ระบบประกันคุณภาพกับความปลอดภัยทางรังสี(2)


ผู้บริหารองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสี(ผู้รับใบอนุญาต) ต้องมีความตระหนักและรับผิดชอบในการจัดทำระบบประกันคุณภาพให้มีขึ้นภายในองค์กร

ในเรื่องความปลอดภัยทางรังสี แน่นอนอยู่แล้วที่เราท่านทั้งหลายไม่ต้องการให้เกิดความผิดพลาดเป็นอันขาด ระบบประกันคุณภาพจึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้จัดพิมพ์เอกสารแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายฉบับ อาทิเช่น IAEA Safety Requirements No. GS-R-3, The Management System for Facilities and Activities และ IAEA Safety Guide No. GS-G-3.1, Application of the Management System for Facilities and Activities  และ IAEA Safety Guide No. GS-G-3.5, The Management System for Nuclear Installations ซึ่งเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพของผู้ที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับรังสี ทั้งนี้ก็เพี่อความปลอดภัยนั่นเอง นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ให้บริการด้านความปลอดภัย เช่น หน่วยตรวจวัดรังสีประจำบุคคล หน่วยปรับเทียบมาตรฐานการตรวจวัดรังสี ก็มีเอกสารแนะนำไว้ด้วยคือ IAEA Safety Guide No. GS-G-3.2, The Management System for Technical Services in Radiation Safety

                สาระสำคัญภายในเอกสารเหล่านี้ แม้ว่าจะมีหลักการมาจาก “ระบบการบริหารบนพื้นฐานความรู้” ของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมิงก์ ซึ่งประกอบด้วยหลักสี่ประการดังกล่าว แต่ก็ได้นำมาแตกเป็นรายละเอียดประยุกต์เข้ากับงานเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ แต่หากเราเข้าใจหลักสี่ประการดีแล้ว ก็ทำให้ไม่ตีความผิดไป เมื่อจะนำข้อแนะนำเหล่านั้นมาดำเนินการ

                ตัวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ คือการที่ผู้บริหารองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้รังสี(ผู้รับใบอนุญาต) ต้องมีความตระหนักและรับผิดชอบในการจัดทำระบบประกันคุณภาพให้มีขึ้นภายในองค์กร แม้ว่าจะไม่ต้องมีการรับรองโดย ISO ก็ตาม นอกจากนี้ที่สำคัญต่อมาคือการจัดให้มีบุคลากรที่เหมาะสม ทั้งจำนวนและความรู้รวมทั้งทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น ทั้งต้องมีการฝึกอบรมเสริมความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเหมาะสม มีเอกสารคู่มือการดำเนินงานที่ใช้ได้ และได้ใช้จริง ซึ่งต้องมีการทบทวนปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีการเก็บบันทึกต่าง ๆ ที่จำเป็น มีการบันทึกข้อบกพร่องและการแก้ไข มีการเรียนรู้ตลอดเวลา เหล่านี้คือตัวอย่างของข้อแนะนำดังกล่าว

                รายละเอียดของแต่ละเอกสารท่านสามารถเข้าไปหาดาวน์โหลดมาอ่านได้จากเว็บไซต์ของทบวงการฯ www.iaea.org ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี และยังมีเอกสารน่าอ่านอีกมากจากเว็บไซต์นี้

หมายเลขบันทึก: 455923เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท