ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เครือข่ายหมอพื้นบ้านอุดรกับงานมหกรรมสมุนไพรครั้งที่ 8


ยาไทย เด็กใช้ได้ ผู้ใหญ่ใช้ดี

สรุปการเข้าร่วมกิจกรรมในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 8

ยาไทย เด็กใช้ได้ ผู้ใหญ่ใช้ดี

 

1.กิจกรรมร่วมเสวนา

1.ระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องจริงไม่ใช่ฝัน

                นายสมชาย ชินวานิชย์เจริญ ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา ในวันที่ 1 กันยายน 2554 ห้องฟินิกซ์ 3 – 4    “ ระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องจริงไม่ใช่ฝัน”  ซึ่งการดูแลสุขภาพในท้องถิ่นนั้น มีกลไกหนึ่งที่อยู่ในชุมชนมาเป็นเวลานาน กลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวัฒนธรรมของชุมชน เป็นที่พึ่งทางกาย ซึ่งมีโรคพื้นบ้านหลายชนิดที่ยังรับใช้ความเจ็บป่วยในชุมชนอยู่ การศึกษานี้มุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจระหว่างระบบการแพทย์พื้นบ้านกับระบบการแพทย์กระแสหลัก เพื่อให้มีความเชื่อมโยงถึงกันด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในแง่ของการเป็นที่พึ่งทางใจแล้ว หมอพื้นบ้านเป็นคนในชุมชนกับคนป่วย มีลักษณะ พื้นเพทางวัฒนธรรมเดียวกัน ความรู้สึกนึกคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมมีความเข้าใจความรู้สึกของคนป่วย  

วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง

หน้าที่หลัก ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ (หมอพื้นบ้าน) ให้มีศักดิ์และศรีในสังคม

เป้าหมาย

  • ซอกหาคน
    • การรับรองสมาชิก
    • การผลักดันให้สมาชิกได้รับการรับรองในระดับ ชุมชน ตำบล อำเภอ
  • ค้นหายา
    • จัดทำสวนสมุนไพรของชมรม
  • สร้างศรัทธา
    • การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของสมาชิก เบื้องต้นมุ่งเน้นที่กลุ่มหมอยาสมุนไพร
    • การพัฒนาการให้บริการของสมาชิก
  • หาแนวทำ
    • การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ที่บ้านสมาชิก หมอพื้นบ้าน
    • การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลางในระดับตำบล / อำเภอ

ระบบสุขภาพท้องถิ่น จากหนังสือระบบสุขภาพท้องถิ่น : อนาคตระบบสุขภาพไทย เรียบเรียงโดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์  กล่าวถึง  “ทิศทางการสร้างระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนต้องมีการจัดการด้านสุขภาตั้งแต่ในระดับย่อยที่สุดของสังคน คือท้องถิ่น”  ซึ่งชมรมหมอพื้นบ้าน สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหมอพื้นบ้านในพื้นที่ 5 ตำบล มีหมอพื้นบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม 115 คน 4  กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ยาสมุนไพร 88 ตำรับ กลุ่มที่ใช้วิธีเป่าเพื่อการรักษา  46 ตำรา กลุ่มที่ใช้การนวด 3 คน และกลุ่มหมอตำแย 9 คน จัดกลุ่มอาการที่ยังดำรงการรักษาในชุมชนมีชาวบ้านที่เจ็บป่วยไปหารวมถึง 50 อาการ 150 วิธีการรักษา ซึ่งนำกระบวนการจัดการความรู้เพื่อสังคมมาปรับใช้ตั้งแต่ การรวบรวมความรู้ , การสังเคราะห์ความรู้ ,การสื่อสาร และการแปรรูปข้อมูล , กระบวนการเคลื่อนไหวจุดพลุในพื้นที่ , และพื้นที่รูปธรรมในการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดจากวิทยาลัยการจัดการทางสังคม(วจส.) ซึ่งคนทำงาน ได้แก่คณะกรรมการชมรม เจ้าหน้าที่ในฐานะพี่เลี้ยง ได้ร่วมกันวิเคราะห์การทำงานที่ผ่านมา และจากความตั้งใจพื้นฐานจากสโลแกน “ซอกหาคน ค้นหายา สร้างศรัทธา หาแนวทำ” นั้น พี่ชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นคนทำงานในพื้นที่ เป็นประธานเครือข่ายใบชะโนด (ในขณะนั้น) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดเวทีหมอพื้นบ้านสัญจร เคลื่อนไปตามตำบลต่าง ๆ เพื่อ “จุดพลุในพื้นที่” เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้รู้จักความเป็นหมอพื้นบ้าน   แต่ชมรมคิดว่านั่นเป็นเพียงกิจกรรมที่สร้างขวัญกำลังใจให้หมอพื้นบ้านเท่านั้น ได้ “อุ้มลุ้มตุ้มโฮม”  ได้ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้”  แต่ยังไม่สามารถที่จะหาจุดยืนให้หมอพื้นบ้านในชุมชนได้ดูแลสุขภาของคนในชุมชนอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี คนทำงานเลยได้มาคุยกันว่า “หากจะให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน” คงต้องมีการจัดระบบการดูแลสุขภาพของอาการความเจ็บป่วยที่ชุมชนยังคงพึ่งพาหมอพื้นบ้านในชุมชนอยู่ โดยนำรูปแบบของระบบประกันสุขภาพมาปรับใช้  จึงได้เริ่มกระจายแนวคิดในการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลการรักษาของหมอพื้นบ้าน โดยให้มีการบันทึกการรักษาโดยหมอพื้นบ้านเองหรือผู้ช่วยหมอ โดยมีการมอบค่าตอบแทนให้แก่หมอพื้นบ้านในเครือข่าย ทั้งนี้จากข้อมูลการดูแลอาการเจ็บป่วยของหมอพื้นบ้านในชุมชน  ทำให้ได้รายละเอียดของการดูแลสุขภาพท้องถิ่นในแบบฉบับของหมอพื้นบ้านที่ชัดเจนขึ้น ทั้งลักษณะอาการความเจ็บป่วย และวิธีการรักษาที่ลุ่มลึก และละเอียดมากขึ้น   โดยมีขั้นตอนที่ปรับปรุงแล้ว ดังนี้

1.ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

เมื่อมีคนป่วยไปหาหมอ หมอ หรือผู้ช่วยจะทำการเก็บข้อมูลคนไข้ที่ไปหาหมอยา ตามแบบที่กำหนด โดยบันทึกข้อมูลทั่วไปชื่อที่อยู่ , อาการการวินิจฉัยโรคแต่ละโรค / การวิจัยโรคโดยให้หมอเล่าถึงขั้นตอน กระบวนการตั้งแต่คนไข้มาหาที่บ้าน หรือพบคนไข้ครั้งแรก ว่ามีกระบวนการอย่างไร โดยละเอียด ได้แก่ สิ่งที่แสดงออกมาภายนอกให้หมอได้เห็นว่าคนไข้เป็นโรคนั้น , สิ่งที่หมอต้องซักถามจากตัวคนไข้ , กระบวนการรักษา – หลังจากวิจัยโรคของคนไข้แล้ว มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร ตั้งแต่เริ่มตั้งคาย จนกระทั่ง คนไข้หายป่วย  แต่ละกระบวนการนั้นมีความรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง มีคาถาหรือไม่ กรณีตำรายา ให้ระบุ ชื่อสมุนไพร  ส่วนที่ใช้ จำนวน น้ำหนัก  เก็บจากไหน คนไข้จะใช้ได้อย่างไร กิน ทา  ต้ม บด  , การติดตามการรักษา การดูว่าอาการดีขึ้นเป็นอย่างไร หายเป็นอย่างไร ดูตรงไหน ในลักษณะของบันทึกประจำวัน หรือบันทึกทุกครั้งที่มีการพบกัน

2.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ประสานงานระดับตำบลรวมข้อมูลของแต่ละเดือนในระดับตำบล ทุกวันที่ 25 ส่งให้เจ้าหน้าที่สนามรับข้อมูลจากแต่ละตำบล ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล นำมาลงแบบบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งจัดทำหนังสือปะหน้าถึง อบต. / สอ.

3.ขั้นตอนการรับรองข้อมูล

ผู้ประสานงานระดับตำบลนำข้อมูลดังกล่าวไปผ่านเรื่องให้ อบต. , สอ.ทราบ

 

ทั้งนี้ในเรื่องของคน จะมีคนหนุน คนนำ คนทำ ในเรื่องของการจัดการ ก็จะคึดนำ เฮ็ดนำ แต่ไม่ครอบงำไม่ทำให้ เพื่อเป็นการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเคารพความคิดของชุมชน

 

 

 

2.ปลูกยารักษาป่า ปลูกจิตอาสา รักษาชุมชน

            พ่ออำนวย พลลาภ ประธานเครือข่ายหมอพื้นบ้านอุดรธานี ได้ร่วมเสวนา เรื่อง “ปลูกยารักษาป่า ปลูกจิตอาสา รักษาชุมชน” โดยวิเคราะห์ชมรมเราซิ

  • สมาชิกและกรรมการทราบวัตถุประสงค์ของชมรมเราแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • เรามีการการกำหนดกิจกรรมเหมาะสมแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • เรามีวิธีการทันสมัยแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • สมาชิกและกรรมการทราบบทบาทและหน้าที่มีความรับผิดชอบแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • สมาชิกและกรรมการทราบกฎระเบียบและเห็นคุณค่าแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • ส่งเสริมควบคุมให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • สมาชิกและกรรมการมีความเข้าใจกันและกันแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • เรามีระบบการสื่อความที่ดีแล้วหรือยังเรามีความร่วมมือกันแล้วหรือยัง สถานการณ์เป็นอย่างไร

 

แนวทางการเคลื่อนงาน

                หน้าที่ของชมรมคือการเป็นคุณอำนวยและคุณประสานให้แก่สมาชิก เป็นคุณกลางระหว่างสมาชิกกับสิ่งแวดล้อมทั้งมวล  (ทุกภาคส่วน) ว่างั้นเถอะ

            ซึ่งในระยะที่ผ่านมา 2 – 3 ปี เครือข่ายหมอพื้นบ้านได้ร่วมดำเนินการสำรวจเส้นทางเดินศึกษาสมุนไพร ในอำเภอบ้านดุง 14 พื้นที่ป่า ส่วนใหญ่จะเป็นในวัด แต่ยังไม่มีรูปแบบการจัดการที่ชัดเจน ต่อมาในปี 2554 ได้ร่วมกับงานการแพทย์แผนไทย สสจ.อุดรธานี  มีพื้นที่ต้นแบบคือ วัดป่าดงไทรทอง – คำหัวแฮด ร่วมกับอาสาสมัครพิทักษ์ป่า  โดยมีอาสาสมัครพิทักษ์ป่าคำหัวแฮด กับน้องกุ้ง น้องฟ้า ที่ผ่านการอบรม TKDI มาเป็นวิทยากรหลัก ได้รับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่คือคุณอภิชาติ และน้องวรรณภา (ตุ๊ก)  มีนักเรียนจาก รร.ทุ่งฝนพัฒน์  15 คนมาร่วม  แบ่งเป็นการสำรวจ GroundCheck ติดป้ายสังกะสี โดยการผูกลวด ซึ่งไม่ควรผูกแน่นจนเกินไป ลงแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลพรรณไม้  เพื่อทำแผนที่ทางเดินศึกษาสมุนไพร บนพื้นที่ 72 ไร่ 72 ตารางวา  จำนวน 201 ชนิด  นักเรียนอีก 4 กลุ่ม พร้อมกับอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ลงแปลงสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพแปลง 40*40 เมตร ในส่วนของไม้ใหญ่  1 แปลง  ไม้หนุ่ม 16 แปลง และไม้เล็ก 16 แปลง  นำข้อมูลในแบบฟอร์มมาจัดลงในแฟ้ม พร้อมกับข้อมูลสรรพคุณ  ซึ่งค่ายต่อไปน่าจะเป็นการเติมข้อมูลทางพฤกษศาสตร์และการคลายลวด โดยอาศัยแฟ้มพรรณพืช ประกอบด้วย แฟ้มเก็บข้อมูลไม้เล็กกลางใหญ่ในแปลงสำรวจ 40*40 พร่อมกับแผนที่วัดและแผนที่ทางเดินศึกษาสมุนไพรที่มีการจับพิกัดไว้แล้ว  แฟ้มข้อมูลสมุนไพรตามทางเดินแยกรายชนิด  รูปภาพแปลงทั้ง 16 แปลง พร้อมกับรูปเส้นทางเดินคร่าว ๆ

ไม้ใหญ่ ที่พบ40 ชนิด

 

2.กิจกรรมลานวัฒนธรรม

1.ลานนวด 4 ภาค นั้น สาวิตตรี หนันอ้าย รพสต.นาไหม , พัชรี ทายิดา รพสต.จอมศรี , อธิศักดิ์  กะลาม รพสต., วรรณภา กุลพลเมือง สสอ.ทุ่งฝน มีบทบาทในด้านการลงทะเบียนและซักประวัติคนที่มานวด

 

2.สาธิตภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอุดร มีการเป่าโดยพ่ออุ้ย มะนินศรี มีพ่อสมยา รัตนพลธีเป็นพี่เลี้ยง, การแทกโสก โดยพ่อผอง ผูกจิตต์ , และยาฝนแก้กินผิด โดยพ่อกาทอน อ้อมกอกุล 

 

3.บ้านหมอยา เครือข่ายหมอพื้นบ้านอุดรธานี

                ในวันที่ 4 กันยายน 2554 เครือข่ายหมอพื้นบ้านอุดรธานี รับผิดชอบในการนำเสนอบ้านหมอยา โดยมีกิจกรรมสาธิตการขึ้นบ้านแบบท้องถิ่นอิสาน (มีไก่ขันโอ๊ก)  สาธิตยาสมุนไพร และเกมส์ทดสอบความรู้ “15 สุดยอดยาสมุนไพร ในบ้านหมอ”

 

4.รพสต.จอมศรีกับระบบสุขภาพชุมชน

มีโครงการดีดี ได้แก่ คาราวานหมอพื้นบ้านเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต , จัดคลินิกหมอพื้นบ้านทุกวันศุกร์ , เวทีรับรองหมอพื้นบ้าน

 

ถอดบทเรียนการทำงาน

1.ด้านการจัดการ มีการเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร ใบงาน และมีความร่วมมือเป็นอย่างดี จากทุกคน ในส่วนของการสาธิตยาสมุนไพรไพรนั้น มีการตกลงกันว่าจะไม่เน้นการจำหน่าย จะต้องมีการพูดคุยให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจ และเมื่อเกิดรายได้ให้นำมารวมกันเป็นกองกลาง เพื่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ โดยมีนายจำรัส โกสุม เป็นผู้จดบัญชี

2.ด้านคนทำงาน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ โดยพ่ออำนวย ได้จัดให้พ่อสมยา ช่วยเหลือ พ่ออุ้ย พ่อเข็มพร ช่วยเหลือพ่อผอง และพ่อกาทอน  สาธิตเรื่องยาสมุนไพร แก้กินผิด

หมายเลขบันทึก: 459415เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท