หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านวังช้าง ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

                  บ้านวังช้างในอดีตเป็นป่าทึบมีคลองไหลผ่านบางตอนของคลองน้ำลึกมากจึงเรียกว่าเป็นบริเวณที่ช้างป่าและช้างเลี้ยงลงมาเล่นน้ำเป็นประจำบางคนเรียกว่าคลองอาบน้ำช้าง  บ้านวังช้างในสมัยก่อนเป็นป่าทึบ  ต่อมามีประชาชนในพื้นที่และจากต่างถิ่นได้มาจับจองเป็นที่ทำกิน    โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมอญจากอ่างทอง    บ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี     มาอาศัยอยู่ที่บ้านวังช้าง  คนแรกคือหลวงสมาน  และต่อมาก็มีชาวบ้านมาอยู่กันมาต่อเนื่องปี  2462  และต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  2471  บ้านคลองวังช้างได้แยกมาจากหมู่ที่  3  มีชาวบ้านอยู่จำนวน  42  ครัวเรือน  โดยมีผู้ใหญ่เวียน  ทองภูเบศร์  เป็นคนแรก     และต่อมาคนที่  2  คือผู้ใหญ่อุดม  มาลานพาล  พ.ศ.  2473   คนที่  3  ผู้ใหญ่ปก  คล้ายพรหม  พ.ศ. 2474  คนที่  4  ผู้ใหญ่เสงี่ยม  ตั้งสุข  และเป็นกำนันตำบลชุมโคเมื่อ  พ.ศ. 2517  คนที่  5  ผู้ใหญ่วิเชียร  ชุมเกษียร  และเป็นกำนันตำบลชุมโค  พ.ศ. 2524  คนที่ 6 ผู้ใหญ่เฉลิม แซ่คู    พ.ศ. 2532  คนที่  7  ผู้ใหญ่รุ่ง  ดวงภุมเมศร์  พ.ศ. 2542  ถึงปัจจุบัน

เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านชุมชน 

 เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน  (กำหนดตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน)

          1. ดำเนินการปลูกป่าชุมชน  จัดภูมิทัศน์  ที่พักผ่อนท่องเที่ยวภูเขาข่า

          2. ปรับปรุงแหล่งน้ำคลองตาจุ่น  เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรมและตั้งศาลาพักผ่อน

          3. ดำเนินการสร้างศูนย์เรียนรู้ในชุมชน  ณ  ศาลาเฉลิมพระเกียรติ

          4. ปรับปรุงศาลาเฉลิมพระเกียรติให้ได้มาตรฐาน

          5. จัดทำโครงการก่อสร้างถนนลาดยางและคอนกรีตให้ครบทุกเส้นทาง

          6. จัดทำโครงการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อขยายเขตประปาให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน

          7. ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าและโทรศัพท์บ้านให้ครัวเรือนที่ยังไม่ได้ใช้

เป้าหมายการพัฒนาอาชีพและแหล่งรายได้ของหมู่บ้านตามศักยภาพ (กำหนดตำแหน่งการพัฒนาอาชีพ)

          1. ส่งเสริมกลุ่มกองทุนสวนยางให้มีประสิทธิดงทุนสวนยางให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้

          2. ส่งเสริมกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมชุมโคให้มีคุณภาพและความสะอาด

          3. จัดดำเนินงานกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรให้มีรายได้เพิ่มและมีความเข้มแข็ง

          4. การทำโครงการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อลดรายจ่าย

          5. จัดกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อเพิ่มรายได้เสริม

          6.ดำเนินการรวมกลุ่มอาชีพปลูกพืชสับปะรด

          7.จัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน

การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ  

 84  พรรษา  ระดับ พออยู่  พอกิน 

บ้านวังช้าง   หมู่ที่   4   ตำบลชุมโค   อำเภอปะทิว   จังหวัดชุมพร

 

 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง 

กิจกรรมที่  1  ส่งเสริมครอบครัวพัฒนา

  • ประชุมเชิญปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายผู้แทนครอบครัวพัฒนา  จำนวน 30 ครัวเรือน

       1 วัน

  • ทัศนศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ   2  วัน  ณ  สวนลุงนิล  หมู่ที่  6   ต.ช่องไม้แก้ว  อ.ทุ่งตะโก  จ.ชุมพร และบ้านบุรีรัมย์  หมู่ที่ 1  ต.ไนวงใต้   อ.ละอุ่น  จ.ระนอง 

กิจกรรมที่  2 ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนชีวิต 1 วัน   ข้อมูลครัวเรือน   การวิเคราะห์ตนเอง/แผนชีวิตแบบ

                     พอเพียง  การค้นหาตนเองและการกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเอง

กิจกรรมที่  3 สาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง   2  วัน   2  ประเภท

  •  สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์
  • น้ำยาล้างจาน
  • ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
    •  สาธิตการเพาะเห็ดนางฟ้า

กิจกรรมที่  4 การเสริมสร้างการบริหารจัดการชุมชน และการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอันมี

                       พระมหากษัตริย์เป็นประมุข  และการสร้างความสามัคคีของหมู่บ้าน  1  วัน

กิจกรรมที่  5 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชนและการจัดการ

                         ความรู้

  • วิธีการ  แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือน
    • วิธีการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในภาพรวมจัดทำเป็นเอกสารความรู้เผยแพร่ขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น  (ถอดบทเรียน)

ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมกระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน 

ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   

          การพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สุดท้ายที่ต้องการคือชุมชน อยู่เย็นเป็นสุข  ท่ามกลางวิถีสังคมแห่งทุนนิยม  เพราะเราเปลี่ยนระบบของสังคมไม่ได้  แต่เราสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตให้อยู่รอดได้โดยไม่เดือดร้อน  ไม่โลภ  ไม่หลง  ต่อกระแสที่บั่นทอนสุขภาพของชุมชนที่ทำลายภูมิคุ้มกันของชุมชน  ต้องการให้ชุมชนอ่อนแอ  ถ้าเราไม่เปลี่ยน  เราก็อ่อนแอ  เมื่อเราอ่อนแอสุดท้ายชุมชนก็ถูกครอบครอง  วิถีของชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข ก็ถูกเปลี่ยน เป็นวิถีแห่งการแก่งแย่งแข่งขัน  เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและการครอบครอง  ทำลายล้างซึ่งกันและกัน  แบ่งแยกแตกกลุ่ม เบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น  เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  สุดท้ายคนที่เดือดร้อนคือคนที่อยู่ในชุมชน

          กระประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน  เป็นกระบวนการ     เชิงระบบ  ที่ต้องใช้เวลา  เพราะเป็นการเปลี่ยนความคิดของคนให้เปลี่ยนวิถีแห่งการดำรงชีวิต  ไม่ใช่เปลี่ยนคนเดียวแต่เปลี่ยนวิถีดำรงชีวิตของคนทั้งชุมชน  ซึ่งมีหลายคน  เริ่มแรกไม่ต้องเปลี่ยนทั้งหมด  แต่ขอสักส่วนหนึ่งก่อนที่รู้และเข้าใจ  พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้สำเร็จ 

          หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจ  คือ  ความพอประมาณ  ความพอประมาณคือกระบวนการรู้จักตนเอง  เน้นที่การพึ่งพาตนเอง  ของชุมชน  การรู้จักตนเองของชุมชน  ให้เริ่มต้นที่บัญชีครัวเรือน  บัญชีครัวเรือนบ่งชี้วิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน  กิจกรรมของกระบวนการนี้  เน้นที่กิจกรรมการลดรายจ่ายของชุมชน

          ความพอประมาณเรื่องที่สอง    คือการค้นหาเพื่อรู้จักตนเอง   ในเรื่องของทุนชุมชน  ชุมชน มีอะไรดี  ที่จะนำมาสู่กระบวนการพัฒนาให้ทุนดังกล่าว     เป็นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้กับชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการพึ่งพาตนเอง ทุนชุมชนไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่รวมถึงทุนอื่นๆด้วย  ซึ่งได้แก่   ทุนมนุษย์   ทุนกาย-ภาพ   ทุนการเงิน   ทุนสังคม   และทุนธรรมชาติ

          เรื่องที่สอง  คือ  ภูมิคุ้มกัน  ทำให้เห็นสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม  ที่กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน  ถ้าชุมชนอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ดังกล่าว  แสดงว่าชุมชนมีภูมิคุ้มกัน  การที่ชุมชนจะมีภูมิคุ้มกันได้นั้น  ภูมิคุ้มกันไม่ได้เกิดขึ้นเอง  แต่เกิดจากชุมชนช่วยกันคิดช่วยกันทำ  เพื่อแก้ปัญหา  หรือป้องกันปัญหาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน

         เรื่องที่สาม  คือ  เรื่องหลักของเหตุผล  หลักเหตุผลที่นำมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน  คือการค้นหาทุนชุมชน  ชุมชนมีอะไรดี  แล้วนำมาใช้เป็นทุนในการพึ่งพาตนเองของชุมชน  อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นหลักของเหตุผล  คือการใช้ข้อมูลบัญชีครัวเรือนมาเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาของชุมชน  โดยคนส่วนใหญ่ของชุมชนร่วมกันคิด  มีปัญหาก็นำปัญหาเข้าสู่เวทีของชุมชน  เพื่อคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา  กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นกิจกรรมเพื่อชุมชนที่แท้จริง  โดยเน้นที่การพึ่งพาตนเองของชุมชน  การใช้หลักเหตุผล  ในการพัฒนาหมู่บ้าน  จึงเป็นการใช้ข้อมูลมาเป็นฐานในการแก้ปัญหาของชุมชน  โดยคนในชุมชนเอง

         เรื่องที่สี่  คือ  เรื่องของความรู้คู่คุณธรรม  ในการพัฒนาหมู่บ้านเมื่อใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์แล้ว  สิ่งสำคัญที่จะทำกิจกรรมอะไร  อย่าทำตามกระแส  หรืออย่าทำเพราะเห็นว่าเพื่อนทำแล้วดี  เพื่อนทำแล้วสำเร็จ  แต่สร้างกิจกรรมจากข้อมูลของชุมชน  เมื่อจะทำอะไรให้ถาม ตนเองก่อนว่าเรารู้เรื่องที่จะทำแล้วหรือยัง  ถ้ายังไม่มีต้องแสวงหาความรู้ก่อน  เมื่อรู้จริงแล้วจึงทำ  ทำแล้วจะผิดพลาดน้อย  กิจกรรมก็จะประสบผลสำเร็จ  ในการบริหารกิจกรรมของหมู่บ้านก็ต้องอาศัยหลักคุณธรรม  ซื่อสัตย์  เอื้อเฟื้อแบ่งปัน  ในการทำงานร่วมกันชุมชนก็เป็นสุข  คนในชุมชนก็เป็นสุข

 

 การจัดทำแผนชีวิตของครัวเรือน

          คนที่ดำเนินชีวิตโดยไม่มีเป้าหมายยากที่จะประสบความสำเร็จ  เหมือนเรือที่ล่องลอยไปเรื่อย ๆ แล้วแต่น้ำแล้วแต่ลมจะพัดพาไปทางไหน  มีเป้าหมายแล้วยังต้องวางแผนว่าจะไปถึงที่หมายอย่างไรด้วย

          การวางเป้าหมายชีวิต สิ่งที่ควรทำก่อนคือการทบทวนชีวิตที่ผ่านมาว่าเรามาจากไหน ทำอะไรบ้าง  สิ่งที่ผ่านมานั้นผลเป็นอย่างไร  เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น  การทบทวนชีวิตที่ผ่านมาจะช่วยให้เราไม่หลงทิศทางไม่ทำสิ่งที่ผิดพลาดซ้ำ  ช่วยให้เราก้าวเดินต่อไปในทิศทางที่ถูกต้อง  ก็คือการจัดการตัวเองโดยการจัดทำบัญชีครัวเรือน  การจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องของการรู้จักตนเองว่าการดำรงชีวิตเป็นอย่างไร  สาเหตุแห่งทุกข์มาจากเรื่องใด  จะทำให้สุขได้อย่างไร  ชอบกินอะไร  ไม่ชอบกินอะไร  บัญชีครัวเรือนบ่งชี้ได้  ผลประโยชน์ของบัญชีครัวเรือนไม่ได้อยู่ที่การลด  แต่อยู่ที่การนำไปใช้  ใช้เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน  การลดรายจ่าย  คือวิธีการเพิ่มรายได้ที่ดีที่สุด  ง่ายและไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

          บัญชีครัวเรือนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการวางแผนชีวิตสู่เป้าหมาย     “ครอบครัวไทยเป็นสุข” ในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำรงชีวิต

 

การวางเป้าหมายและแผนชีวิต

  • ต้องมีสติ       =  รู้
  • ไม่เครียด

วางเป้าหมาย

1.  ร่างกาย  ®   แข็งแรง    

-          ภาระกิจ

-          ออกกำลังกาย

-          การพักผ่อน

2.  จิตใจ   ®   เข้มแข็ง  (ต้องมีสมาธิ)

3.  เศรษฐกิจ  +  การเงิน  +  อาชีพ   ®  เวลา

4.  ทางสังคม  (ครอบครัว  +  ชุมชน)  อบอุ่น

5.  สติปัญญา  ®  ข้อมูล  /  วิชาการ

 

การดำรงชีวิตแบบพอเพียง   (การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้)

การทำน้ำยาล้างจาน

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ 

 

  • สาธิตการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ  (ปุ๋ยน้ำชีวภาพผสมสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลง)

  • สาธิตการเพาะเห็ดนางฟ้า

 

เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชนและการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน

 

·       การบริหารจัดการชุมชน

  • การพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  • การสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน

ผู้แทนครอบครัวพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ  84  พรรษา  จำนวน  30  ครัวเรือน  ตั้งปณิญาณเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปส่งเสริมให้ชุมชนปฏิบัติ  เพื่อความผาสุขของครอบครัว  ชุมชน  และประเทศชาติ  โดยให้ผู้แทนครอบครัวพัฒนาเขียนคำปฏิญาณลงในแผ่นกระดาษสีเหลืองที่ให้เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

 

การติดตามและประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชน

          จากการประเมินผลความสุขมวลรวม  องค์ประกอบ  30  ตัวชี้วัด  ปรากฏว่า  ผู้แทนครอบครัวพัฒนามีระดับความพึงพอใจคะแนน  5  ทุกตัวชี้วัด  ในองค์ประกอบ  3  ครอบครัวอบอุ่น   องค์ประกอบที่  6  เป็นชุมชนประชาธิปไตย  ส่วนองค์ประกอบที่  1  การมีสุขภาวะ  ตัวชี้วัดที่  1  มีความรู้ในการสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วย  คะแนน  4  องค์ประกอบที่  2  เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง  ตัวชี้วัดที่  6, 8  คะแนน  4   องค์ประกอบที่  4  ชุมชนเข้มแข็ง  ตัวชี้วัดที่  13, 19  คะแนน  4   องค์ประกอบที่  5  สภาพแวดล้อมดี 9 ตัวชี้วัดที่   21, 22, 23, 24  คะแนน  4  

 

โครงการ  จัดทำปุ๋ยหมัก  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายประชุม  รูปสง่า

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          เดิมประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมซึ่งมีมูลโคและเศษวัสดุอยู่และทางอำเภอนำไปทัศนศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริชั่งหัวมันและที่หนองใหญ่  ได้แนวคิดกลับมาดำเนินงานโครงการจัดทำปุ๋ยหมัก

 ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          เป็นการลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและชุมชน  ซึ่งในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ปุ๋ย     ราคาแพง

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          สิ่งที่ภาคภูมิใจในโครงการจัดทำปุ๋ยหมักเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

 

โครงการ   ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นางวิไล  แสงรุ้ง

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          เดิมประกอบอาชีพสวนยางพารา  ต้นยางแก่โค่นทิ้งปลูกยางใหม่ทดแทนยังกรีดไม่ได้จึงปลูกถั่วฝักยาวและแตงที่เป็นพืชอายุสั้น

 

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและชุมชนได้ซื้อของในราคาถูกกว่าท้องตลาด  และสด  มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          สิ่งที่ภาคภูมิใจในการปลูกผักสวนครัว  ซึ่งเป็นอาชีพเสริมจากการทำสวนยางพารา  มีรายได้เพิ่ม  ในระหว่างที่สวนยางยังไม่ได้รับผลผลิต  และเป็นอาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้ส่วนหนึ่ง  ซึ่งเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

โครงการ   ปลูกผักเหลียงในสวนยาง  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายหอม  วัดปลั่ง

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา  ในระหว่างร่องยางจึงทดลองนำต้นเหลียง ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของจังหวัดชุมพรมาปลูกระหว่างต้นยางได้ผลผลิตคุ้มค่า  และเป็นการใช้พื้นที่ที่เกิดประโยชน์

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          เป็นการเพิ่มรายได้จากที่ดินที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ  (สวนยางพารา)  ใบเหลียงเก็บขายได้ทุกวันทั้งในและนอกชุมชน  และเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในชุมชน

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          การปลูกต้นเหลียงในสวนยางเป็นสิ่งแปลกในชุมชนในตอนแรกปลูก   และต่อมาเป็นสิ่งดีที่ทำให้ครอบครัว  ลดรายจ่ายในการซื้อผัก  และเพิ่มรายได้กับการจำหน่ายผักเหลียง    ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าในสวนยาง

 

 

โครงการ    การทำน้ำยาล้างจาน  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นางลัดดาวัลย์  ดวงภุมเมศร์

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          มีการสาธิตการทำน้ำยาล้างจานในหมู่บ้าน  จึงรวมตัวกันผลิตน้ำยาล้างจานไว้ใช้เอง  และจำหน่ายในชุมชน

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          เป็นการลดรายจ่าย   เพิ่มรายได้ให้กับตนเอง   และชุมชน   ซื้อของถูกและมีเงินหมุนเวียนอยู่ในชุมชน  (คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          ชุมชนเกิดการเรียนรู้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  3   ห่วง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และภูมิคุ้มกัน  2  เงื่อนไข  ความรู้   และคุณธรรม

 

โครงการ    การเพาะเห็ด  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายสุวัช  ขยายแย้ม

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          ได้ไปศึกษามาดูงานการเพาะเห็ดแล้วนำพามาปฏิบัติในชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ในวิธีการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจึงได้รวมกลุ่มผู้สนใจ

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          ได้รู้ถึงวิธีการเพาะเห็ดตั้งแต่เริ่มผสมวัสดุ  การบรรจุถุง  การนึ่ง  การเขี่ยเชื้อ  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่นำมาปฏิบัติให้มีรายได้เพิ่ม  มีเงินหมุนเวียนอยู่ในชุมชน 

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          การเพาะเห็ด  เป็นการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติ  ตั้งแต่เริ่มแรก  วิธีการผสมจนถึงวิธีการเพาะเลี้ยง  เก็บออกจำหน่ายภายในและภายนอกชุมชน  ชุมชนมีรายได้เพิ่มและมีเงินหมุนเวียนในชุมชนเพิ่มขึ้น  และคนในชุมชนได้ซื้อผลผลิตในราคาถูกและสด

 

โครงการ    ปุ๋ยหมักชีวภาพรกสุกร ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายมานิตย์  วัดปลั่ง

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนมะพร้าว  ประสบภัยพายุเกย์ ปี  2532  หลังจากนั้นบริษัทซีพีเข้ามารวมกลุ่มผู้สนใจเรื่องสุกรโดยผู้เลี้ยงสร้างโรงเรือนเอง  บริษัทให้อาหาร  พันธุ์สุกร  ยาปฏิชีวนะ  และต่อมามีความคิดว่ารกสุกรน่าจะนำมาหมักทำเป็นปุ๋ยไว้ใช้เองได้

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีนั้นก็คือ  มีวัตถุดิบคือรกหมู  นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นการลดรายจ่าย  และเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและชุมชน

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          ตามที่บริษัทซีพีได้เข้ามาส่งเสริมการเลี้ยงสุกรในหมูบ้านทำให้ผู้เลี้ยงได้มีแนวคิดว่ารกสุกรน่าจะทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้โดยเป็นการลดต้นทุนการผลิต  และใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์โดยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

 

โครงการ   เลี้ยงสุกร   ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายบุญส่ง  ดวงภุมเมศร์

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          หลังจากประสบภัยจากพายุใต้ฝุ่นเกย์  บริษัทซีพีได้เข้ามาส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงสุกรในปี  พ.ศ.2537  มีสมาชิก  11 คน  โดยผู้เลี้ยงต้องสร้างเล้าเอง บริษัทจะให้แม่พันธุ์  อาหาร  ยารักษาโรค

  

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          ชุมชนได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรแบบเล้าปิดตามแบบมาตรฐานที่บริษัทกำหนดระบบนิเวศน์ดีขึ้นและมีรายได้ที่แน่นอน

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          กลุ่มได้รับการส่งเสริมจากบริษัทซีพีเป็นการเลี้ยงสุกรแบบเล้าปิดที่ได้มาตรฐานไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และผู้เลี้ยงมีรายได้ที่แน่นอนประมาณเดือนละ  60,000  บาท  ยังได้หักค่าใช้จ่ายและผู้เลี้ยงสุกรบางรายยังทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากรกสุกรไว้ใช้เองในสวนปาล์มซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต

 

 

โครงการ    กลุ่มเลี้ยงโคนม  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายประชุม  รูปสง่า

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          เดิมสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประสบภัยพายุใต้ฝุ่นเกย์  ปี พ.ศ.2532  หลังจากนั้นมีหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ได้เข้ามาส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมชุมโค  โดยรวมกลุ่มผู้สนใจสมาชิก  20  คน  เลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่มมีนายประชุม  รูปสง่า  เป็นประธาน

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          ทำให้ชุมชนสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการประกอบอาชีพ  มีรายได้เพิ่มขึ้น  มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในชุมชนและเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน

 (คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          จากการดำเนินงานของกลุ่ม  ทำให้กิจกรรมของกลุ่มเป็นที่พึงพอใจของสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนของสมาชิกกลุ่มและชุมชน

 

โครงการ    กลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยาง  ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  นายรุ่ง  ดวงภุมเมศร์

ความเป็นมา/ข้อมูลทั่วไป

          เนื่องจากชุมชนนี้มีอาชีพปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลัก  จึงมีการรวมตัวกับชุมชน  จึงมีมติให้จัดตั้ง

กลุ่มกองทุนสวนยางพาราขึ้นมา

ผลที่ทำให้ตนเองและชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น

          ทำให้ชุมชนได้ขายผลผลิต ที่ได้ราคาสูงขึ้นโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง  และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนแบบยั่งยืน

(คำสรุปปิดท้ายที่จับใจ)

          จากการดำเนินงานของกลุ่ม  ทำให้กิจกรรมของกลุ่มเป็นที่พึงพอใจของสมาชิก คือมีรายได้เพิ่มขึ้น  และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน 

          สรุปถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์

                   จากการวิเคราะห์ชุมชน   บ้านวังช้าง  หมู่ที่ 4   ตำบลชุมโค   กระบวนงานตามประเด็นยุทธศาสตร์    การพัฒนาทุนชุมชน       การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง        และการเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน ซึ่งได้จัดทำข้อเสนอโครงการ  ด้านการพัฒนาทุนชุมชน  คือโครงการระดมทุนกลุ่มอาชีพการเพาะเห็ด  ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง  คือ โครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพการเพาะเห็ด  และด้านการเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน  คือ  โครงการฝึกทักษะคณะกรรมการบริหารกลุ่มอาชีพเพาะเห็ด

เนื่องจากกลุ่มเพาะเห็ด   บ้านวังช้าง    หมู่ที่ 4    ตำบลชุมโค  เป็นกลุ่มใหม่เกิดจากการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ    84 พรรษา   ระดับ  พออยู่ พอกิน  ซึ่งต้องดำเนินการขับเคลื่อนใน 5 กิจกรรม   คือ

             1.ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

             2.ฝึกปฏิบัติการปรับเปลี่ยนชีวิตด้วยการทำแผนชีวิต

             3.สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

             4.เสริมสร้างการบริหารจัดการชุมชน

             5.การจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน

และใน   5   กิจกรรมนี้  มีการสาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านการเพาะเห็ด   จึงได้มีการรวมกลุ่มผู้สนใจจัดตั้งกลุ่ม    มีสมาชิกก่อตั้ง กลุ่ม  จำนวน    30     คน     คณะกรรมการบริหารกลุ่ม  จำนวน   13   คน  ในการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์ประกอบของกลุ่ม   4   ประการ   คือ  สมาชิก  กรรมการ  กติกา  และกิจกรรม  กิจกรรมกลุ่มจะเป็นกระบวนการที่ทำให้กลุ่มสามารถดำเนินการต่อไปได้     โดยมีคณะกรรมการ  และสมาชิก     ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการจัดทำระเบียบข้อตกลงของกลุ่ม     ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ   ในการบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ     และวางแผนในการดำเนินงานของกลุ่มไว้อย่างชัดเจน   นำไปปฏิบัติได้  แต่ทางคณะกรรมการกลุ่มยังขาดความรู้ ความเข้าใจ  ในการบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงต้องดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่ม      สร้างความรู้ความเข้าใจ          ในเรื่องการจัดทำระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม    การกำหนดแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่ม   การบริหารจัดการ     เอกสารการดำเนินงานของกลุ่ม  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานของกลุ่ม

                   สำหรับแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่มในเบื้องต้นคือ  การประชุมสมาชิกและคณะกรรมการบริหารกลุ่มจัดทำระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม และการจัดหาทุนเข้ากลุ่มโดยคณะกรรมการหมู่บ้านบ้านวังช้าง     ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มเพาะเห็ด   ได้ประสานงานหน่วยงานภาคีการพัฒนาขอสนับสนุนงบประมาณ      จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะทิว    ได้รับงบประมาณสนับสนุนต่อยอดโครงการส่งเสริมการเพาะเห็ด     เป็นเงิน  3,000  บาท

หมายเลขบันทึก: 459725เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2011 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท