ทำไมคนทำงาน...จึงเขียนงานตนไม่ได้


เราต้องการคือ สภาพจริงการทำงานที่เป็นจริงของเรามากกว่า

       วันนี้มีทำ work shop เรื่อง "สมรรถนะ หรือ competency" ของบุคลากรในกลุ่มงานเวชกรรมสังคม กลุ่มงานจิตเวช และฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์...เป็นการรวมกลุ่มกันโดย แม่กอบ หรือคุณอุไร วิรุฬบุตร นำทีมรวบรวมคนที่สนใจมาจัดทำ work shop โดยให้ดิฉันช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการนำในการทำ woke shop ครั้งนี้ ...

       จริงๆ แล้วเรื่องนี้ทางองค์กรเราจัด...เสริมความรู้ ประชุม สัมมนาวิชาการกันมาหลายครั้งต่อหลายครั้ง แต่พอมาลงมือเขียน competency กลับเขียนไม่ได้ ไม่เข้าใจ จึงเกิดคำถามว่า จัดอบรม เชิญวิทยากรมาตั้งหลายครั้งทำไมคนของเราจึงยังทำไม่ได้...ดังนั้น พอแม่กอบมาชวนให้ไปช่วยดิฉันจึงตกปากรับคำทันที...

...
       ช่วงก่อนลงมือทำนั้น ดิฉันก็เกริ่นนำถึง...แนวคิดการทำอย่างง่ายๆ พอเข้าใจโดยที่ไม่ใส่เนื้อหามากเกินไป เพราะว่าหากบรรยายมากไปคนฟังจะมึนงง...แต่เน้นการทำตามแนวเชื่อที่ว่า Learning  by  Doing ... หลังจากพูดถึงแนวคิดของการทำ competency เสร็จ..ก็เลยแยกกลุ่มและให้แต่ละคนลองเขียน competency ของตน...

...
       บางคนยังมีความสับสน...ว่าทำไมไม่เขียนตามมาตราฐานงานที่กระทรวงกำหนดมาเลย...ในกลุ่มเราก็เลยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปว่า...นั่นเป็นเพียงกรอบ...แต่ที่เราต้องการคือ สภาพจริงการทำงานที่เป็นจริงของเรามากกว่า...ดิฉันก็เลยให้ทุกคนเขียนงานของตนเองออกมาให้หมดก่อน...เพราะหากไปแตกรายละเอียดจาก พันธกิจ วิสัยทัศน์ คนทำงานก็จะยิ่งงงกันไปใหญ่...เลยเอาแบบง่ายๆ..ค่อยๆเขียน ค่อยเรียนรู้กันไป เพราะหากจะว่าไปแล้วงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็ล้อตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ของตนเองอยู่แล้ว...

...
       เราทำ work shop ประมาณ 3 ชั่วโมงในวันนี้...ความคุ้มค่าที่เกิดจากการประมาณของคนทำงานเอง...มองว่า..เข้าใจขึ้นเขียน competency ของตนได้ง่ายขึ้น ใกล้ชิดกับวิทยากร...และที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าจ้างวิทยากร (ฮา...)

หมายเลขบันทึก: 45848เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
อืมม์ ปัญหานี้เป็นกันเยอะครับ เพราะคนอบรมมาจากหลายสำนัก คิดต่าง ทำต่าง แต่พอได้ผลต่างกลับรับไม่ได้ แต่พอบอกให้ทำทางเดียวกัน ก็ไม่เอาอีก เฮ่อ

ดีใจจัง...ที่อย่างน้อยก็มีคนมาร่วมถอนหายใจ...แต่ถอนหายใจแล้ว...ไม่แล้วนะคะ...ต้องลงมือแก้ไขด้วย...

...อย่างที่กะปุ๋มทำนี่เราก็เริ่มที่จะเรียนรู้การแก้ไขแบบ micro มากกว่าที่จะไปเน้น macro ...เพราะหากเน้นอันหลัง...เหนื่อยคะ...

สู้เราพยายาม..เคลื่อนไปแบบเล็กๆ..แต่เจ๋งคุณภาพดีกว่า...ซึ่งบทพิสูจน์ในกลุ่มงานจิตเวช...ก็ออกมาแล้ว..โดยที่เราได้ผ่านการประเมินการรับรองคุณภาพว่าเป็นสถานบำบัดยาเสพติดที่ได้รับการรับรอง...

ตอนนี้ก้เริ่มขายไอเดียให้...กับหน่วยอื่น...แผนกอื่นคะ...ที่เริ่มเห็นด้วยในวิธีการของเราก็มีกลุ่มการพยาบาล กลุ่มเวชกรรมสังคม และฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์คะ...

อืมม์ ความคิดนี้เข้าท่านะครับ แม้จะช้าหน่อย แต่ก็ยั่งยืน

ใช่แล้วคะ..คุณคนไกล...เราเดินไปช้าๆ...ไม่เร่งรีบ...แต่หากว่าแต่ละก้าวนั้นล้วนมั่นคง...และก้าวอย่างรอบคอบขึ้นคะ...

....

ขอบคุณคะ...

กะปุ๋ม

เฮ้อ..อ่านของka-poomแล้วก็นึกถึงการเขียนJDของตัวเองที่ผ่านมา...ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก ภาพที่เป็นจริงกับภาพที่อยากให้เกิดมันก็ยังห่างกันอยู่ แต่อย่างที่ ดร.kapoomว่าเราเดินไปช้าแต่มั่นคงและรอบคอบนี่สำคัญจริงๆ

เย้!...พี่สาวของกะปุ๋มแห่งบำราศมาแล้ว...

โอ๊ย!...ดีใจจัง...

ขอบคุณนะคะ...ที่ยังจำกะปุ๋มได้...

...

รอๆ...อ่านบันทึกใน Blog พี่อยู่นะคะ...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

อ้าว...มาอีกทีเปลี่ยนเป็นฟ้าใหม่...เสียแล้ว...

ไม่เป็นไรคะ...ไม่เป็นไร...เลือดสีเดียวกัน...

คุยกันในนามชื่ออะไรก็ได้...

คิดถึงเสมอนะคะ...

...

JD ของกะปุ๋มเองก็ยังไม่ได้เขียนเลยคะ...

555...มัวยุ่งๆ...สอนคนอื่น...ของตัวเอง...

ดินพอกเต็มหางแล้วคะ...(ยิ้มๆๆ)

ดร. อานนท์ นัจสถาปนิก

Competency based training is an approach to learning where emphasis is placed on what a learner can do in the workplace as a result of their training. Learners who have successfully achieved competency will have the skills and knowledge they need to complete workplace activities in a range of different situations and environments, to an industry standard of performance that is expected in the workplace.

Competency-based training is usually based on performance standards that have been set by industry. Competency-based assessment materials are designed to ensure that each learner has achieved all the outcomes (skills and knowledge) required by each unit of competency. Competency based training allows for flexible entry and exit for learners enabling them to complete their studies much quicker. Once they have achieved competency in a unit of competency they can then move onto the next unit. Training can take place both on and off-the-job using a variety of delivery modes and methods.

ดร. อานนท์ นัจสถาปนิก
ถ้าอยากทราบรายละเอียดเชิงลึกของการเรียนรู้แบบ Competency base, eamil มาถามได้นะครับ สถาบันซึ่งผมเป็นผู้บริหาร Kent Institute, Australia เราสอนกันแบบ Competency base โดยยึดแนวทางของมาตรฐานการศึกษาเชิงวิชาชีพ (Vacational Education) ตามระเบียบของรัฐบาลออสเตรเลียครับ

ขอบคุณ ดร.อานนท์  นัจสถาปนิก..

ดอกเตอร์ทิ้งเมล์ไว้ที่ไหนคะ...กะปุ๋มหาไม่เจอคะ...น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเรื่องนี้ได้นะคะ

ขอบคุณคะ

ดร.อานนท์ นัจสถาปนิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท