การนอนมีความสำคัญอย่างไรและนอนท่าไหนดีที่สุด


การนอนมีความสำคัญอย่างไรและนอนท่าไหนดีที่สุด

การนอนมีความสำคัญอย่างไรและนอนท่าไหนดีที่สุด

1. ทำไมการนอนจึงสำคัญ
          การนอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุกส่วนได้พักผ่อนอย่างเต็มที่  พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป  เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้ทำงานผิดพลาด  ทำงานได้น้อยลง  คุณภาพงานต่ำกว่าปกติ  และมีงานวิจัยในต่างประเทศ  พบว่า  คนที่นอนน้อยกว่า  4  ชม. หรือนอนมากกว่า 10  ชม.  ต่อคืน เป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ  คนที่นอนไม่เพียงพอนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด  โรคหลอดเลือดเมื่ออายุมากขึ้น  และการนอนระหว่าง 21. 00-22.00 น. จะได้ประโยชน์มากที่สุด  เพราะโกร๊ธ  ฮอร์โมน ( growth homone)  หลั่งออกมาอย่างเต็มที่ในช่วง 22.00-24.00  น.  ช่วยซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย  และควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง  ต่อวัน

                                       
2. นอนหลับท่าไหนดีที่สุด
          การนอนมีความสัมพันธ์กับกระดูกสันหลัง เพราะหากนอนผิดท่า  เช่น  นอนงอตัวหรือนอนบิดตัว  ติดต่อกันหลายๆ ปี  อาจทำให้กระดูกสันหลังเลื่อนออกนอกแนวระนาบ  ผิดรูป  หรือคดงอได้  ท่านอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอนหลับสนิท ตื่นนอนอย่างสดชื่นและไม่ปวดเมื่อย

          - นอนหงาย ควรใช้หมอนหนุนหัวแบบต่ำเพื่อให้ต้นคออยู่แนวเดียวกับลำตัว ป้องกันการปวดคอจากนอนคอพับหรือนอนเงยคอมากเกินไป  แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก  หัวใจทำงานลำบากขึ้น การนอนหงาย  ยังอาจทำให้ผู้มีอาการปวดหลังมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย

          - นอนตะแคง  การนอนตะแคงขวาช่วยให้หัวใจทำงานสะดวก  และอาหารที่ค้างในกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี  ช่วยลดอาการปวดหลังได้ทางหนึ่ง  แต่การนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เสียดลิ้นปี่ เพราะอาหารย่อยไม่หมดและค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร  หญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับกระดูกสันหลังและเส้นเลือด แดงใหญ่กลางลำตัว

          - นอนคว่ำหน้า  อาจทำให้หายใจติดขัดและปวดต้นคอ  เพราะคอแอ่นมาทางด้านหลังหรือบิดไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานๆ ถ้าต้องนอนคว่ำหน้าควรใช้หมอนรองใต้หน้าอกเพื่อไม่ให้ปวดเมื่อยต้นคอ

ขอขอบคุณtham-manamai.blogspot.com/2009/04/5_26.html

หมายเลขบันทึก: 459490เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท