ภูผาเดียวดาย
นักพรต นักสู้ธุลีดิน ภูผาเดียวดาย

การลดความเหลื่อมล้ำ


มรณานุสติ

   ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นนั้นหากเรามองให้ลึกๆลงไปแล้วมันเกิดจากจิตที่เป็นอกุศล จะด้วยอำนาจกิเลศตัวไหนก็แล้วแต่ เพราะมันไปสู่อคติที่ฝังรากหยั่งลึกลงไปในจิตของมนุษย์เรา แล้วอวิชชาก็พอกพูนขึ้น บางคนอาจงงว่าทำไมอกุศลจิตทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ ถ้าเราตั้งสติตริตรองพิจารณาให้ดีแล้ว ไม่ใช่มนุษย์หรอกหรือที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ แล้วอะไรเล่าทำให้มนุษย์สร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้น ตามความเข้าใจแล้วความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งสองสิ่งให้เปรียบเทียบ ดุจดังเหรียญที่มีสองด้าน เช่น ดีกับไม่ดี รวยกับจน หล่อกับขี้เหร่ มีโอกาสกับไม่มีโอกาส มีการศึกษากับขาดการศึกษา เหล่านี้เป็นต้น ถ้าเรามองลึกลงไปในสังคมไทย เรามักจะพูดเสมอว่าสังคมของเรามีความเหลื่อมล้ำฯลฯ

   ในที่นี้ขอเสนอวิธีการลดความเหลื่อมล้ำที่ต้นเหตุ

    1. ฝึกฝนปัญญาของตนให้มีสัมมาทิฎฐิ คือให้เข้าใจว่าทุกคนในโลกหล้าล้วนพี่น้องร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ประโยชน์อะไรที่เราจะเอารัดเอาเปรียบกัน, ให้เข้าใจว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน หากส่วนอื่นที่ไม่ใช่ส่วนเราขาดโอกาสก็จะส่งผลกระทบกับเราด้วย,ให้มองทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังของเราฯลฯ(ให้เข้าใจสิ่งต่างๆเป็นปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตา)

     2. ให้ระลึกถึงมรณานุสติเสมอ ให้เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่ยั่งยื่น ให้ลดตัวตนของตนบ้าง ให้นึกถึงวาจาอมตะนี้"เกิดมาทั้งทีเอาดีให้ได้ จะตายทั้งทีฝากดีเอาไว้"ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #มมร.
หมายเลขบันทึก: 457100เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • นมัสการค่ะ
  • ได้เข้ามาอ่านแล้วทำให้มีสติ  เพิ่มมากขึ้นค่ะ
  • "ความเหลื่อมล้ำ"  กำลังเกิดขึ้นให้เห็นเป็นปัจจุบัน

 

นมัสการ ได้สติกลับคืนมา เราทุกคนทุกท่านต่างเวียนว่ายตายเกิด และตายอยู่ทุกขณะจิต การลดความเหลี่อมล้ำในสังคม

ก็คือลดที่ตัวเราเอง ลดความเหลื่อมล้ำในตัวเอง กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าเป็นอย่างสูง

นมัสการ ครับ

ผมเพิ่งนำใบงานหมายเลข ๔ ขึ้นเว็บนะครับ

จึงอยากให้ขอให้ท่านเข้าไปอ่านแนวปฏิบัติอีกครั้งหนึ่งครับ

เพื่อท่านจะได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ;)...

กราบนมัสการ กระผมเคยอ่านบทความตอนหนึ่งของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ว่าการศึกษาที่ไม่ทำให้คนมีศีลธรรมนั้น ไม่ใช่การศึกษา ...แผนการศึกษาของโลกสมัยนี้ ไม่มีการทำให้เด็ก ๆ รู้ว่าเกิดมาทำไม? เมื่อคนเราไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม? มันก็ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน จะไปได้อะไรอันเป็นสิ่งสูงสุด น่าจะลดความเหลื่อมลําในแง่ความคิดของท่านได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท