เกร็ดความรู้เรื่องสมองกับการเรียนรู้


การจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยจึงต้องเข้าใจหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และการเติบโตทางสมองด้วย

    ได้ฟัง น.พ.ยงยุทธ  วงศ์ภิรมย์ศานติ์  บรรยายเรื่องสมองกับการเรียนรู้  ในการอบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจ  จึงขอเก็บมาเล่าต่อ…
     สมองของคนเรามี  2 ส่วนคือ
       1.สมองส่วนคิด  มี 80 %  จะเกี่ยวข้องกับ IQ (ความรู้/ความเก่ง)  และ EQ (คุณธรรม/ความดี) ซึ่ง EQ  จะควบคุมสมองส่วนอยาก
       2.สมองส่วนอยาก  มี 20%  เป็นสมองที่เกี่ยวกับความต้องการ/สัญชาตญาณ   ถ้าสมองส่วนคิด (EQ) ควบคุมไม่อยู่  ก็จะเตลิดเปิดเปิงไปตามความอยากของสมองส่วนที่ 2 นี้ได้
       สมองของคนมีเซลล์หนึ่งแสนล้านเซลล์  มีใยประสาทเชื่อมโยงกัน  สมองส่วนที่มีการจัดระเบียบ  ใยประสาทจะเชื่อมโยงกัน  ใยประสาทส่วนไหนใช้บ่อยจะหนาตัวขึ้น  หากไม่ใช้ก็จะหายไป
       สมองจะเติบโตมากที่สุดช่วง 0-6 ปี   หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะลดลง  แต่มีการจัดระเบียบใยประสาทมากขึ้น  สมองจะเติบโตไปจนถึงอายุ 25 ปี  ซึ่งแต่ละช่วงอายุจะเติบโตต่างกัน  สมองแบ่งเป็น ซีกซ้าย(ภาษา  คณิต  เหตุผล)  กับซีกขวา (ดนตรี  ศิลป  มิติสัมพันธ์ ) 
        พ่อแม่คนไทยจะเป็นโรค  2 โรค  คือ
          1.โรคใจอ่อน   ชอบตามใจลูก  สอนลูกผิดๆ  เช่นเวลาลูกร้องไห้  ลงไปนอนดิ้น ก็จะเข้าไปอุ้มไปโอ๋  ทำให้เด็กเรียนรู้ถึงพฤติกรรมที่ได้รับการตอบสนอง  ก็จะทำบ่อยๆ  ไม่เหมือนพ่อแม่ฝรั่งที่เขาใจแข็ง
           2.โรคผีเข้าผีออก  อารมณ์ไม่คงที่  ทำให้เด็กสับสน 
                  พัฒนาการทางสมองของเด็ก  จึงสอดคล้องกับคำกล่าวของคนโบราณที่บอกว่า  วัยเด็กเหมือนกับผ้าขาวที่จะซึมซับสีต่างๆได้เร็วมาก  ถ้าจะใส่สีอะไรลงไปก็ติดทนยาวนาน 
                  ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยจึงต้องเข้าใจหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และการเติบโตทางสมองด้วย
     

หมายเลขบันทึก: 45792เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอยกมือเห็นด้วยค่ะ   นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานของครูยากขึ้น

        สมองกับการเรียนรู้  จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยครูก็รู้  แต่ทำไมการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 

        จะเป็นที่ตัวครูผู้สอน  ผู้บริหาร  หรือผู้ปกครอง  (คงไม่ใช่ตัวเด็ก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท