homework25-08-54


ระบบเครือข่ายสากล หรือ อินเทอร์เน็ต (Internet)

ระบบเครือข่ายสากล หรือ อินเทอร์เน็ต

(Internet)

อินเตอร์เน็ต (internet) นับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งของในยุคของสังคมข่าวสารอย่าง
เช่น  ปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตเป็นอภิมหาเครือข่ายระดับโลกที่มีกำลังการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
จนนักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการคอมพิวเตอร์ ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า “ อินเตอร์เน็ต  จะเป็นเครือข่ายเดียวที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงคนทั่วทุกมุมโลกให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้เพียง
ปลายนิ้วสัมผัส   ทำลายพรมแดนที่ขวางกั้นระหว่างประเทศ   ไร้ซึ่งคำว่า   ระยะทางกับเวลามาเกี่ยวข้อง


ภาพจาก www.geocities.com

อินเตอร์เน็ต  เป็นระบบเครือข่าย  (Network)  ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่าย
เข้าด้วยกัน  อินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุกๆด้านให้ผู้ที่สนใจเข้าไป
ค้นคว้าหา มา ใช้ได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว  และง่ายดาย อินเตอร์เน็ต  คือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
กับยุคของ โลกไร้พรมแดน ที่กำลังทวีความสำคัญยิ่งใน หน่วยงานต่างๆ และวงการศึกษา 
รวมไปถึงบุคคลภายนอกที่สนใจอย่างแท้จริง อินเตอร์เน็ต  คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาด
มหึมาที่เชื่อมโยง เอาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยๆ ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  Internet 
คือ อินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายสากล 
คำว่า Internet  ที่เขียนขึ้นต้นด้วย เป็นเครือข่ายสากล
(Internet) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ประกอบด้วย 3 ระดับคือ  back-bone  networks 
(เช่น NSFNET, MILNET) , mid-level network  และเน็ตเวิร์กย่อย Internet
มีลักษณะเป็นเครือข่ายแบบหลายโปรโตคอล (multipro- tocol) 

ประวัติความเป็นมา

           เครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ได้ถือกำเนิดมาในยุคของสงครามเย็นระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจ
คือ  สหรัฐ อเมริกา และรัสเซีย  เนื่องจากกระทรวงกลาโหมของอเมริกาได้เกิดแนวความคิด
ที่ต้องการอยากจะให้ระบบ เครือข่ายในเรื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถทำงาน    และสั่งการได้เร็ว
โดยไร้ซึ่งคนดูแล   หากถูกข้าศึก โจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ณ เมืองใดเมืองหนึ่ง  หรือเกือบทั้งหมดก็ตาม
ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจ ถูกทำลายไป  แต่ส่วนที่เหลือยังคงต้องสามารถปฏิบัติงานต่อเองได้ 
ด้วยเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดเป็นโครงการ วิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้นมีชื่อเรียกว่า 
อาร์พา  ARPA (Advanced Research Project Agency)  และได้มีการเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างที่รู้จัก กันดีในปัจจุบัน


ภาพจาก www.geocities.com

ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ตได้พัฒนามาจาก  อาร์พาเน็ต  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้
การรับผิดชอบและควบคุมดูแลของอาร์พา  สังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอินเตอร์เน็ต
เป็นทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของเครือข่าย  ภายในประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยๆ
เป็นจำนวน มากต่อเชื่อมกันอยู่ โดยใช้มาตรฐานเดียวกันหมด คือ TCP/IP  (Transmission
Control Protocol / Internet protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับรองรับสายสื่อสาร
และฮาร์ดแวร์อันหลากหลายรูปแบบ  รวมไปถึงสามารถรองรับโฮสต์จำนวนมากได้อย่างสบายๆ

ประวัติอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

          ประเทศไทยได้เริ่มเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535  ซึ่งมีจุด
กำเนิดมาจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระหว่างรั้วมหาวิทยาลัย  โดยได้รับการสนับสนุนจาก
ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือมักจะนิยมเรียกกันสั้นๆว่า เนคเทค
(NECTEC) เดิมทีจะเป็น การใช้งานเฉพาะอีเมล โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
วิทยาเขตหาดใหญ่  เมื่อปี พ.ศ. 2530 ต่อมาก็สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียภายใต้ความร่วมมือ
ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย  ขณะนั้นยังไม่มีการเชื่อม ต่อกันอย่างโดยตรง (Online) ในปีต่อมาก็ได้เชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้นมาอีก 4 แห่ง  ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง  และกระทรวงวิทยาศาสตร์  นับจากนั้น
อีกไม่นานก็ได้เชื่อมต่อกับสถาบันอุดมศึกษาส่วนที่เหลือ  ซึ่งก็มี  ธรรมศาสตร์  มหิดล 
เกษตรศาสตร์ พระจอมเกล้าธนบุรี  พระจอมเกล้าพระนครเหนือ สุโขทัยธรรมาธิราช  เชียงใหม่ 
และขอนแก่น


ภาพจาก www.mfatix.com

การเชื่อมต่อด้วยระบบอินเตอร์เน็ต

          การนำระบบเครื่องของเราเข้าเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตจะทำได้ 2 ลักษณะ  คือ
1. การเชื่อมต่อโดยตรง
2. การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ

2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร  (Corporate User Services)
2.2 การเชื่อต่อส่วนบุคคล  (Individual User Services)

ภาษาสื่อสารหลักในอินเตอร์เน็ต

         การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นจำต้องมี
ภาษาสื่อสาร ที่เรียกว่า  โปรโตคอล  (Protocol)  เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสาร
เข้าใจ กันได้ ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายต่างกันตามระบบที่ใช้  ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่ละเครื่อง ที่อยู่ในระบบ จะต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันจึงจะติดต่อสื่อสารกันได้
ในระบบอินเตอร์เน็ต  จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า  TCP/IP  (อ่านว่า ที ซี พี ไอ พี 
ซึ่งย่อมาจาก คำว่าTransmission Control Protocol / Internet protocol  เป็นภาษาหลัก  
ดังนั้น  หากเครื่อง คอมพิวเตอร์ใดไม่ว่าจะเป็นเครื่อง PC, MAC , หรือเครื่องระดับมินิ  จนไปถึง
เมนเฟรม  หากมี  TCP/IP นี้อยู่  ก็จะสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้


ภาพจาก www.isangate.net

ผู้ดูแลอินเตอร์เน็ต

       หลักในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะอาศัยการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ จึงไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ
อย่างแท้จริง  เครือข่ายแต่ละที่ต่างก็บริหารงานของตนอย่างเป็นอิสระ  โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ใช้
ติดตั้ง ระบบและค่าเช่าวงจรสื่อสารเองทั้งหมด  ถือว่าช่วยๆกันเพื่อคุณประโยชน์ส่วนรวมแต่ใน
ทางปฏิบัติจริงๆ แล้วก็มีองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อประสานความร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
องค์การที่ว่านี้มีชื่อ เรียกว่า ไอซอค (ISOC)  หรือสมาคมอินเตอร์เน็ต  (Internet Society) 
มีนโยบายหลักสนับสนุนการใช้ งานอินเตอร์เน็ตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือแสวงหาผลกำไร  อีกทั้งยังทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
ภายในไอซอค  จะมีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมกัน ออกแบบพัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีให้ก้าวล้ำ
นำสมัย  บ้างก็วางแนวทางในการพัฒนาอินเตอร์เน็ต ให้สมาชิกยึดถือปฏิบัติ


ภาพจาก www.isangate.net

บริการในอินเตอร์เน็ต

        อินเตอร์เน็ต  เปรียบเสมือนสังคมขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้ามาใช้ร่วมกันมากมายในระบบจึงมีการจัดเตรียม
บริการต่างๆ ไว้ให้เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามาใช้งานต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
บริการที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต  จะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. บริการข้อมูลมัลติมิเดีย ด้วย World Wide Web
2. บริการรับ-ส่งข่าวสารด้วยอีเมล
3. บริการส่งผ่านไฟล์ข้อมูลด้วย
4. บริการค้นหาข้อมูลด้วย Archic, Gopher, Veronica  และ  WAIS
5. บริการประกาศข่าวสารด้วย  UseNet
6.บริการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องด้วย Telnet

ข้อดีและข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ถูกก็จะเกิดประโยชน์มาก
แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียบ้าง ถ้าผู้ใช้ขาดคุณธรรมประจำใจ  ซึ่งสามารถจำแนกข้อดี
และข้อจำกัดได้ดังนี้
         ข้อดี
          1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
           2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
           3. ช่วยในการค้นหา และโอนย้ายโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้ฟรี
           4. สามารถค้นคว้า วิจัย เพราะอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือต่าง ๆ หรือแหล่งความรู้มากมาย
           5. อ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
           6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
           7. ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกในราคาถูก
           8. หาเพื่อนใหม่ทางอินเทอร์เน็ตได้
           9. สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมสนุก ๆ ได้
          10. สั่งซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้

         ข้อจำกัด
           1. อาจมีการกลั่นแกล้ง หลอกลวง จากผู้ที่ไม่หวังดี
           2. ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไป อาจทำให้เสียการเรียนได้
           3. ถ้านอนดึกมากเกินไปจะทำให้เสียสุขภาพ
           4. นั่งอยู่หน้าจอนาน ๆ จะทำให้เสียสายตา
           5. อาจเกิดอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://preecha.donradwittaya.ac.th/

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. เครื่องคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
ควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์  ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ตั้งแต่  233  MHz  เป็นต้นไป
2. หน่วยความจำ  (RAM)  ไม่น้อยกว่า  8  MB
3. ฮาร์ดดิสก์  ( Hard Disk )  มีขนาดความจุ  ตั้งแต่  100  MB  ขึ้นไป

4. ดิสก์ไดร์ฟ  ( Disk  Drive )  ขนาด  1.44 MB
5. ซีดีไดร์ฟ  ( CD  Drive )  และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ  เช่น  ลำโพง  ไมโครโฟน  เป็นต้น  

2. โมเด็ม  ( Modem )

โมเด็ม  ( Modem )  หรือ  Modulator-Demodulator  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ทำหน้าท
ี่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล 
( Digital )  จากเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก 
( Analog )  เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์  ซึ่งเรียกว่า  Modulate  และแปลงสัญญาณ
ข้อมูลแบบอนาล็อก 
( Analog ) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล 
( Digital ) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งเรียกว่า Demodulate  โมเด็มเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  โดยโมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง  
ปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 
56 Kbps  ( Kilobit  per  second )
       

    

ภาพจาก http://www.bangkapi.ac.th

ประเภทของโมเด็ม (Modem) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
  2.   โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการรับส่งข้อมูล

โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)

       โมเด็มติดตั้งภายในนั้น เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยใช้กระแสไฟในการทำงานจากแผงวงจรหลัก
(Mainboard) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก  

โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External  Modem)

         เป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบน 
ประกอบด้วยแผงวงจรโมเด็ม  ซึ่งมีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล  กระแสไฟฟ้าในการทำงาน
ได้จากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อนั้น จะทำการเชื่อมต่ออนุกรมแบ 
RS-232C  
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการติดตั้งที่จะทำการติดตั้งโมเด็มแบบภายนอกจะต้องพอร์ตนี้อยู่ 
และในปัจจุบันได้มีการนำพอร์ตแบบ 
USB  (Universal Serial  Bus)  มาใช้สำหรับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ในรุ่นใหม่ๆ  โมเด็มติดตั้งภายนอกมีราคาที่สูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน  
มีไฟแสดงสถานะของการทำงาน  และมีสวิชท์ที่ใช้สำหรับเปิด
-ปิด 


3. โปรแกรม web browser

     โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ( Web Browser)  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ
บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในเว็บเพจ ถือได้ว่าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนด้วยภาษา
HTML 
ทำหน้าที่ในการแสดงผลของข้อมูลเอกสาร
    อ่านข้อมูลที่ เป็นภาพ 2 มิติ 3 มิติ
แสดงภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียงและวีดีโอได้
 โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ยังสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลของเว็บไซต์ การแสดงผลข้อมูลผ่านทางเครื่องพิมพ์

ยี่ห้อของ Browser

อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเร่อ (Internet Explorer หรือ เรียกย่อว่า IE)

เน็ทส์เคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator)

โมซิลลา ไฟร์ฟ็อกซ์ (Mozilla Firefox หรือเรียกย่อว่า Firefox หรือ Mozilla)

คุณสมบัติทั่วไปของ Browser

ไม่ว่าจะเป็นบราวเซอร์ยี่ห้อไหนก็จะมีคำสั่งที่ปรากฏหน้าจอคล้ายกัน แต่มีสีสันและและการออกแบบ
ที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ความสัมพันธ์ที่มีต่อ Search Engine เป็นสิ่งที่
จำเป็น เพราะบางบราวเซอร์จะแถม Search Engine ไว้ให้ที่หน้าจอก็มี ถึงอย่างก็ตามบราวเซอร์
ก็สามารถเข้าถึงเว็บใดเว็บหนึ่งโดยตรงก็ได้โดยไม่ต้องรอให้เครื่องต่อเข้า Search Engine เสียก่อน

4. โทรศัพท์ (Telephone)

  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องใช้สายโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อการเชื่อมโยง
สัญญาณจากแหล่งให้บริการอินเทอร์เน็ต

5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เนต (Account)

    คือ Account จากองค์กรหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet service Provider : ISP)

6. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

   ได้แก่ ซอฟต์แวร์สำหรับติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โปรแกรม
Browser  และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Credit : http://www.patwit.ac.th/search/internet.html

 

Internet จะอยู่ในประเภท Explicit Knowledge เนื่องจากผู้ใช้งานInternetสามารถที่จะนำเนื้อหา ข่าวสารต่างๆ มาแชร์ผ่านระบบเครือข่ายInternet ได้ ซึ่งExplicit Knowledge นั้นหมายถึง ความรู้แบบแจ่มแจ้ง ชัดเจน ถ่ายทอดได้ง่ายมักเป็นความรู้ทางวิชาการที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาตามสถาบัน,หรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ เช่น ความรู้ด้านผู้ช่วยทันตแพทย์,งานประชาสัมพันธ์ ,งานบัญชี,งานบริหารฯลฯ สามารถแสวงหาความรู้ได้จากเอกสารตามแหล่งที่มาต่างๆ  

 

หมายเลขบันทึก: 456074เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น้องคะ

เนื่องจากทางทีมงานได้เล็งเห็นว่าการใช้งานของน้องๆ น่าจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อเข้ามาใช้งานเพื่อการเรียนการสอน

ทางทีมงานจึงอยากจะขอรบกวนน้องๆ แจ้งอาจารย์ผู้สอนให้แนะนำน้องๆ ใช้งานที่เว็บไซต์ Class.in.th ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่อาจารย์และศึกษาค่ะ

รบกวนน้องแจ้งอาจารย์ให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบันทึกเปิดตัว Class.in.th ระบบจัดการเรียนการสอนของไทย นี้นะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท