การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (StoryTelling)


การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (StoryTelling)

     การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (StoryTelling)

การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (StoryTelling) คือการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบการรวบรวมความรู้จากประสบการณ์มาเล่าเรื่องให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบความรู้โดยนัย (TacitKnowledge)

ตัวอย่าง การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง

เป้าหมายสำคัญที่สุดของการเล่าเรื่อ             

          คือ ให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปลอยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง(ความคิด),และในส่วนลึกของร่างกาย(การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคำพูดและหน้าตาท่าทาง (non-verbal communication) การปล่อย ความรู้จากการปฏิบัติ นี้ ผู้ปล่อยจะอยู่ในสภาพที่มีทั้งจิตใต้สำนึก และจิตสำนึก (subconscious & conscious) ย้ำว่าเรามีเป้าหมายให้เกิดการสื่อสารทั้งโดยใช้จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  ดังนั้นถ้าฝึกปฏิบัติจนชำนาญ การเล่าเรื่องจะปลดปล่อยความรู้ออกมาอย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ

วิธีการและขั้นตอนของการเล่าเรื่องมีดังต่อไปนี้

 1. การกำหนด "หัวปลา" ให้ชัด ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังตัวอย่างการประชุมในตลาดนัดความรู้ของชาว จ.พิจิตร เมื่อเดือนธันวาคม 2547 "หัวปลา" คือ การทำนาแบบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี

  

2. กำหนดให้กลุ่มเป็นกลุ่มเล็ก ไม่เกิน10 คน เพื่อให้มีความรู้สึกใกล้ชิดกัน เป็นกันเอง ไม่เป็นทางการ สร้างความรู้สึกเป็นอิสระได้ง่าย ความรู้สึกแบบนี้เอื้อต่อการเล่าเรื่องอย่างมีพลัง ทำให้ความรู้ฝังลึก และซ่อนอยู่มิดชิดจนตัวเองก็ไม่รู้ว่าตนรู้ ถูกปลดปล่อยออกมาได้ง่ายขึ้น

  

3. สมาชิกกลุ่มเป็น "ตัวจริง" ซึ่งหมายความว่า เป็นผู้ปฏิบัติงานเพื่อบรรลุ "หัวปลา" ที่ตกลงกัน ด้วยตนเอง

  

4. ถ้าเป็นไปได้ จัดแบ่งกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มประกอบด้วยคนที่มีความแตกต่าง เช่น คิดต่างกัน ทำงานต่างหน่วยงาน อยู่คนละอำเภอ เรียนหนังสือคนละสาขา เป็นต้น เนื่องจากในการประชุมกลุ่มนี้เราต้องการใช้พลังของความแตกต่างหลากหลาย

 

5. มีการเลือกหรือแต่งตั้ง ประธานกลุ่ม ทำหน้าที่ดำเนินการประชุมและสรุปประเด็นเป็นระยะ ๆ  และเลือกเลขานุการกลุ่ม ทำหน้าที่จดประเด็นและบันทึก ขุมความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อการบรรลุหัวปลา

  

6. สมาชิกกลุ่มเล่าเรื่องเกี่ยวกับความสำเร็จของตน ตาม "หัวปลา"

  

7. สมาชิกกลุ่มคนอื่น ๆ ช่วยกัน "สกัด" หรือ "ถอด"  ความรู้เพื่อการบรรลุหัวปลาออกมาและเลขานุการกลุ่มเขียนขึ้นกระดาน flip chart ให้ได้เห็นทั่วกันและแก้ไขตกแต่งได้ง่าย

 

8. มี"คุณอำนวย" (Group Facilitator) ทำหน้าที่ช่วยเหลือให้การประชุมราบรื่น สร้างบรรยากาศของความชื่นชม ความคิดเชิงบวก การซักถามด้วยความชื่นชม (Appreciative Inquiry) ให้สมาชิกกลุ่มได้หมุนเวียนกันเล่าเรื่องถ้วนหน้ากัน ไม่มีคนในคนหนึ่งผูกขาดการพูด คอยช่วยตั้งคำถาม "ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น"  "คิดอย่างไร  จึงทำเช่นนั้น" เพื่อช่วยให้ "ความรู้เพื่อการปฏิบัติ" ถูกปลดปล่อยออกมาและคอยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มช่วยกัน "สกัด" หรือ "ถอด"  ความรู้เพื่อการบรรลุหัวปลาออกมาและมีผู้บันทึกไว้

9. การเล่าเรื่องให้เลาเพียงประเด็นเดียวต่อหนึ่งเรื่องและเล่าสั้นๆ เล่าตามความเป็นจริง ไม่ตีไข่ใส่สี เล่าให้เห็นตัวคน หรือตัวละคร เห็นพฤติกรรมหรือการกระทำ เห็นความคิดหรือความเชื่อที่อยู่เบื้องหลัง เล่าให้เห็นชีวิตและความสัมพันธ์ที่อยู่ในเรื่อง เล่าให้มีชีวิตชีวา เห็นสภาพแวดล้อมหรือบริบทของเรื่อง

10. ในการเล่าเรื่องต้องเล่าแบบให้ข้อมูลดิบ ที่ไม่ผ่านการตีความของผู้เล่า คือเหตุการณ์ไม่ใช่ความเข้าใจของผู้เล่าที่ได้จากเหตุการณ์  ไม่ใช่การตีความของผู้เล่า ถือว่าเรื่องเล่าเป็นข้อมูล สำหรับให้สมาชิกกลุ่มผลัดกันตีความ เพื่อดึง "ความรู้เพื่อการบรรลุหัวปลา"  ออกมา

การเล่าเรื่องจะประสบความสำเร็จมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 ประการ

1. ผู้เล่า 

          ผู้เล่าที่มีอารมณ์แจ่มใส มีความรู้สึกเอื้ออาทร (care) ต่อกลุ่มผู้ฟังมีความรู้สึกว่าผู้ฟังเป็นกัลยาณมิตร  มีจิตใจพร้อมจะให้ มีความภูมิใจในความสำเร็จที่ตนกำลังเล่า  เป็นผู้ประสบเหตุการณ์ในเรื่องที่จะเล่าด้วยตนเอง  คิดทบทวนเรื่องราวที่เล่ามาเป็นอย่างดี  และมีทักษะในการเล่าออกมาจากใจ คือเล่าแบบไม่ตีความ จะมีความสามารถเล่าเรื่อองออกมาได้อย่างทรงพลังโดยที่ "เรื่องราว" จะไม่ใช่แค่ออกมาเป็นคำพูดเท่านั้น จะแสดงออกมาในหน้าตา  แววตา  ท่าทาง  น้ำเสียง และการสื่อสารที่ไม่ใช่คำพูดอื่นๆ รวมทั้ง "ความเงียบ" เป็นช่วงๆ ดวย (ถ้ามี) โปรดสังเกตว่าสภาพจิตอันเป็นกุศลเป็นจิตทีมีพลัง สามารถทำหน้าที่แบ่งปันความรู้สึกและซับซ้อนได้ดีกว่าสภาพจิตธรรมดา

2. ผู้รับฟัง

                ผู้รับฟังที่เป็น "ผู้ฟังอย่างตั้งใจ" ที่เรียกว่า active listening จะช่วยส่งกระแสจิตไปกระตุ้นให้ผู้เล่าเกิดอารมณ์ในการเล่า  ทำให้สามารถเล่าออกมาจากใจได้ลึกยิ่งขึ้น คำถามที่แสดงความสนใจและชื่นชม (appreciative inquiry) จะช่วยกระตุ้นอารมณ์สร้างสรรค์เช่นเดียวกัน และยังจะช่วยทำให้การเล่าเรื่องครบถ้วนมากขึ้น ในกรณีที่การเล่าเรื่องมีการข้ามขั้นตอน ผู้อำนวยความสะดวกในการประชุม (group facilitator) อาจช่วยถามว่า "ทำไมจึงทำเช่นนั้น"  "คิดอย่างไรจึงเป็นเช่นนั้น"  ก็จะช่วยให้ ความรู้สึกนึกคิด ในขณะเกิดเหตุการณ์ถูกเล่าออกมา

3. บรรยากาศขณะเล่า

             บรรยากาศของการประชุม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเล่าเรื่องห้องประชุมที่ให้ความสงบ รับฟังจากการเล่าให้ดี  มีที่จดบันทึก บรรยากาศที่เป็นอิสระ ผ่อนคลาย ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจใดๆ บรรยากาศที่มีความเป็นกัลยาณมิตรเอื้ออาทรต่อกัน จะช่วยให้การสื่อสาระโดยการเล่าเรื่องมีคุณภาพสูง กระจ่างชัดและลึก

แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/KMEducation/2010/02/07/entry-1

หมายเลขบันทึก: 456049เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท