จันทมณี
นางสาว จันทมณี ขวัญ แก้วมณี

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม


สัมมาทิฐิ



เหตุของการเกิดทิฐิที่ส่งผลมาจากกรอบของสังคมที่แวดล้อม 



                ทิฐิมีอยู่สองอย่าง
คือสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นจริงถูกต้องตามความเป็นจริง มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด
เห็นไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เป็นจะเอาแบบไหนดี ขึ้นอยู่กับการยึดมั่น ถือมั่น
ของแต่ละบุคคล ทิฐิ พอฟังก็รู้สึกไม่ดีแล้ว........ คนเราอาจจะยืดติดสิ่งใด
สิ่งหนึ่งมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสีย ตามมาก็ได้ (พยายามฝึกมองโลกในแง่มุมดีบ้าง
มันจะลดอาการนี้ลงได้บ้าง) การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเกิดมีทิฐิขึ้นคือถือเอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้งคิดว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่ถูกเสมอมีความมั่นใจในตนเองสูงเกินไปไม่ยอมรับฟังป็นที่ตั้ง 
เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นเอาแต่ใจตนเองเมาดูเหมือนว่าตอนนี้ข้าสึกกำลังบุกเข้าแล้วเมื่อนั้นถ้าความรู้สึกที่เกิดนั้นเป็นความรู้สึกที่เป็นสัมมาทิฐิก็ดีไปแต่ถ้าเมื่อไหร่เกิดทิฐิที่เรียกว่า  มิจฉาทิฐิ 
ถือว่าเวลานั้นเป็นเวลาอันตราย   อย่างกรณีตัวอย่างต่อไปนี้

          มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่งประกอบด้วย  พ่อ มีอาชีพเป็นข้าราชการครู  แม่  มีอาชีพทำสวน และมีลูกด้วยกัน  2  คน  ผู้ชายคนหนึ่ง ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งครอบครัวนี้แม่เป็นผู้มีบทบาททุกอย่างภายในบ้านทุกอย่างต้องฟังแม่คนเดียวเนื่องแม่เป็นผู้ที่คิดว่าตนเองมีฐานะร่ำรวยทุกอย่างต้องฟังแม่คนเดียว  แม่จะทำอะไรถูกไปเสียหมด สาเหตุที่คุณแม่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่าคุณแม่ถูกล้อมกรอบทางสังคมในการดำรชีวิตมาเช่นนี้  คือ สังคมทางบ้านสอนให้เป็นคนที่เห็นแก่ตัว  แย่งชิงของของคนอื่นมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นของพี่น้องกันเองหรือของคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติพี่น้อง  ซึ่งการได้มานั้นเป็นวิธีใดก็ได้   ส่วนคุณพ่อเป็นบุคคลที่มีนิสัยดี  มองโลกในแง่ดีตลอดเวลาไม่มีปากไม่มีเสียงแล้วคุณแม่จะว่าอย่างไร  อยู่มาวันหนึ่งลูกผู้หญิงก็ได้โตเป็นสาวแต่นิสัยจะเหมือนกับคุณพ่อเป็นบุคคลมองโลกในแง่ดี  ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่นเมื่อเป็นเช่นนี้จะไม่โดนใจคุณแม่สักเท่าไหร่นัก  แต่ลูกสาวก็พยายามดื้นรั้นที่จะไม่ทำตาใจแม่แต่ทั้ง  2 ก็จะไม่ได้พูดคุยปรับความเข้าใจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อกัน  ในระยะต่อมาลูกสาวมีผู้ชายมาชอบคบหากันแต่ผู้ชายนั้นฐานะไม่ค่อยสู้ดีนักเลยทำให้คุณแม่รับไม่ได้คอยขีดกั้นตลอดเวลาแม่ลูกสาวไม่ได้มีปัญหาจึงคบกันมาเรื่อย  ๆ คุณก็แสดงความไม่พอใจมากยิ่งขึ้นทุกวัน ระยะหลังคุณแม่จะไม่ให้ลูกสาวไปไหนมาไหนโดยลำพัง อยู่มาวันหนึ่งผู้ชายนั้นไปหาลูกสาวที่บ้านทำให้คุณแม่แสดงอาการโกรธมากได้ทุบตีลูกสาวโดยไม่ฟังเหตุผลใด  ๆ ทั้งสิ้น เมื่อสิ้นสุดการลงโทษของคุณแม่แล้ว  ต้วลูกสาวคิดหาวิธีประชดคุณแม่ด้วยวิธีกินยาฆ่าตัวตายในที่สิ้นสุดลูกสาวก็เสียชีวิต  คุณแม่ก็รู้เสียใจในภายหลัง  แต่หลังจากนั้นตัวคุณแม่เองก็ยังไม่ลดความคิดอันเลวร้ายไปกลั่นแกล้งฝ่ายผู้ชายทุกวิถีทางที่มาคบกับลูกสาวของตนเองและคิดว่าเป็นบุคคลที่ทำให้ลูกสาวเสียชีวิตในครั้งนี้    ไม่ใช่ตน

                ด้วยกรณีตัวอย่างที่กล่าวมานี้จึงทำให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของกระบวนการเรียนรู้นั้น ขอย้ำอีกครั้งว่า
จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ “วัยเด็ก” ที่บิดามารดา และ/หรือผู้ปกครอง
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ยิ่งถ้าอบรมสั่งสอนบนพื้นฐานของ “หลักเหตุผล” พร้อมทั้ง “แยกแยะ” ให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนด้วย “ห้ามใช้อารมณ์” อย่างเด็ดขาดเนื่องด้วยจะก่อให้เกิด “พฤติกรรมก้าวร้าว!” เมื่ออายุมากขึ้น   นอกเหนือจากพฤติกรรมต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ต่างเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมทั้งสิ้น แต่ก็ยังมี“พฤติกรรมเบี่ยงเบน” อื่นๆที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ เช่นเดียวกัน ไม่ว่า “ไม่ให้เกียรติ-ดูถูกผู้อื่น”หรือ “โกหก-ลวงโลก” แม้กระทั่ง “โกหกตนเอง!” และก็หลงคิดว่า “สิ่งที่หลอกลวงตนเองเป็นเรื่องจริง”
ซึ่งอันตรายที่สุด

                สรุปได้ว่า…. กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมกับคำว่าทิฐิก็เป็นแนวหนึ่งในวิถีชีวิตที่แต่ละคนจะเลือกมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต  ถ้าคิดดีทำดี… ก็ถือว่าเป็นสัมมาทิฐิ  แต่เมื่อไหร่ขาดสติ 
ไม่มีเหตุผล… ก็ถือเมื่อนั้นกำลังเกิด… มิจฉาทิฐิ…จบ



หมายเลขบันทึก: 458291เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท