Six Sigma


Six Sigma คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ

Six Sigma คือ
       
        เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการ
       
        ดัชนีชี้วัดของเสียในระดับ 3.4 หน่วยจาก 1 ล้าน หน่วย นั่นคือ Sigma เป็นหน่วยวัดระดับคุณภาพ โดยบ่งบอกถึงจำนวนของเสียที่จะเกิดขึ้น ยิ่งระดับหน่วยวัดคุณภาพสูงเท่าไร จะบ่งบอกว่ากระบวนการเกิดความสูญเสียน้อยลงเท่านั้น
       
       DMAIC ขั้นตอนการดำเนินงาน Six Sigma
       
        Define ค้นหาและกำหนดปัญหาสำคัญในกระบวนการโดยระบุหรืออธิบายลักษณะของปัญหาให้ชัดเจน พร้อมกำหนดเป้าหมายในการแก้ไข
       
        Measure ประเมินและวัดผลปัญหาเพื่อวิเคราะห์จุดวิกฤตที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยใช้ข้อมูลจริงและเชื่อถือได้
       
        Analyze วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาโดยใช้หลักการทางสถิติ คือ วิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมติฐาน ระบุปัจจัยสำคัญและสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความผิดพลาด
       
        Improve แก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยกำหนดแผนการปรับปรุงที่มีเป้าหมายชัดเจน
       
        Control ตรวจติดตามและควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือปัญหาซ้ำ และเพื่อรักษาระดับคุณภาพสำเร็จไว้ให้ยั่งยืน
       
       ผู้มีบทบาทสำคัญใน Six Sigma
       
        Champion ดูแลการบริหารและรับผิดชอบโครงการ Six Sigma ระดับนโยบายขององค์กร โดยริเริ่มโครงการวางแผน สร้างระบบและการปฏิบัติงาน รวมทั้งคัดเลือกบุคลากร และควบคุมระยะเวลาในการปรับปรุง
       
        Master Black Belt ผู้กำหนดปัญหา คัดเลือกโครงการและติดตามผลงานโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายองค์กร
       
        Black Belt หัวหน้าโครงการ Six Sigma ทำหน้าที่บริหารทีมงานแบบข้ามสายงาน โดยนำปัญหาที่กำหนดขึ้นมาวิเคราะห์สาเหตุย่อยเพื่อค้นหาสาเหตุหลัก และกำหนดแนวทางแก้ไขตามหลักการทางสถิติ
       
        Green Belt ผู้ช่วย Black Belt ในการทำงานโครงการ Six Sigma โดยอยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
       
       แนวคิดที่สำคัญของ Six Sigma
       
        1. ยึดลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางในการแก้ปัญหา
       
        2. เน้นการแก้ปัญหาเชิงรุกไม่ใช่ตั้งรับ
       
        3. ต้องการผู้นำที่เข้มแข็งและการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ในการสร้างปรือเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลลัพธ์ของงาน
       
        4. เน้นให้พนักงานสร้างผลงาน มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง
       
        5. เป็นการทำงานร่วมกันแบบข้าสายงาน ร่วมคิด ร่วมทำ ก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม
       
        6. กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในองค์กร
       
        7. กำหนดผลลัพธ์ที่จะได้รับจากโครงการปรับปรุงต่างๆ
       
        8. สร้างตัวชี้วัดผลการปรับปรุงทุกโครงการโดยมุ่งเป้าหมายด้านคุณภาพที่เน้นความพึงพอใจของลูกค้า
       
       ประโยชน์ในการนำ Six Sigma ไปใช้ในองค์กร
       
        1. สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
       
        2. บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง และใช้หลักการทางสถิติซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
       
        3. สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง โดยประสานความร่วมมือของพนักงานแต่ละส่วนซึ่งมีผลการปฏิบัติงานโดดเด่น และสามารถวัดผลได้
       
        4. เพิ่มผลประกอบการด้านการเงินจากโครงการประหยัดต้นทุน เพิ่มผลกำไรจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายการดำเนินงานเพื่อเพิ่มผลกำไร พร้อมทั้งมุ่งเน้นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า
       
        5. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น และปรับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
       
       ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
       
        1. ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำในการปรับปรุง และคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
       
        2. องค์กรต้องมีความพร้อม เช่น จัดทีมงานที่มีความรู้ด้าน Six Sigma งบประมาณ วัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และระบบสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้
       
        3. มีนโยบายคุณภาพที่เน้นการปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

คำสำคัญ (Tags): #six#sigma
หมายเลขบันทึก: 45618เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท