เครื่องมือป้องกันความล้มเหลวสำหรับผู้นำ (Skyhook for Leadership Model)


เครื่องมือป้องกันความล้มเหลวสำหรับผู้นำ (Skyhook for Leadership Model)

เครื่องมือป้องกันความล้มเหลวสำหรับผู้นำ (Skyhook
for Leadership Model)
มุกดา สุนทรรัตน์ (2547: 49-50) Chief Human Resources Officer,
Human Resources Division ของ บริษัท
เอซีเอสจี (ประเทศไทย) จำกัด (
ACSG (Thailand) Co., Ltd.)
กล่าวว่า
ACSG
ได้แสวงหารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับองค์การ และเลือกใช้รูปแบบของ
Skyhook
for Leadership Model ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ John A Shtocren
โดยได้ศึกษาผลงานและจากการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกหลายๆบริษัท
อาทิ
AT&T, Coca Cola, Ford, 3M,
และ
University of Michigan เป็นต้น แล้วสรุปแนวทางการบริหารเพื่อความสำเร็จ
7 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การกำหนดวิสัยทัศน์ (
Vision)
ผู้นำต้องมีความฝันและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อจะสามารถนำทีมไปสู่จุดหมายนั้นๆได้
2.การให้ความน่าเชื่อถือแก่ทีม (
Trust)
ในการทำงานร่วมกันจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นในความสามารถของทีมงาน
โดยยึดผลงานเป็นหลัก18 (
Production Oriented)
และกระบวนการทำงานจะยึดพนักงานเป็นศูนย์กลาง
โดยจะมีการให้ความรู้ในงานแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง 3.การสื่อสารแบบเปิด (
Open Communication) คำนึงถึงความสำคัญของการสื่อสาร
สร้างระบบการทำงานที่สื่อสารข้อมูลให้พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์ กลยุทธ์
และมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานและเป้าหมายในการทำงาน 4.การสร้างงานให้มีคุณค่า (
Meaningful
Work) ทั้งกับตัวผู้นำและทีมงาน
สนุกกับงานเพราะได้ปฏิบัติงานที่ท้าทาย มอบหมายงานที่เหมาะสมกับความรู้
ความสามารถของพนักงาน มีการจัดคนให้เหมาะกับงาน ประกอบกับผู้นำเป็นผู้สอนงานที่ดี
ตลอดจนให้คำปรึกษาเมื่อพนักงานเกิดปัญหา 5.การมอบอำนาจ (
Empowerment) การให้พนักงานได้รับผิดชอบงานแบบเบ็ดเสร็จ
โดยสร้างมาตรฐานระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
แสดงการยอมรับและเชื่อมั่น ผู้นำต้องไม่ปฏิบัติงานแบบ
Routine แต่ต้องกระจายให้พนักงาน 6.การทำงานเป็นทีม (Teamwork) เป็นการผลักดันให้ผู้นำตระหนักถึงความสำคัญของทีมงาน
และพัฒนาทีมงานโดยการกำหนดแนวทางและขอบเขตการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
เชื่อมั่นในความสามารถของทีมงาน ให้ความสำคัญกับการทำงานข้ามสายงาน (
Cross Function)
อีกทั้งผู้นำยังต้องสามารถประสานความแตกต่างของคนในทีมเข้าด้วยกันด้วย
เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ 7.การรู้จักเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม (
Transformation) ผู้นำต้องวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์และสภาพการณ์ปัจจุบันขององค์การ
เพื่อวางกลยุทธ์และแผนปฏิบัติ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ได้ตามเป้าหมาย มุกดา
สุนทรรัตน์ (2547) ได้สรุปว่า
การพัฒนาภาวะผู้นำเปรียบเสมือนการส่งเสริมความแข็งแกร่งในการบริหารงานแก่องค์การ
“การนำเครื่องมือป้องกันความล้มเหลว” มาประยุกต์ใช้จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์การไปสู่ความก้าวหน้าต่อไป

หมายเลขบันทึก: 456974เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท