กระบวนการวางแผน


ความสำเร็จของการทำงานคือการวางแผนงาน

กระบวนการวางแผน

          การวางแผนเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหาร  และเป็นกระบวนการท่ามีลักษณะของความเป็น  “ศาสตร์” และความเป็น “ศิลป์”  ผู้ที่บริหารพึงต้องมีความเข้าใจและมีทักษะ  มีความชำนาญในการนำไปใช้  จึงจะทำให้การบริหารงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงที่กล่าวว่าการวางแผนเป็นศาสตร์  เพราะการวางแผนมีองค์ความรู้  เป็นการเฉพาะผู้ที่บริหารและนักวางแผนจะต้องเรียนรู้  ส่วนการวางแผนเป็นศิลป์  เพราะการวางแผนเมื่อกำหนดขึ้นแล้วการนำไปปฏิบัติหรือนำไปใช้นั้นผู้บริหารจะต้องใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ  อย่างมาก   เพื่อผลักดันให้ทรัพยากรทุกชนิดที่ต้องใช้ในแผนได้ทำงานตามหน้าที่ของมัน  และในขณะเดียวกันผู้บริหาร  หรือผู้ใช้แผนจะต้องผสมผสานปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  เพื่อให้แผนทั้งแผนหรือโดยส่วนใหญ่ของแผนสามารถดำเนินการได้โดยจะต้องพยายามปรับแผนและสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกันตลอดเวลา

            การวางแผนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับปัจจุบันและอนาคต   กล่าวถือ  ผลที่ปรากฏในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากวางแผนในอดีต  และผลที่จะปรากฏในอนาคตนั้นสืบเนื่องไปจากแผนที่ได้กระทำในปัจจุบันี่ดีในอดีต  เช่น  ครูล้นงานเพราะผลิตครูออมามากเกินความจำเป็น ทั้ง ๆ ที่อัตราการเกิดของเด็กลดลงหรือบัณฑิตต้องตกงานเพราะแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและกำลังคนไม่เป็นไปตามเป้าหมายอย่างแท้จริงหรือกรุงเทพ ฯ  ต้องประสบกับมลภาวะเป็นพิษ เป็นต้น

               ความสำเร็จใด ๆ  จะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า  “ทรัพยากร” (Resources)  ซึ่งหมายถึง  เงิน  (Mony)  วัสดุอุปกรณ์  (Materials)   กำลังคน  (Humanpower)  เวลา (Time)  พลังงาน (Energy)  และอื่น ๆ   บุคคลหรือองค์การจะไม่สามารถกระทำสิ่งใด ๆ  ได้สำเร็จ  หรือบรรลุถึงวัตถุประสงค์ถ้าปราศจากการใช้จ่ายทรัพยากร  การวางแผนเป็นการตัดสินใจเพื่อการจัดสรรทรัพยากรขององค์การ  ให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 

           การวางแผนเป็น “กระบวนการ”  (Procss)   ซึ่งปรากฏด้วยกิจกรรม (Activity) ที่จะต้องกระทำกันอย่างต่อเนื่อง  และสามารถปรับให้เข้าได้กับข้อมูลที่ได้รับทั้งที่เป็นข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback)  และข้อมูลที่มาจากกระบวนการและระบบอื่น  การวางแผนสำหรับองค์หนึ่งองค์กรใดมิใช่การะทำเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดหรือเลิกแล้วกันไป    แต่เป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในองค์การ  และบางส่วนของแผนอาจจะต้องมีการทบทวนใหม่ถ้าผลที่เกิดขึ้นขาดความสมบูรณ์หรือเป็นผลที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดคิดไว้

            การวางแผนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใส่ข้อมูล  (Inputs)  ทรัพยากร (Resiurces)  และข่าวสาร  (Information)  ต่าง ๆ เข้าไป  และมีตัวการ  (Processor)  กระทำกับทรัพยากรและข้อมูลเหล่านั้น  และปรากฏเป็นผล  (Outputs)  ออกมาในลักษณะต่าง ๆ  ข้อมูลอันเกิดจากผลหรือที่เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ  (Feedbadk)  จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐาน  (Standards)  ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์  (Objiectives)  หรือไม่  ถ้าการเปรียบเทียบมีผลเป็นที่ไม่พอใจ  ข้อมูลที่ใส่เข้าไป  และตัวการในการกระทำข้อมูลจะต้องได้รับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ดังแผนภูมิ

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

                                กระบวนการวางแผนเป็นเรื่องการตัดสินใจบ่างสรรทรัพยากรหลายชนิดในปัจจุบัน  เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การประสบกับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในอนาคต  หรือการวางแผนเป็นกระบวนการกำหนดทางเลือกในการดำเนินงานในอนาคต  เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์การโดยวิธีการที่ให้ผลเป็นไปตามมาตฐาน  หรือใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างเหมาะและเพียงพอรวมทั้งระบุถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรที่จำเป็นเหล่านั้นด้วย

 องค์ประกอบของการวางแผน

              โดยความหมายหรือคำจัดความของการวาแผน  จะสังเกตได้ว่าการวางแผนมีส่วนประกอบที่ได้รับการแจงโดยนัยไว้อย่างชัดเจน เช่น  ระบุถึงวิธีการดำเนินงานในการใช้ทรัพยากรการเลือกแนวทางเพื่อการปฏิบัติงาน  และการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนเป็นต้น

               การวางแผนที่ดีนั้น  จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจนและมีความต่อเนื่องกันเป็นลำดับ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามแผนได้โดยง่าย  แอคคอฟฟ์  (Rusell  L. Ackiff)  จำแนกองค์ประกอบของแผนและการวางแผนไว้ดังนี้

                      1.  จุดหมาย  (Ends)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงวัตถุประสงค์  ความมุ่งหวัง  หรือจุดมุ่งหมายของแผนที่ได้กำหนดขึ้น  โดยอาจชี้สภาพปัญหาหรือความเป็นมาหรือภูมิหลังที่ต้องทำให้มีการวางแผน  และรวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการวางแผนนั้น

                       2.  วิธีการ  (Means)   เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์  แล้วกำหนดเป็นทางเลือกไว้หลายทางเลือก  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุถึงจุดหมาย  ที่ได้กำหนดไว้แล้วเป็นองค์ประกอบแรก

                       3.  ทรัพยากร  (Resources)  เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงประเภท  ปริมาณ  และคุณภาพของทรัพยากรเช่น  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์  และวิธีการที่จะต้องจัดสรรให้กับวิธีกรหรือทางเลือกที่ได้กำหนดไว้

                       4.  การนำแผนไปใช้  (Implementation )  เป็นองค์ประกอบที่ระบถึงวิธีการหรือการตัดสินใจเพื่อเลือกเลือกทางเลือกหรือแนวทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนและวัตถุประสงค์ของแผนซึ่งได้กำหนดไว้ทางเลือกในการดำเนินงานจะต้องมีลักษณะที่ประหยัดและให้ผลประโยชน์ที่เหมาะสม  จึงจะถือว่าเป็นทางเลือกและการดำเนินงานที่ดี

                        5.   การควบคุม  (Control)   เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการตรวจสอบและการประเมินผลการดำเนินงานของแผนว่าเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง  และมีการปรับปรุงหรือหาทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร  การควบคุมจะต้องเป็นไปทุกขั้นตอนทุกระยะการดำเนินงานและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

              สตรอบ  (Joseph T. Straub)  อธิบายถึงองค์ประกอบที่มีผลต่อความสำเร็จของแผน  โดยชี้ให้เห็นว่าองค์การทุกองค์การเมื่อกำหนดแผนงานขึ้นแล้ว  ต่างมุ่งหวังที่จะทำให้แผนงานนั้นบรรลุถึงความสำเร็จตามที่ปรารถนา  ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของแผนได้แก่การจัดทำแผนหรือร่างแผนไว้อย่างรอบคอบ  การชี้แจงแผนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  การปรับแผนให้ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการได้  การนำแผนไปใช้และการควบคุมการดำเนินงานของแผน  แต่ละปัจจัยหรือแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้

                  1.  การจัดร่างทำงานแผน (Design)  หมายถึง  การจัดร่างแผนงานให้มีรายละเอียดที่สามารถดำเนินการได้โดยบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า   แผนงานนั้นเป็นแผนอะไร  ต้องการทำอะไร  ทำอย่างไร  ใครเป็นผู้รับผิดชอบที่จะต้องทำ  และแผนงานนั้นจะเริ่มทำเมื่อใดและที่ไหน

                   2.  การชี้แจงแผน  (Communication)  เมื่อแผนได้รับกรจัดทำหรือร่างขี้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  แผนนั้นจะต้องได้รับการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจโดยละเอียด  การชี้แจงแผนให้เป็นที่เข้าใจ  ย่อมทำให้แผนนั้นได้รับการยอมรับ  การสนับสนุน  และง่ายต่อการปฏิบัติ

                   3.  การปรับแผน  (Flexibility)   เมื่อแผนได้ถูกชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบแล้วหากปรากฏว่าเกิดการวิพากษ์วิจารณ์และผู้เกี่ยวข้องได้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่อง  หรือมีการท้วงติงเสนอแนะ  หรือคาดว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น  แผนนั้นจะต้องได้รับการปรับปรุงหรือให้มีการยืดหยุ่นในการนำไปใช้เพราะหากไม่ปรับแผนให้มีความยืดหยุ่นแล้ว  จะเป็นสาเหตุอย่างสำคัญทำให้แผนเกิดความล้มเหลว   อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานได้

                    4.   การนำแผนไปใช้  (Implementation)   เมื่อแผนได้รับการปรับปรุงแล้ว  แผนก็จะถูกนำไปใช้ปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลตามที่ประสงค์   อย่างไรก็ดีแผนจะบรรลุถึงความสำเร็จมากน้อยเพียงใด   ฝ่ายบริหารจะต้องให้การสนับสนุนทั้งกำลังคน   กำลังทรัพย์  และรวมถึงกำลังใจของผู้บริหารเองอย่างต่อเนื่อง

                   5.   การควบคุมแผน  (Comtrol)  เมื่อแผนนำไปใช้แล้ว  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามตรวจสอบ  และประเมินผลว่าการดำเนินงานตามแผนในแต่ละขั้นตอนมีปัญหาอุปสรรคใด ๆ หรือไม่   หากพบปัญหาจากจุดหนึ่งจุดใดในกระบวนการ   ปัญหานั้นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยทันท่วงที  รวมทั้งจะต้องรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ   เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแผนให้ดียิ่งขึ้น

               

วงจรองค์ประกอบที่มีผลต่อความสำเร็จของแผน

 

 

                                                                                                                                                                                               

การควบคุมแผน

ความสำเร็จ

การปรับแผน

การชี้แจงแผน

การนำแผนไปใช้

การจัดร่างทำแผย

                                                                                                                                                                                               

การควบคุมแผน

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                อนึ่งในทางปฏิบัติองค์ประกอบของการวางแผนอาจมีรายละเอียดและสิ่งปลีกย่อยอีกมาก   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับหรือขนาดและตลอดจนประเภทของแผน   ประกอบกับความพยายามของผู้วางแผนที่จะทำให้การวางแผนนั้นง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปใช้   จึงได้แยกย่อยแต่ละองค์ประกอบออกไปอีกเพื่อให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น   เช่นในเรื่องของจุดมุ่งหมายอาจแยกแยะออกเป็นจุดมุ่งหมายทั่วไป    และจุดมุ่งหมายเฉพาะเป็นต้น   เพื่อความเข้าใจในสาระสำคัญขององค์ประกอบการวางแผนโดยชัดเจนมากยิ่งขึ้น   จึงอาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือเรื่อง   “การบริหารโครงการ”

                ผู้บริหารและการวางแผน 

                                ผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนหลายระดับ     ถึงแม้ว่าแต่ละระดับของการวางแผนจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันอยู่บ้าง   แต่หลักการใหญ่ ๆ  จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน   ผู้บริหารควนทราบถึงหลักการที่ดีบางประการในการวางแผนของผู้บริหารคือ

  1. ผู้บริหารควรมีส่วนร่วมฝนกระบวนการวางแผนทั้งหมดในหน่วยงานหรือองค์การ
  2. ผู้บริหารควรรู้จักมีความสามารถในการวางแผนสำหรับหน่วยงานย่อย
  3. ผู้บริหารควรรู้จักใช้การวางแผนเพื่อการดำเนินชีวิต

 

การมีส่วนร่วมวางแผนในหน่วยงานหรือในองค์กร   ผู้บริหารหน่วยงานจำนวน

มากได้รับการเชื้อเชิญให้มีส่วนร่วมในการวางแผนสำหรับองค์กรในลักษณะต่าง ๆ  กัน  บางคนอาจได้รับแบบสอบถามเพื่อให้กรอกข้อความและความคิดเห็นต่าง ๆ  ลงไป   บางคนอาจได้มีส่วนร่วมนั่งประชุมเพื่อชี้แจงและเสนอข้อมูลตลอดจนความคิดเห็นต่อผู้บริหารระดับสูง   การที่ผู้บริหารได้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนทั้งหมดของหน่วยงานหรือขององค์กรจะทำให้ผู้บริหารมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นโดยตรงต่อผู้บริหารระดับสูงและผลที่ผู้บริหารได้รับคือการได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน  และหน่วยงานมีโอกาสที่จะได้รับการขยับขยายมากยิ่งขึ้น  และที่สำคัญคือทำให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานขององค์การโดยตลอด

                                บุคคลก็มีลักษณะเช่นเดียวกับองค์การคือมีระบบชีวิตที่สลับซับซ้อน  และต้อง  ปฏิสัมพันธ์กับระบบอื่น ๆ  เช่น  บุคคลอื่น  องค์การหรือหน่วยงานอื่น    และแม้แต่ธรรมชาติซึ่งอยู่รอบ ๆ ตัว  บุคคลแต่ละบุคคลจะมีทรัพยากรหลายชนิด   เช่น  เงิน   พลังงาน   เวลา   และความสามารถเฉพาะไว้สำหรับใช้จ่ายเพื่อบรรลุ   ถึงวัตถุประสงค์ของชีวิต   การใช้ทรัพยากรเพื่อชีวิตจะเป็นไปอย่างฉลาดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการคือ

 

 

                                1)   ประเภทของวัตถุประสงค์ระยะยาวที่ได้กำหนดขึ้นไว้

2)            ความเข้าใจต้อพลังภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อชีวิต

3)            ความสามารถในการตัดสินใจต่าง ๆ

4)            ความสามารถในการจัดทรัพยากรเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในวัคถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

คนบางคนเป็นผู้มีมติปัญญาดี  มีพลังสูง  มีความสามารถเฉพาะยอดเยี่ยม และอื่น ๆ  แต่ก็

ดำเนินชีวิตอย่างปราศจากเป้าหมาย  ทั้งนี้เพราะบุคลผู้นั้นขาดวัตถุประสงค์และแผนในการดำเนินชีวิต   คนบางคนทีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และมีแผนในการดำเนินชีวิต   แต่ชีวิตดำเนินไปด้วยความเชื่องช้าเสมือนกับการว่ายทวนน้ำ   ทั้งนี้เพราะบุคคลผู้นั้นไม่สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกได้   และบางคนมีทั้งทรัพยากร   มีวัตถุประสงค์  และมีความเข้าใจในสภาพแวดล้อม   แต่ก็ขาดความสามารถในการตัดสินใจเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่   กรณีตัวอย่างที่กล่าวแล้วต่างชี้ให้เห็นถึงชีวิตที่ไม่มีแผน   หรือไม่มีความสามารถในการใช้แผน   ฉะนั้นผู้ที่มีลักษณะในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิตอย่างมีคุณค่า

 

ประเภทของแผน

            แผนจำแนกออกได้เป็น  2  ประเภทหลัก  และแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นแผนย่อยอีกหลายชนิด   ดังจะกล่าวต่อไปนี้

            แผนประจำ  (Standing  Plan) 

            แผนประจำ   หมายถึง  แผนซึ่งมีระยะเวลาในการใช้เป็นเวลานาน   อาจยาวนานเท่ากับอายุของหน่วยงานเอง   เป็นแผนซึ่งเป็นแนวคิดอย่างหยาบ ๆ  ที่ไม่มีรายละเอียดในการดำเนินงานมากนัก  แผนงานประจำจำแนกออกเป็น   นโยบาย  (Policy)  มาตรการ  (Procedures)และข้อบังคับ   (Rules)

               นโยบาย   (Policy)  หมายถึงแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นทิศทางในการปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจ  การกำหนดนโยบายของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะต้องเกิดจากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ทั้งหมดของหน่วยงานนั้น

                 มาตรการ   (Procedures)    หมายถึงการดำเนินงานตามลำดับขั้นที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จของความต้องการ   หรือโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะ   ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการกระทำก็คือตัวบ่งชี้ว่าทำอย่างไร   นโยบายจึงบรรลุตามที่ต้องการ

                 ข้อบังคับ    (Rules)   หมายถึง  แนวทางที่กำหนดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อให้บุคคลได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดตามลักษณะของงาน   เช่น  ข้อบังคับให้สวมหมวกในขณะทำงานก่อสร้าง  เป็นต้น

                 อย่างไรก็ดี  แต่ละชนิดของแผนงานประจำแม้จะต้องนำไปใช้ด้วยระบบเวลายาวนาน   แต่ละชนิดของแผนประเภทนี้มีความยืดหยุ่นแตกต่างกันไป   กล่าวคือ   นโยบายจะสามารถยืดหยุ่นได้มาก   ส วนข้อบังคับจะไม่ยืดหยุ่นหรือยืดหยุ่นได้น้อยมาก    ซึ่งสามารถแสดงโดยสรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

                                                       

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           

                                แผนประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติงานหนึ่งงานใดโดยเฉพาะแล้วล้มเลิกไป  เมื่อการดำเนินงานตามแผนนั้นเสร็จหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการแล้ว  แผนประเภทนี้ประกอบด้วย  แผนงาน   (Programs)      โครงการ    (Projects)     และแผนงบประมาณ        (Budgct  Plan)

แผนดังกล่าวในช่วงการดำเนินงานสั้น ๆ  ตามที่ถูกกำหนดขึ้น

                                แผนงาน    (Programs)      หมายถึงแผนซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการให้บรรลุถึงงานหนึ่งงานใด  ตามภารกิจขององค์การ  เช่น  โรงเรียนแบ่งภารกิจออกเป็น   งานการจัดการเรียนการสอน   งานการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน   งานการบริหารกิจการนักเรียน   และอื่น ๆ   ซึ่งแต่ละงานจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ๆ  หลายกิจกรรม   ดังนั้นการกำหนดแนวทางให้แต่ละกิจกรรมย่อยดำเนินงานเรียกว่า  แผนงาน   แผนงาน  อาจมีอายุระหว่าง  1 – 5  ปี

                                โครงการ   (Projects)     หมายถึง  แผนซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการให้บรรลุถึงกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของแผนงาน   โครงการจะมีรายละเอียดชัดเจนและอายุอาจมีช่วงอายุระหว่าง   1 – 3   ปี

                               

 

 

 แผนงบประมาณ        (Budgct  Plan)    แผนชนิดนี้เป็นทั้งแผนและเครื่องมือการ

ควบคุมแผน   โดยปกติแผนงบประมาณจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสมอ   แผนชนิดนี้มีอายุสั้นที่สุดอาจเป็นเดือน  หรือไม่เกินหนึ่งปีถ้าถือตามระบบงบประมาณของประเทศไทย

                                สรุปได้ว่าแผนเฉพาะกิจหรือแผนใช้ครั้งเดียวจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนประจำเสมอ   เพราะแผนประจำจะบอกทิศทางการดำเนินงานอย่างกว้าง ๆ  ขององค์การ    ซึ่งผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างแผนปฏิบัคิการหรือแผนเฉพาะกิจขึ้นมารองรับแผนประจำเหล่านั้น

 

สรุป

                                กระบวนการวางแผนเป็นศาสตร์ในการกำหนดและเป็นศิลป์ในการนำไปใช้  เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรในปัจจุบันเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในอนาคต  การวางแผนมีความสำคัญและมีค่าต่อองค์การ   ทั้งที่เป็นองค์การขนาดใหญ่  และองค์การขนาดเล็ก

                                การวางแผนเป็นระบบหรือกระบวนการในการดำเนินการกับข้อมูล  ทั้งระบบหรือกระบวนการประกอบด้วยข้อมูลใส่เข้า   กิจกรรมที่ปฏิบัติต่อข้อมูล   ผลที่ได้รับ  และข้อมูลส่วนที่ย้อนกลับ  ส่วนสำคัญของกระบวนการวางแผนคือ

1. การสร้างสมมติฐานในอนาคตโดยอาศัยพลังภายนอก  พลังภายในองค์การและแนวโน้มที่มีอิทธิพลต่อองค์การ

2.  การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาวซึ่งระบุให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปของบุคคลและขององค์การ

3.  การพัฒนากลยุทธ์ซึ่งจะทำให้องค์การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีที่สุด  โดยใช้พลังภายนอกและภายในอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

4.  การกำหนดเป้าหมายระยะปานกลางซึ่งจะชี้เฉพาะความปราถนาที่จะให้องค์การบรรลุถึงความสำเร็จตามเวลาที่ได้ระบุหรือกำหนดไว้

5.  การกำหนดรายการปฏิบัติงานเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเหมาะสมเพียงพอที่จะให้การดำเนินงานบรรลุถึงเป้าหมาย

6.  การสนับสนุนแผน

7.  การปฏิบัติการกับกลุ่มข้อมูลย้อนกลับ  เพื่อให้ผลของการสนับสนุนแผนสามารถเปรียบเทียบได้กับเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว

การวางแผนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการคือ  จุดหมายของ

การวางแผน   วิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล   การกำหนดทางเลือกในการวางแผน   การจัดสรรทรัพยากรในการวางแผน   การสนับสนุนการทำแผนไปใช้  และการควบคุมประเมินผลการปฏิบัติตามแผน  หรือการวางแผนประกอบด้วยการจัดร่างทำแผน   การชี้แจงแผน   การปรับแผน  การนำไปใช้  และการควบคุมแผน

                                ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการวางแผน   กล่าวคือผู้บริหารจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน   สามารถวางแผนแม้ในหน่วยงานย่อย  และที่สำคัญจะต้องมีความสามารถเพื่อการดำเนินชีวิต

                                กระบวนการวางแผนมีขั้นตอนที่สำคัญหลายขั้นตอนตามลำดับดังนี้   ขั้น

คำสำคัญ (Tags): #การวางแผนวาน
หมายเลขบันทึก: 459524เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท