรรยาชื่อ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน มีบุตรบุญธรรม (ชาย) 2 คน

ชื่อ 1. นายพืชภพ ภรรยาชื่อ พันธุมา ฮันตระกูล

2. ดร.รัฐชาติ ภรรยาชื่อ ดร.จันทร์เจ้า สูติวราพันธ์

 

การศึกษา :

- เข็มนภยาธิปัตย์ วิทยาลัยกองทัพอากาศ

- เข็มแสนยาธิปัตย์ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ปี 2535 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ปี 2532 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี 2531 ปริญญาบัตร (กิตติมศักดิ์) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ปี 2530 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปี 2509 ปริญญาเอก ทางกฎหมาย (เอกชน) จากมหาวิทยาลัยปารีส

ปี 2502 ปริญญาตรี สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี 2501 ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข

- ประถมศึกษา-มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรี

 

ตำแหน่งปัจจุบัน :

17 มกราคม 2549 ประธานกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรมและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอยส.)

13 กันยายน 2554 ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)

 

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :

ตำแหน่งทางการเมือง :

2515-2516 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 1

2516-2518 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2

2517-2518 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์)

2519-2520 รองประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คนที่ 1

22 เมษายน 2526 สมาชิกวุฒิสภา

26 เมษายน 2526 รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 (ลาออก 19 เม.ย.2527)

30 เมษายน 2527 ประธานวุฒิสภา คนที่ 8 (30 เม.ย.2527-21 เม.ย.2532)

24 เมษายน 2530 ประธานรัฐสภา

15 มีนาคม 2534 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)

2 เมษายน 2534 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (2 เม.ย.2534-21 มี.ค.2535)

2534-2535 ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

22 มีนาคม 2535 สมาชิกวุฒิสภา (ลาออก 26 พ.ค.2535)

3 เมษายน 2535 ประธานวุฒิสภา (3 เม.ย.2535-26 พ.ค.2535)

26 ธันวาคม 2539 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารราชการแผ่นดิน ส.ส.ร. (ลาออก 24 ม.ค. 2540)

 

ตำแหน่งทางด้านอื่นๆ :

2515-2521 คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2521 ศาสตราจารย์ทางกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2534 กรรมการสภากาชาดไทย

2534 ประธานมูลนิธิศาสตราจารย์ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

2534 ประธานคณะกรรมการสารานุกรมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2535 รองประธานมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบรมราชินูปถัมภ์

2535 ประธานมูลนิธิตึก สก. ในพระบรมราชูปถัมภ์

- ประธานกิตติมศักดิ์ สำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน

2536 ประธานพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

- ผู้บรรยายกฎหมายการปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญในสถาบันต่างๆ เช่น วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก, โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ, วิทยาลัยการทัพบก, วิทยาลัยการทัพเรือ ฯลฯ

17 มกราคม 2549 ประธานกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรมและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอยส.)

13 กันยายน 2554 ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท