KM งดงามที่แม่ฮ่องสอน...ความประทับใจแรกที่ปางมะผ้า (ต่อ)


KM ดี ๆ มีให้ค้นเจอ...

ตลอดสองวันที่ปางมะผ้า (14-15 ส.ค.) กลุ่มเพื่อนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ซึ่งมีทั้งผู้เฒ่า และคนหนุ่ม-สาว ต่างชักชวนและพาเราไปดูให้เห็นกับตาว่าพวกเขาทำอะไร และเกิดผลอย่างไร ในทั้ง 5 ประเด็น เขาพาเราเดินสำรวจหมู่บ้าน ขึ้นบ้านโน้นเข้าบ้านนี้  คุยกับผู้สูงอายุที่กำลังขมักเขม้นกับการทอผ้า ทำไม้กวาด คัดใบชาพื้นเมือง เพื่อเตรียมไปขายในงานที่จังหวัด ซึ่งแม่เฒ่าว่ากิจกรรมเหล่านี้ทำให้ชีวิตมีคุณค่า ไม่เหงา และดีใจที่มีเด็ก ๆ มาเรียนรู้มาสนใจ นักท่องเที่ยวมาแม้จะสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ เด็กน้อยเหล่านั้นก็ทำหน้าที่สื่อสารและเล่าให้นักท่องเที่ยวฟังได้  จากบ้านแม่เฒ่าเราไปแวะดูกลุ่มลิเกไตที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่และฝึกเยาวชนสืบทอดเรียกว่ามีทั้งคณะเด็ก คณะผู้ใหญ่ที่เป็นต้นตำรับ เคยไปออกงานใหญ่ ๆ มาแล้วทั้งที่แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ คณะนี้มีประมาณเกือบ 40 คน เวลาไปก็จะเป็นคณะใหญ่ แต่การออกนอกพื้นที่ต้องขอใบอนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัด  ขึ้นผาเจริญคุยกับพ่อเฒ่าแอโจ ผู้นำชุมชนเผ่าลาหู่แดง ที่เป็นผู้รู้ตัวจริงในการทำสวนผลไม้เมืองหนาวซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของที่นี่ ใช้เวลาถึง 20 ปี กว่าจะเกิดผลเป็นรูปธรรมที่เป็นตัวอย่างความสำเร็จไปขยายผลต่อกับคนในชุมชนและใกล้เคียง  ซึ่งพ่อเฒ่าบอกว่า คนที่นี่แค่ไปบอกปากเปล่าให้เขาทำไม่ได้หรอก ต้องทำให้เขาเห็น ขนาดเห็นและอยากทำเขายังไม่ค่อยกล้าเพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเขา ผลไม้อะไรก็ไม่รู้ ปลูกแล้วจะขายได้จริงหรือเปล่า ต้องใช้ทุนเท่าไหร่ ไม่มีเงินนะ เราจึงต้องทั้งทำให้ดูและอยู่ให้เห็นว่ามันเป็นอาชีพทางเลือกเพราะไม่ต้องทำนาเราก็อยู่ได้ มีผลไม้ขายตลอดปี รายได้ปีละกว่า 70,000 บาท และปลูกแบบไร้สารเคมีไม่ต้องลงทุนอะไรมาก เน้นแรงงานในครอบครัวทั้งนั้น

 พ่อเฒ่าแอโจ พาเราขึ้นดอยไปดูสวนผลไม้เมืองหนาวที่มีทุกอย่างให้เก็บไปกินและขาย ทั้งอโวคาโด้ สาลี่ เชอรี่  พลับ ฯลฯ

         

    

 (อีกวงเรียนรู้ลิเกไต พ่อเฒ่าเล่าอย่างออกรสถึงความภูมิใจที่ฟื้นฟูขึ้นมาได้ และกำลังคิดจะจัดประดิษฐ์ชุดไตใหญ่เป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ฟังแล้วดิฉันปิ๊งไอเดีย เมื่อภาษาเป็นปัญหาการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว "ทำไมไม่ทำคู่มือภาษาไทยแบบพจนานุกรมแต่ทำทั้งภาษาไตใหญ่ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ"แล้วก็ขายในราคาเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว ซึ่งยกตัวอย่างตัวเองก็อยากซื้อ เพราะนักท่องเที่ยวที่ไปที่นี่ส่วนใหญ่มีสองกลุ่มคือ กลุ่มไปเรียนรู้ดูงานอยากทำการท่องเที่ยวชุมชนบ้าง กับอีกกลุ่มหนึ่งคือนักท่องเที่ยวที่อยากมาศึกษาวิถีชุมชน)

  เราได้เห็นผลผลิตของโครงการนี้ที่ได้สร้างชาวบ้าน ซึ่งเป็นตัวแทนของชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยง มูเซอ ม้ง ลาหู่ดำ ลาหู่แดง และคนไต  ให้กลายที่เป็นนักพัฒนาและไปจัดการความรู้กับชุมชนของตนด้วยกระบวนการที่ไม่คิดแทน แต่เน้นการรับฟัง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ เก็บตกความรู้จาก เวทีเรียนรู้ทั้งในไร่ ในสวน  หน้าบ้าน ลานกลางบ้าน  งานประเพณี  หรือเวทีใด ๆ ก็ตามที่ได้มาเจอกัน หรือวงน้ำชา ซึ่งที่นี่ไปบ้านไหนก็จะเห็นมีกาน้ำชาต้อนรับอยู่ตลอด เป็นชาพื้นเมืองรสชาติเยี่ยม (ชาอูหลงที่ขึ้นชื่อยังสู้ไม่ได้) เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนในการรวบรวมองค์ความรู้จากพื้นที่ และสอบทานความรู้กับท้องถิ่นจนแน่ใจจึงสรุปความเข้าใจร่วมกัน และจัดเก็บเป็นคลังความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อในการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชน และแกนนำเหล่านี้ก็ไปสร้างคนต่อในแต่ละประเด็นที่ตนเองรับผิดชอบในพื้นที่ จึงเกิดกลุ่มนักพัฒนาย่อย ๆ ในแต่ละด้านขึ้นในปางมะผ้า

คำสำคัญ (Tags): #ร่องรอย
หมายเลขบันทึก: 45671เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ย้อนรอย คน สคส. จับภาพ KM แม่ฮ่องสอนครับ...

เรื่องราวน่าสนใจมากครับ ผมคิดว่ารายละเอียดอื่นที่มากมายกว่านี้ ต้องลองไปที่แม่ฮ่องสอนเพื่อสัมผัสด้วยตา..จริงมั้ยครับ 

สวัสดีค่ะคุณ...ตุ่ม...

รอดูภาพสวยๆ..ในมุมของคุณตุ่มอยู่คะ...

แต่ตอนนี้..มองหาภาพที่งดงามที่ซ่อนไว้ใต้เรื่องเล่า...นี้ไปก่อนแล้วกันคะ...

ย่องๆ...ตามคนเมืองปาย..มาคะ

แหมมาเร็วจริง ๆ ....มีโอกาสได้เข้าถึงคอมพิวเตอร์ก็วันนี้แหละค่ะ เลยรีบเล่าให้ฟัง ความจริงมีหลายเวอร์ชั่นเพราะ  เรื่องราวที่ได้เจอน่าสนใจมั๊ก ๆ ต้องไปเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยใจ อย่างที่หนุ่มเมืองปายว่านั่นแหละค่ะ

ตอนนี้กำลังพยายามนำรูปใส่อยู่ค่ะ...อดใจรอหน่อยแล้วกัน

      ตามมาเช่นเดียวกันครับ  แต่อยากเห็นภาพหนุ่มเมืองปายอีกคนครับ

มีภาพหนุ่มเมืองปายแน่นอนค่ะ ...ต้องคอยติดตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท