เรื่องกังวลของซีอีโอระดับโลก


ซีอีโอแต่ละที่จะต่างกันตรงนี้ ใครชั้นนำอยู่แล้วก็จะห่วงลูกค้า ใครที่ยังไม่เป็นเบอร์หนึ่งเบอร์สอง ก็จะห่วงเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ
 เปิดปูมเรื่องเครียดๆ ของบรรดาซีอีโอระดับ world class brand ทั่วทุกมุมโลก จากงานวิจัยบนเวที The Conference Board's CEO Challenge 2006 : Top 10 Challenges Survey ต้นปีที่ผ่านมา
       
        แยกประเด็น 10 ความเครียด เรื่องราวหงุดหงิดหัวใจชวนให้กังวลของเหล่าพณท่านซีอีโอจากฟากเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มีทั้งความเหมือนและความต่าง ซึ่งกำลังส่งสัญญาณถึงแนวโน้มการจัดการเป็นหนึ่งเดียวของโลกธุรกิจวุ่นๆ ใบนี้
       
        อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอพีเอ็มกรุ๊ป จำกัด ที่ปรึกษาการจัดการองค์กร เล่าให้ฟังว่า วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ต้องการที่จะบอกว่า วันนี้คนที่อยู่สูงสุดขององค์กรกำลังกังวลกับเรื่องอะไรมากที่สุด? จากผลสำรวจใน 40 ประเทศ มีจำนวนแบบสอบถามที่ตอบกลับมารวม 658 ชุด ในกลุ่มเป้าหมาย global CEO จาก global company ที่มีสาขากระจายตัวอยู่ทุกมุมโลก
       
       เอเชีย : เติบโตก้าวกระโดด
       
        ประเด็นที่น่าสนใจคือ ถ้าแบ่งแยกหัวข้อความกังวลที่ซีอีโอแต่ละภูมิภาคอึดอัดหัวใจ ในฟากของผู้นำเอเชียเอง สิ่งที่ซีอีโอกังวลเหมือนกันหมดเลยก็คือ การเติบโตขององค์กร 42.2% วันนี้ทุกบริษัทต่างก็ต้องการเติบโตมากขึ้น จากการมองว่ายังมีโอกาสอีกมหาศาล "ไม่มีใครมองภาพเพียงแค่ขอโตทีละขั้นบันไดอีกต่อไปแล้ว ทุกคนต่างก็ต้องการก้าวกระโดด"
       
        สิ่งที่เป็นข้อน่ากังวลอันดับ 2 เป็นเรื่องของความยืดหยุ่น และสปีดการทำงาน 41.3% ซีอีโอที่มานั่งทำงานในเอเชียมักจะกังวลว่า พนักงานในเอเชียยังไม่ทันอกทันใจในเรื่องของความฉับไว ยิ่งถ้าองค์กรประกาศการเติบโตแบบก้าวกระโดด หมายความว่าทุกอย่างต้องเร็ว ความยืดหยุ่นต้องมี พนักงานต้องไม่ยืดติด พร้อมปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
       
        ซึ่งสอดรับกับข้อกังวลอันดับ 3 คือ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง 41.3% เมื่ออยากก้าวไปข้างหน้าหลายๆ ก้าว แต่คนกลับช้าต้วมเตี้ยม วิสัยทัศน์องค์กรก็จะไปไม่ถึงไหน
       
        อันดับ 4 ที่เสริมความเครียดให้ซีอีโอเอเชียเข้าไปอีกคือ ประเด็นของความจงรักภักดีของลูกค้าและการรักษาลูกค้าเอาไว้ให้ยืนยาว 35.6%
       
        "วันนี้ระดับซีอีโอเริ่มมาเล่นเองเยอะมาก ในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาลูกค้า เพราะลูกค้าในเอเชียเปลี่ยนแบรนด์เร็วมาก จะรักษาฐานไว้ได้ซีอีโอต้องลงมาดูเอง"
       
        และสองเรื่องสุดท้ายที่ซีอีโอยังไม่คลายกังวลคือ อันดับ 5 ความเร็วของตลาด และสินค้าที่จะผลักสู่ตลาด 33.3% อันดับ 6 ภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กรอีก 33.3%
       
        6 ข้อกังวลของซีอีโอเอเชีย ส่งสะท้อนถึงวิธีคิดแบบองค์กรไทยๆ โดยตรง อริญญามองว่า ทิศทางของไทยก็ไม่ได้แตกต่างกับวิถีแห่งเอเชียมากนัก ทุกประเทศในเอเชียกำลังตื่นตัวเรื่องก้าวกระโดด ต้องไปให้ไกลและต้องทำให้ได้ แต่ในสถานการณ์ก้าวกระโดด ถ้าพนักงานไม่ยืดหยุ่นสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเพียงพอ เมื่อเจอเข้ากับลูกค้าเปลี่ยนใจง่าย ขาดความจงรักภักดี ถ้าไม่คิดอะไรให้แปลกใหม่ ไม่ทำอะไรให้ต่างไปจากเดิม ทุกอย่างรังแต่จะสาละวันเตี้ยลง
       
        "หลายธุรกิจในเมืองไทยทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค ธนาคาร ธุรกิจส่งออก และรถยนต์ มีการตื่นตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีแรงสะท้อนออกมาหลายกระแส ซีอีโอกลัวว่าจะก้าวโดดไม่ได้ จากที่เคยทำได้ร้อย ภายใน 8 ปีต้องก้าวกระโดดให้เป็นพัน ไม่เหมือนกับตัวเลขการเติบโตที่เคยเพิ่มขึ้นจำกัดจำเขี่ยปีละ 2-3 % สาเหตุที่บางองค์กรไปไม่ถึง เพราะห่วงเรื่องคน พนักงาน เปลี่ยนแปลงช้า สปีดการทำงานยังช้า เทียบกับจีนกับสิงคโปร์ไม่ได้เลย"
       
        อริญญามองว่า โอกาสในการทำธุรกิจยังมีอีกมากถ้ามองให้ดีๆ วางแผนดีๆ ก็สามารถก้าวกระโดดได้ แต่ทางออกต้องมาแก้เรื่องคน ทำให้คนเกิดความพร้อม บริหารการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนวิธีนำ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมอง สปีด ความยืดหยุ่น
       
        ขณะเดียวกันวิธีการของซีอีโอก็มีผลด้วย ซีอีโอไม่ได้เป็นคนทำ แต่เป็นคนฝัน จึงต้องเป็นฝันที่ไม่เว่อร์เกินไป ไม่เข้าข่ายเพ้อเจ้อ ต้องฝันเก่งแล้วเกิดขึ้นได้ เป็นจริงและมีโอกาสสูง ขณะที่คนทำสู่ฝันให้เป็นจริงก็คือทุกคนในองค์กร
       
        "พนักงานมีความสามารถแต่ซีอีโอฝันไม่เก่งองค์กรก็ไปไม่ถึงไหน? แต่ถ้าซีอีโอฝันเก่งแต่พนักงานไปไม่ได้ก็จบเห่กัน ฉะนั้นต้องไปคู่กัน ทำอย่างไรให้ยอดโตต้องขยายธุรกิจ เพิ่มไลน์สินค้า มีกลยุทธ์ด้วย ไม่ใช่แค่บอกว่าอยากได้อะไร? ต้องมองเห็นเป็นภาพชัดเจน"
       
       ยุโรป : ห่วงสปีดและยืดหยุ่น
       
        สิ่งที่น่าสนใจของยุโรป อันดับแรกของข้อกังวลใจคือสปีดและการยืดหยุ่น 39.4% ซีอีโอยุโรปมองว่าการก้าวกระโดดยังไม่เหนื่อยเท่ากับเรื่องของคน ยุโรปจึงลงมาเล่นเรื่องคน เรื่องการพัฒนา การเปลี่ยนทัศนคติสูงมาก
       
        อันดับ 2 เป็นเรื่องการเติบโต 38.4% และอันดับ 3 เป็นเรื่องของการทำให้ยั่งยืน 37.0% ข้อกังวลของซีอีโอยุโรปจะมีเพียงแค่ 3 เรื่องนี้ จากการมองภาพใหญ่ว่า การทำงานของคนในยุโรปต้องรื้อเรื่องวัฒธรรม ต้องรื้อวิธีการทำ ต้องรื้อวิธีการคิด เพราะทำแบบเดิมแล้วอาจช้าไป ถ้าคิดแบบเดิมก็จะไม่ได้ปรับเปลี่ยน
       
        "ถ้ามองว่าธุรกิจวันนี้ต้องการเติบโต ทำแบบเดิมไม่มีวันโตอย่างก้าวกระโดด ปีหนึ่งขายลูกค้าได้ร้อยราย ถ้าใช้วิธีการเข้าถึงแบบเดิมๆ ไม่มีวันเลยที่เราจะก้าวได้ องค์กรจะก้าวกระโดดได้ต้องอาศัยเรื่องของความยืดหยุ่น ความฉับไว ความสามารถในการปรับตัว
       
        ยุโรปมองภาพว่ายังไม่ไปไหนมาก อยากไปมากกว่านี้ แต่ยังติดขัดคนไม่เปลี่ยนวิธีคิด ไม่เปลี่ยนวิธีบริหารจัดการ ยังเถียงกันอยู่เหมือนกันว่าต้องเป็นยุคของการปฏิวัติหรือยุคของการปฏิรูป เพราะภาพการแข่งขันไม่เหมือนเดิม มันเปลี่ยนไปเร็วมาก ใครจะมีความสามารถในการแข่งขันได้ต้องทำตรงนี้ให้ดี ซึ่งยุโรปไตร่ตรองแล้วว่า ถ้าตรงนี้ไปได้ทุกอย่างก็โลด"
       
       อเมริกา : ไต่ระดับสู่ความยั่งยืน
       
        หันกลับมาพี่เบิ้มอเมริกา 4 ความท้าทายที่มาพร้อมกับความกังวลของซีอีโอประเทศอิสระแห่งนี้ อันดับแรกเป็นเรื่องของความยั่งยืน 39.4% อเมริกาถือเป็นพวกที่อยู่สูงสุดอยู่แล้ว จะรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร?
       
        อันดับสอง อเมริกามีวิธีคิดต่างกับคนอื่นคือ ห่วงเรื่องของการปฏิบัติ 38.4% ว่าถ้าข้างบนคิดแบบนี้แล้ว คนข้างล่างถัดลงมาอาจจะเป๋ไปคิดคนละข้างสองข้าง ถ้ากลยุทธ์บอกว่าจะไปทางเหนือ แต่คนเดินสะเปะสะปะไม่รู้เหนือรู้ใต้ ผู้บริหารในอเมริกาส่วนใหญ่จะสามารถสร้างกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง แต่สิ่งที่ผู้บริหารลำบากใจมากที่สุดคือ สิ่งที่ถ่ายทอดลงมายังพนักงานยังเป็นคนละทางสองทางอยู่ในเวลานี้
       
        อันดับ 3 เป็นเรื่องของความจงรักภักดีของลูกค้าและการธำรงรักษาไว้ 37.0% ลูกค้าวันนี้มีอะไรใหม่มาเปลี่ยนได้ทันที ไม่มีใครหลงรักแบรนด์ไหนตลอดชีวิต คนเปลี่ยนแบรนด์ได้ตลอดเวลา ภาพอเมริกาที่น่าสนใจคือ หลายบริษัทเป็นผู้นำระดับโลกอยู่แล้วก็เลยห่วงการรักษาลูกค้าชั้นดีเอาไว้ อย่างจีอีเองก็นั่งไม่ติดกับประเด็นเหล่านี้
       
        อริญญาสรุปว่า หน้าที่ซีอีโอสุดท้ายของแต่ละวันคือ ทำเงิน ทำกำไร ให้องค์กรเติบโต ขณะเดียวกัน ณ วันนี้ สิ่งที่ซีอีโอทุกซีกโลกคิดเหมือนกันคือเรื่องของคน อเมริกาก็ห่วงเรื่องคนซึ่งต้องไปทำหน้าที่ปฏิบัติงาน แต่โดยพื้นฐานซีอีโอทุกเก้าอี้จะห่วงเหมือนกันคือ เงิน เติบโต ผลกำไร คนและลูกค้า กล่าวได้ว่าเป็นภาพรวมที่ไม่แตกต่างกันมาก
       
       แนวโน้มซีอีโอโลก
       
        ซีอีโอยุคนี้ต้องการแสวงหาโอกาสมากขึ้น ทำกำไรมากขึ้น รักษาความเป็นผู้นำตลอดไป บรรดาซีอีโอรุ่นใหม่จึงพยายามผลักดันกลยุทธ์ และเน้นเรื่องคน เพื่อสร้างฝันให้เป็นจริง จะเห็นได้ว่าบรรดาองค์กรชั้นนำใน 50 อันดับของฟอร์จูน จะมีความมั่นคงสูงและทำกำไรได้ดี
       
        ขณะที่องค์กรที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมาก ความมั่นคงมีน้อยส่วนใหญ่จะเน้นไปกับการพัฒนาธุรกิจ ทำอย่างไรให้ธุรกิจโต ซึ่งถ้าองค์กรสำเร็จแล้วก็จะไปเน้นต่อที่ตัวลูกค้า "ซีอีโอแต่ละที่จะต่างกันตรงนี้ ใครชั้นนำอยู่แล้วก็จะห่วงลูกค้า ใครที่ยังไม่เป็นเบอร์หนึ่งเบอร์สอง ก็จะห่วงเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ"
       
       แทงใจดำปัญหาซีอีโอแบบไทยๆ
       
        ภาพรวมของเมืองไทย ในฐานะของที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำหลายแห่ง เอพีเอ็มกรุ๊ปมองว่า ซีอีโอจะเน้นมากในเรื่องของโอกาสทางธุรกิจ ขยายการเติบโต และเน้นเรื่องสปีด เพราะวัฒนธรรมไทยไม่ใช่คนที่ชอบต่อสู้สุดชีวิต
       
        กับอีกปัญหาหนึ่งที่เหมือนกันกับอเมริกาคือ เมื่อคิดกลยุทธ์แล้วกลับมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติ เมืองไทยเองติดปัญหาเรื่องอาวุโส สายบังคับบัญชามีขั้นตอนเยอะเกินไป หรือไม่ซีอีโอก็บริหารการตัดสินใจโดยมีข้อมูลน้อยเกินไป
       
        อีกปัญหาที่สำคัญไม่แพ้กันเจอคือ ซีอีโอบางคนยึดติดกับความสำเร็จในอดีตมากเกินไป สุดท้ายของปัญหาท็อปฮิตคือ ถ้าเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ซีอีโอจะสร้างสมดุลการให้ความสำคัญระหว่างผลลัพธ์กับคน จากมุมมองที่ว่าผลลัพธ์เกิดได้ต้องมาจากคน แต่บางคนมุ่งไปที่ผลลัพธ์อย่างเดียว โดยไม่ได้มาใส่เรื่องคนมากนักก็กลายเป็นจุดอ่อนในที่สุด
       
        "ซีอีโอเมืองไทยต้องมีกลยุทธ์เกี่ยวกับคน ถ้าไม่มีเรื่องคนอาจจะเหนื่อยมากในแง่ของผลลัพธ์ หลายองค์กรไหวตัวซีอีโอลงมาแล้วกล้ายอมรับ แปลว่ากำลังเปิดตัวเองพร้อมที่จะปรับภาพไปสู้ยักษ์ใหญ่ ไม่เคยเห็นซีอีโอไหวตัวเตรียมพร้อมที่จะสู้มากเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
       
        จะเห็นว่ามีหลากหลายธุรกิจเข้ามาเกี่ยวกับคนมากขึ้น ก็เลยมีบริษัทที่ปรึกษาฝึกอบรมโผล่เข้ามามากมากมาย เมื่อก่อน HR ไหวตัวเรื่องการจัดการองค์กร แต่วันนี้ซีอีโอลงมาเล่นเองหลายที่ ถือเป็นภาพที่ดีมากกว่าในอดีต แต่ถามว่าเยอะพอแล้วยัง คำตอบคือยัง คนส่วนใหญ่ตระหนักแล้วแต่ทำถูกทางเดินถูกทางหรือเปล่ายังเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันต่อ"
             
       ปัญหาที่มาพร้อมกับความท้าทายซีอีโอ
       
        1. การเติบโตขององค์กร
       
       2. การเติบโตอย่างยั่งยืนถาวร
       
        3. เรื่องของความยืดหยุ่นและสปีดการทำงาน
       
        4. ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง
       
        5. ความจงรักภักดีของลูกค้าและการรักษาลูกค้าเอาไว้ให้ยืนยาว
       
        6. ความเร็วของตลาด และสินค้าที่จะผลักสู่ตลาด
       
        7. จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร
       
        8. การแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
       
        อเมริกา : ไต่ระดับสู่ความยั่งยืน
       
        หันกลับมาพี่เบิ้มอเมริกา 4 ความท้าทายที่มาพร้อมกับความกังวลของซีอีโอประเทศอิสระแห่งนี้ อันดับแรกเป็นเรื่องของความยั่งยืน 39.4% อเมริกาถือเป็นพวกที่อยู่สูงสุดอยู่แล้ว จะรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร?
       
        อันดับสอง อเมริกามีวิธีคิดต่างกับคนอื่นคือ ห่วงเรื่องของการปฏิบัติ 38.4% ว่าถ้าข้างบนคิดแบบนี้แล้ว คนข้างล่างถัดลงมาอาจจะเป๋ไปคิดคนละข้างสองข้าง ถ้ากลยุทธ์บอกว่าจะไปทางเหนือ แต่คนเดินสะเปะสะปะไม่รู้เหนือรู้ใต้ ผู้บริหารในอเมริกาส่วนใหญ่จะสามารถสร้างกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง แต่สิ่งที่ผู้บริหารลำบากใจมากที่สุดคือ สิ่งที่ถ่ายทอดลงมายังพนักงานยังเป็นคนละทางสองทางอยู่ในเวลานี้
       
        อันดับ 3 เป็นเรื่องของความจงรักภักดีของลูกค้าและการธำรงรักษาไว้ 37.0% ลูกค้าวันนี้มีอะไรใหม่มาเปลี่ยนได้ทันที ไม่มีใครหลงรักแบรนด์ไหนตลอดชีวิต คนเปลี่ยนแบรนด์ได้ตลอดเวลา ภาพอเมริกาที่น่าสนใจคือ หลายบริษัทเป็นผู้นำระดับโลกอยู่แล้วก็เลยห่วงการรักษาลูกค้าชั้นดีเอาไว้ อย่างจีอีเองก็นั่งไม่ติดกับประเด็นเหล่านี้
       
        อริญญาสรุปว่า หน้าที่ซีอีโอสุดท้ายของแต่ละวันคือ ทำเงิน ทำกำไร ให้องค์กรเติบโต ขณะเดียวกัน ณ วันนี้ สิ่งที่ซีอีโอทุกซีกโลกคิดเหมือนกันคือเรื่องของคน อเมริกาก็ห่วงเรื่องคนซึ่งต้องไปทำหน้าที่ปฏิบัติงาน แต่โดยพื้นฐานซีอีโอทุกเก้าอี้จะห่วงเหมือนกันคือ เงิน เติบโต ผลกำไร คนและลูกค้า กล่าวได้ว่าเป็นภาพรวมที่ไม่แตกต่างกันมาก
       
       แนวโน้มซีอีโอโลก
       
        ซีอีโอยุคนี้ต้องการแสวงหาโอกาสมากขึ้น ทำกำไรมากขึ้น รักษาความเป็นผู้นำตลอดไป บรรดาซีอีโอรุ่นใหม่จึงพยายามผลักดันกลยุทธ์ และเน้นเรื่องคน เพื่อสร้างฝันให้เป็นจริง จะเห็นได้ว่าบรรดาองค์กรชั้นนำใน 50 อันดับของฟอร์จูน จะมีความมั่นคงสูงและทำกำไรได้ดี
       
        ขณะที่องค์กรที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมาก ความมั่นคงมีน้อยส่วนใหญ่จะเน้นไปกับการพัฒนาธุรกิจ ทำอย่างไรให้ธุรกิจโต ซึ่งถ้าองค์กรสำเร็จแล้วก็จะไปเน้นต่อที่ตัวลูกค้า "ซีอีโอแต่ละที่จะต่างกันตรงนี้ ใครชั้นนำอยู่แล้วก็จะห่วงลูกค้า ใครที่ยังไม่เป็นเบอร์หนึ่งเบอร์สอง ก็จะห่วงเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ"
หมายเลขบันทึก: 45629เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท