ได้ความรู้เมื่อลงแปลงมัน


เปิดโอกาสให้เขาได้พูด ได้แสดงข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

 

จากการที่เราได้จัดเวทีเครือข่ายการเรียนรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ไปเมื่อเร็วๆนี้ จากการได้สังเกตบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนดีมาก โดยเฉพาะเกษตรกรต่างมีประสบการณ์การปลูกมันสำปะหลังกันมาแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ได้เห็นว่า มีเกษตรกรหลายรายได้นำประสบการณ์ดีๆของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆสมาชิกของเครือข่ายในครั้งนี้  เมื่อเราเปิดโอกาสให้เขาได้พูด ได้แสดงข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

 

          กระตุกต่อมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในการจัดเวทีเรียนรู้ในครั้งนี้ ทำให้นักส่งเสริมการเกษตรที่ได้เข้าร่วม  ได้เข้าใจในหลักของการมีส่วนร่วม การที่จะตั้งเป้าหมายในการทำงาน การพัฒนางาน หากขาดหลักการของการมีส่วนร่วมแล้ว การพัฒนางานนั้นมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ

 

         การร่วม หากจะพูดเพื่อให้เข้าใจง่าย ให้คิดเสียว่ามีอยู่ ๕ ร.  คือ ( ๑ ) รวมคน( ๒ ) ร่วมคิด ( ๓ ) ร่วมทำ ( ๔ ) ร่วมประเมิน ( ๕ ) ร่วมรับผลประโยชน์

หลักการนี้จะยังใช้ได้ดีอยู่นะครับ

 

         หากสังเกตบรรยากาศ ที่ทุกคุณมุ่งตรงไปที่เป้าหมายที่ตรงกัน คือจะไปแลกเปลี่ยนกับปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อ คุณสุชานันท์ จันทร์ปรี และดูแปลงปลูกมันสำปะหลังจริง เมื่อไปถึงก็น่าทึ่ง เพราะว่าเห็นบริเวณแปลงมันสำปะหลัง พื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่ มีทั้งการปลูกเป็นแปลงที่เป็นระบบเป็นแถวเป็นแนว และมีการปลูกเพื่อการศึกษาเป็นการปลูกทดลองเฉพาะต้น รอบๆขอบแปลง แทบจะไม่มีที่ว่างเลย มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ปลูกอย่างเต็มที่เลย  เป็นแปลงมันสำปะหลังที่ร่มรื่น

              

      

       คุณสุชานันท์  จันทร์ปรี และคุณสวัลย์ ขาวทอง ได้ทำการขุดดินบริเวณโคนต้นของมันสำปะหลัง ในแปลงทดลองพันธุ์ ของมันที่มีอายุประมาณ  ๓ เดือน  เพื่อให้สมาชิกเครือข่ายได้เห็นการสร้างหัวมันฯ การเจริญเติบโต(ขนาด)ของหัวมันฯ ว่ามีการเจริญเติบโตขนาดไหน ทิศทางการแทงหัว ไปทางไหน เท่าที่ได้รับทราบที่เป็นประสบการณ์องค์ความรู้ จาการทำแปลงทดลอง พบว่า การปลูกในระยะห่างจะทำให้ได้ผลผลิตมันมีหัวใหญ่ ได้น้ำหนักดี สิ่งที่สำคัญก็คือ เป็นการประหยัดท่อนพันธุ์ปลูกลงไปกว่า ครึ่งหนึ่ง การปลูกในระยะที่ห่างจะทำให้อากาศถ่ายเทในแปลงดีซึ่งจะทำให้ลดการระบาดของศัตรูพืช(เพลี้ยแป้งลงได้) ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ เราสามารถลงไปปฏิบัติงานในแปลงปลูกได้สะดวกคล่องตัวได้มากเช่นการใส่ปุ๋ย การฉีดพ่นฮอร์โมน หากพี่น้องเกษตรกรปลูกท่อนพันธุ์ถี่เกินไป จะทำให้หัวมันฯชนกันไม่ขยายมีขนาดเล็ก ได้นำหนักน้อย อีกประการหนึ่งก็จะเป็นการสิ้นเปลืองท่อนพันธุ์ไปมาก

 

 

            การประเมินก่อนจากกันในครั้งนี้ ทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ต่างได้รับความรู้ หลายๆเรื่อง เกี่ยวกับเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกมันสำประหลัง และได้เห็น ได้เรียนรู้ของจริงจากการปฏิบัติลงมือทำจริง ประกอบด้วย การเตรียมแปลงปลูก การคัดเลือกท่อนพันธุ์ การตัดท่อนพันธุ์ปลูก การปักท่อนพันธุ์ลงในแปลงปลูก  ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวที่ได้ผล ระบบการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย และการใช้ฮอร์โมน เทคนิคการผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง เป็นต้น ทุกๆคนมีความพอใจที่ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ และทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกันว่าความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องลงมือทำนั่นเองครับ

 

เขียวมรกต

๓ กย.๕๔

 

หมายเลขบันทึก: 458004เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบการเกษตรครับ

ชนิดนี้เชื่อมกินได้เปล่าครับ

  • สวัสดีครับลุงเขียว
  • บันทึกของผมภาพมีปัญหาครับ
  • ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
  • ขอบคุณที่นำรายละเอียดมาบอกต่อนะครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมกิจกรรมดีๆ ในบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้ด้วยนะคะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณค่ะ^^

  • ขอบคุณท่านอ.โสภณครับ
  • ที่เข้ามาลปรร.กันเหมือนเช่นเคย
  • มันฯชนิดนี้จะมีแป้งที่แข็งและกินไม่อร่อยเขาไม่นิยมเชื่อมกันครับ
  • แต่มันฯจะมีหัวมันฯที่เกษตรกรปลูกไว้เพื่อเชื่อมขายเมื่อก่อนเขาเรียกกันว่ามันฯห้านาทีครับ
  • ขอบคุณครับอาจารย์
  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่แวะมาเยี่ยมเยียนกันเหมือนเช่นเคย
  • ขอให้รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • ขอบคุณ คุณต้นเฟิร์น
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ยินดีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท