สรุปมนุษย์สัมพันธ์1


สรุปมนุษย์สัมพันธ์1

เช้านี้ขอนำเสนอ
เรื่อง  มนุษย์สัมพันธ์ในการบริหาร ซึ่งนำมาให้เพื่อนๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคะ

            ระดับบุคคล  : มนุษย์สัมพันธ์  หมายถึง  ความสามารถของบุคคลในอันที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์
            ระดับบริหาร : มนุษย์สัมพันธ์  หมายถึง  ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ
            พนัส  หันนาคินทร์ ได้ให้ความหมายว่า  ความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิด  และความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน

            ข้อเปรียบเทียบของปฏิสัมพันธ์และมนุษย์สัมพันธ์
            ปฏิสัมพันธ์ (Interactions)
                        1. เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลในวงงาน หรือในองค์กร
                        2. เป็นการกระทำที่เน้นเอาบทบาท หรือ หน้าที่เป็นแนวทาง
                        3. มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและชัดเจนเมื่อบทบาทหน้าที่เปลี่ยนแปลง
            มนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations)
                        1. เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลโดยทั่วไปๆ ไปมิใช่เฉพาะองค์กร
                        2. เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์เป็นพื้นฐาน
                        3. เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงนิสัยใจคอ และน้ำใจไมตรี

            การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์
                        - การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา
                        - การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
                        - การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่างๆ เช่น กระบวนการกลุ่ม  และพฤติกรรมสัมพันธ์

            ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
                        1. การยอมรับและให้เกียรติ  หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลตามที่เป็น ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของบุคคล มีความเป็นมิตรและความอบอุ่นใจแก่ผู้อื่น
                        2. การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจในเนื้อหาสาระของสิ่งที่สื่อสารระหว่างกัน และเข้าใจใความรู้ของผู้อื่นเสมือนเรา  เป็นตัวเขา ซึ่งสัมพันธภาพที่ขาดความเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน สัมพันธภาพนั้นไม่สามารถดำเนินไปถึงขั้นที่ลึกซึ้งได้
                        3. การจริงใจ  หมายถึง  การไม่เสแสร้งในการแสดงออกถึงความคิด  ความรู้สึก และทัศนคติของตนเอง

                                                                                                                ติดตามตอนต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 456522เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท