โครงการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานปี 54


ถึงแม้ฉันจะเหนื่อยกายในการทำงาน แต่ความรู้สึกที่ฉันได้รับ นี่รึเปล่านะ...ที่เรียกว่าอิมบุญ

ตอน   เหนื่อยกาย...สุขใจ

               ปีนี้ เป็นปีที่4 แล้วที่ฉันทำโครงการตรวจตาผู้ป่วยเบาหวาน

จากประสบการณ์ที่เราได้รับจากปีทีผ่านมาทำให้ปีนี้ฉันและทีมคลินิกพิเศษได้

วางแผนและเตรียมการอย่างรัดกุม สิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาในปีที่แล้ว เรานำมาปรับปรุง

แก้ไข ทุกอย่างไม่ว่าการประสานงาน  ประชุมชี้แจง กับทีมเจ้าหน้าที่แต่ละอนามัย

         การประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ป่วยทราบ   รวมทั้งการทำหนังสือแจ้งไปทางผู้ใหญ่

บ้าน ทุกอย่างดูช่างราบรื่นหนังสือจำนวน 115 ฉบับที่ฉันต้องส่งให้ผู้นำชุมชน

 แต่ละหมู่บ้าน ได้ฝากไปกับผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานแต่ละ

หมู่บ้าน ครบทั้ง 115 หมู่บ้านภายใน ระยะเวลา2 วัน 

ส่วนกล้องถ่ายภาพจอประสาทตา ก็เป็นความโชคดีที่ รพ.ชุมแพให้ยืม รวมทั้งอบรม

การใช้เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตาให้ด้วย  โดยมี น้องเสนีย์จากงาน ER

(เจ้าหน้าที่กู้ชีพ)ไปเรียนรู้ด้วยกัน แต่ด้วยความที่ฉันไม่ถนัดในเรื่องการใช้

คอมพิวเตอร์ จึงยกหน้าที่ถ่ายภาพให้เป็นของน้องเสนีย์

และโชคดีอีกหนึ่งเรื่องคือกรมการแพทย์ส่งหนังสืออบรมการคัดกรองภาวะแทรก

ซ้อนทางตาประจำปี 2554 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายในปีนี้พอดี  โดยไม่มีค่าลงทะเบียน

ฉันจึงตัดสินใจไปอบรม พร้อมกับพี่โหม่ง ที่ กรุงเทพในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ต้องบอกว่าเป็นการอบรมที่ดีมาก และเกิดประโยชน์กับงานดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ของเราเป็นอย่างยิ่ง   

 

          2 วันสำหรับการอบรม มันทำให้ฉันมั่นใจในการทำงานมากขึ้น

ฉันบอกกับทีมอาจารย์ผู้สอนว่า กลับมาฉันจะใช้ความรู้ที่อาจารย์สอนมาทำให้เกิด

ประโยชน์กับ อำเภอสีชมพู เพราะอำเภอเราอยู่ห่างไกลตัวจังหวัดที่สุด

และเดือนสิงหาคมเรากำลังจะตรวจตาให้ผู้ป่วย เบาหวาน  ถ้าเราสามารถอ่านภาพ

จอประสาทตาได้เอง คัดกรองกลุ่มผิดปกติได้ ให้คำแนะนำผู้ป่วย  ในการดูแลตน

เองได้ จะเกิดประโยชน์มาก   

 

 

       อาจารย์สมศรี  นามวงศ์ (จาก รพ.ราชวิถี ) ยินดีกับสิ่งที่ฉันจะนำความรู้

ที่ได้จากการอบรม มาสานต่อ   และให้กำลังใจฉันในการปฏิบัติงาน ฉันยกมือไว้

อาจารย์ทีมผู้สอนทั้งอาจารย์จักษุแพทย์ และอาจารย์พยาบาล   

           กลับมาจากอบรมครั้งนี้ ฉันมีการบ้านทุกวันโดยการเรียนรู้การอ่านจอ

ประสาทตาผ่านทางอินเตอร์เนต   www.retina.no-ip.org/learn   ฉันใช้เวลาใน

การฝึกทำแบบฝึกหัด 2 สัปดาห์  คะแนนที่ทำได้ เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆฉันให้กำลังใจ

กับตัวเองว่า...เราต้องทำได้

        เมื่อทุกอย่างค่อนข้างพร้อมในการเตรียมการ   มันทำให้เราเริ่มนึกถึงผู้มา

รับบริการมากยิ่งขึ้น ...ทำยังไงเวลาที่คนไข้มาตรวจตา แล้วจะได้ไม่ลำบากใน

การหาอาหารสำหรับรับประทาน เพราะพอเรา หยอดตา เพื่อขยายรูม่านตาให้กับ

คนไข้แล้ว จะมีอาการตามัว ประมาณ 6 ชั่วโมง

             ฉันนึกถึงโรงทานที่วัด เวลามีงานบุญ คนบ้านเราชอบทำบุญ ด้วยความ

คิดที่ฉันอยากให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มาตรวจตา ได้มีอาหารกลางวันรับประทานโดย

ไม่ลำบากในการไปซื้อ หรือกลับบ้านทั้งๆที่ตามัว

             ฉันจึงไปปรึกษาพี่แสง  (การเงิน ) พี่แสงก็ใจดี รับในการทำโรงทาน

ให้  1 วัน โดยทีมของคุณยายประนต (แม่ของพี่แสง )

หลังจาก นั้นฉันก็ไปขอโรงทานจากคุณแม่ เกิ่ง  ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับยาประจำ

กับเรา    เมื่อคุณแม่ทราบเหตุผลในการทำโรงทานของเราคุณแม่ยินดี เป็นอย่างยิ่ง

(เพราะคุณแม่เกิ่งชอบทำโรงทานเป็นประจำ  สโลแกนของคุณแม่ คือหาเงิน

 ไว้ทำบูญ )  จะรับทำโรงทานให้เราในวันที่สอง ฉันรู้สึกดีใจมาก

ไม่ว่าฉันขอความร่วมมือกับใคร  ครั้งนี้มันดูง่ายไปหมดทุกอย่าง 

พี่แสง และคุณแม่แดง บอกเพื่อเป็นการempower ฉันว่า" เพราะเรามีความตั้งใจ

ที่จะทำให้กับคนไข้ทำให้ทุกอย่างราบรื่นไปหมด "(ฉันแอบปลื้ม และเห็นจะ

จริงตามคุณแม่แดงพูด )

          ฉันเริ่มขอความร่วมมือจากน้องประชาสัมพันธ์ในการประกาศแจ้งข่าวการ

รับบริจาคในการทำโรงทาน ใช้เวลาประกาศ เพียง 1สัปดาห์ ร่วมกับการเดินตาม

หน่วยงาน และร้านค้าในตลาดสดที่พอรู้จัก ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน

พี่แสงระวี แม่ค้าส้มตำในตลาด งดขายงดขาย ส้มตำ 1 วัน เพื่อมาตรวจตา และ

มาช่วยตำส้มตำแจกในวันนั้น แม่ค้าผักในตลาดซึ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานเช่นกัน

บริจาค มะละกอ พริก  มะนาว  ร่วมสมทบกับส้มตำพี่แสงระวี

 ร้านชุมพรพานิช คนไข้เบาหวานที่ฉันเคยดูแลแผลผ่าตัดให้ ทำกระเพาะปลา

มาแจก  2 หม้อใหญ่

 ร้าน เจส- มีน  คุณลุงจิตซึ่งเป็นพ่อ ของร้านซึ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

 ของเราทำ ขนมจีนน้ำยา มาสมทบ

 ร้านจินดาพานิช บริจาคน้ำจำนวน 10 โหล     

            ส่วนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลของเรา และผู้มีจิตเป็นบุญกุศลร่วมบริจาค

ทั้งหมดรวมแล้ว เป็นเงิน 14,000 บาท นอกจากนี้หน่วยงาน ERก็รวมกันซื้อขนม

 น้ำดื่มมาแจกเป็นอาหารว่างให้กับคนไข้ ทั้งสองวัน

          เจ้าหน้าที่ของเราทั้งพี่จ่อย พี่ วิ ( หัวหน้างานประกันสุขภาพ) ก็ช่วยกัน

ทำอาหารเลี้ยงคนไข้   ภาพที่ทุกคนเห็นรวมทั้งที่ฉันเห็น  ล้วนเป็นภาพที่น่าประทับ

ใจเป็นอย่างยิ่ง   และมันคงจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการร่วมกันทำความดีของพวก

เรา เพื่อผู้ป่วย

          จากความคิดเดิมที่เราจะเลี้ยงเพียงผู้ป่วยที่มาตรวจตา ด้วยอานิสงค์ที่พวก

เราช่วยกันบริจาค ทำให้เราได้ทำโรงทานทั้งสองวัน เลี้ยงทั้งผู้ป่วย และญาติ

ทั้งหมดที่มาโรงพยาบาล  รวมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสีชมพูของเราด้วย

 

         ถึงแม้ฉันจะเหนื่อยกายในการทำงาน  แต่ความรู้สึกที่ฉันได้รับ นี่รึเปล่านะ

 ที่เขาเรียกว่า อิ่มบุญ...  ฉันไม่รู้ว่าบุญมีลักษณะเป็นอย่างไร 

 แต่วินาทีนี้... ฉันรู้สึกอิ่มเอิบใจ  สุขใจอย่างบอกไม่ถูก..

ความสุขใจมันแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย...  

รู้สึกหายเหนื่อย...  และมีกำลังใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

ฉันภูมิใจ.... และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองทุกครั้งที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงาน

ที่เป็นประโยชน์ ให้กับคนไข้

 ....และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นที่นี่....

โรงพยาบาลของเรา .... โรงพยาบาลสีชมพู...

 

                                                         

 

 

                                                                                                        

หมายเลขบันทึก: 458736เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่สูงเนินก้ทำค่ะ

ลองแวะเข้าไปดูนะคะ

http://www.gotoknow.org/blog/kunrapee/421154

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท