นิยามการศึกษาใหม่..เปลี่ยนลู่วิ่งเข้ามหา'ลัย เป็นลู่ทางหลากหลายอาชีพสร้างตัวผู้ประกอบการเอง


นิยามการศึกษาใหม่..เปลี่ยนลู่วิ่งเข้ามหา'ลัย เป็นลู่ทางหลากหลายอาชีพสร้างตัวผู้ประกอบการเอง

       นิยามการศึกษาใหม่..เปลี่ยนลู่วิ่งเข้ามหา'ลัย เป็นลู่ทางหลากหลายอาชีพสร้างตัวผู้ประกอบการเอง

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวในการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในฝันทั่วประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งรวมถึงประเทศไทย แต่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย 12 ปี พบว่ามีลักษณะของการขาดพลังไม่ถึงเป้าหมายที่พึงประสงค์ ยังไม่ถึงแก่นทำได้แค่เพียงเปลือก โดยมี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน ซึ่งมี 9 หมวดและต้องทำทุกเรื่อง และก็พิสูจน์แล้วว่าการใช้กฎหมายเป็นตัวปฏิรูปไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่การมีโรงเรียนในฝัน เป็นสิ่งที่สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า สิ่งที่ขาดหายไปในการปฏิรูปการศึกษา คือ จิตวิญญาณ เพราะการปฏิรูปการศึกษาไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยการสั่งการและการใช้กฎหมายเป็นตัวเดิน แต่ต้องใช้จิตวิญญาณ ซึ่งคือโรงเรียนเป็นตัวเดิน เพราะแต่ละโรงเรียนจะมีแนวทางไปตามบริบทที่แตกต่างกัน ไม่มีสูตรตายตัว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า จากการรับฟังความคิดของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ นับว่าเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาเป็นการมองการศึกษาเพื่อการศึกษา ที่มุ่งให้โอกาสและประเมินผลสำฤทธิ์ทางการเรียนไปที่จำนวนปีเฉลี่ยและอัตราการเข้าเรียน ซึ่งเป็นการกำหนดโดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อแบ่งชนชั้นของประเทศ ซึ่งเราก็ไปวิ่งตามโดยไม่ดูตัวเองโดยไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพ จึงส่งผลต่อคุณภาพทางการศึกษาอย่างที่เห็น แต่ต่อจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายทำการศึกษาเพื่ออาชีพ ซึ่งจะไม่คำนึงถึงจำนวนปี อัตราการเข้าเรียน แต่จะมุ่งไปที่คุณภาพการศึกษา เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการกำหนดนิยามคุณภาพการศึกษากันใหม่ ไม่ใช่ยึดติดกับปริมาณมากจนเกินไป
"ต่อไปจะต้องมองการศึกษาออกไปไกลกว่าการศึกษาในโรงเรียน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ บอกว่าวัดจากผู้ที่จบการศึกษาแล้วมีงานทำ ซึ่งสอดคล้องกับที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระบุว่าต้องให้ผู้ที่จบการศึกษา มีที่ยืนหรือมีงานทำ ไม่ใช่มีลู่วิ่งลู่เดียว คือมุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยอย่างเดียว เพราะฉะนั้นอนาคตเด็กไทย จะต้องปรับเปลี่ยนต้องส่งเสริมให้เด็กได้คิดนอกกรอบ เพื่อให้เห็นช่องทางอาชีพที่หลากหลาย และต้องส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ประกอบการเอง"นายชินภัทร กล่าว

 ที่มา สยามรัฐ

หมายเลขบันทึก: 457674เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท