ลองวิเคราะห์การจัดการความรู้สำหรับชาวพุทธ


เนื้อหาจำนวนมากที่ศาสดาของศาสนาพุทธได้บอกไว้เพื่อให้คนที่เห็นดีกับพระองค์ได้ทดลองนำไปปฏิบัติ

เมื่อพิจารณาจากแนวคิดเรื่องปลาตะเพียน หรือ ปลาทู ที่ถูกตัดออกเป็น ๓ ท่อนแบ่งเป็น ท่อนหัว ท่อนกลาง และท่อนหาง สิ่งเหล่านี้เป็นอย่างไร

ท่อนหัว คือ เป้าหมาย

ท่อนกลาง คือ การลองปฏิบัติ / ความพยายามในหลากหลายวิธีเพื่อไปสู่เป้าหมาย

ท่อนหาง คือ คลังความรู้ / พลังขับเคลื่อน

ซึ่งชาวพุทธพอจะวิเคราะห์ออกได้ดังนี้

ส่วนหัวคือ นิโรธ ได้แก่ความพ้นจากปัญหาทั้งหลายทั้งปวง แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ ปัญหาความทุกข์ของความเป็นคนและปัญหาความทุกข์ที่ปิดบังม่านนัยตาความหลุดพ้น

ท่อนกลาง คือ มรรควิธี ได้แก่ การลองปฏิบัติ / วิธีการของการปฏิบัติมีหลายหลายวิธี

ท่อนหาง คือ คลังพระไตรปิฎก / แนวคิดของผู้รู้ / ผลการปฏิบัติของผู้รู้

นั้นย่อมหมายความว่า ๑) เรามีเป้าหมาย และเป้าหมายที่ว่านี้คือสิ่งที่ผู้รู้จำนวนหนึ่งลองปฏิบัติและเห็นผลมาแล้ว ๒) จริตของแต่ละคนแตกต่างกัน ดังนั้นต้องหาวิธีการหรือประยุึกตวิธีให้เหมาะสมกับจริต ๓) เก็บประสบการณ์ผ่านการลองผิดลองถูกเป็นบทเรียนทบทวนเพื่อพัฒนาให้ไปสู่เป้าหมายที่ควรจะเป็นให้ได้

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาความคิด
หมายเลขบันทึก: 45914เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • จริตของคน มีแตกต่างกัน ยากที่จะทำให้จริตของคนตรงกันได้
  • ดังนั้น ต้องเลือกงานให้ตรงจริตของคน  จริงๆๆด้วยค่ะ

มีหลานให้ป้าอ้อยหรือยังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท