ความหมายแนวคิดของนวัตกรรม


ความหมายแนวคิดของนวัตกรรม

ความหมายแนวคิดของนวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม

นวัตกรรม  หมายถึง  ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน

 

ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
             นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction)  การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ  (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต  [Internet]

ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน 

นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) หมายถึง  สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ และชุดการสอน

แนวคิดของนวัตกรรม 

นวัตกรรม  เป็นความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงาน

การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น   ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ  ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมา  ทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้  นวัตกรรมถือว่าเป็นสิ่งใหม่ ๆ  ดังต่อไปนี้

-  สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
-  สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

-  สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม 

นวัตกรรมนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งสำคัญ สองประการคือ จากแรงผลักบ้างในบางครั้งและจากแรงดึงดูดในบางครั้ง แต่นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ของแรงทั้งสองไปพร้อมๆ กัน เปรียบได้ดั่งกรรไกร ที่ต้องอาศัยใบมีดทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ  กันจึงจะนำไปใช้   ให้เกิดประโยชน์ได้

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
            ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
            ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
            ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ลักษณะของนวัตกรรม

1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่

                                            -  คิดหรือทำขึ้นใหม่

                                            -  เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า

                                            -  คัดแปลงปรับปรุงของเดิม

                                            -  เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี

                                            -  สถานณ์การเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่

2. เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา

3. นำมาใช้หรือปฎิบัติได้ดี

4.  มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม 

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

                               - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

                               - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                               - เครื่องสอน (Teaching Machine)

                               - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

                               - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

                               - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

                               - ศูนย์การเรียน (Learning Center)

                               - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

                               -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น

                               - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

                               - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

                               - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                               - การเรียนทางไปรษณีย์

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

                               - มหาวิทยาลัยเปิด

                               - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

                               - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

                               - ชุดการเรียน

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม 

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมมี  4 ประการ คือ

1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

                               - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

                               - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                               - เครื่องสอน (Teaching Machine)

                               - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

                               - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

                               - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

                               - ศูนย์การเรียน (Learning Center)

                               - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

                               -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น

                               - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

                               - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

                               - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                               - การเรียนทางไปรษณีย์

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

                               - มหาวิทยาลัยเปิด

                               - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

                               - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

                               - ชุดการเรียน

ประเภทของนวัตกรรม 

1. แบ่งตามลักษณะของการสร้างนวัตกรรม

• นวัตกรรมส่วนเพิ่ม (incremental innovation)

• นวัตกรรมที่เพิ่งค้นพบ (breakthrough innovation)

2. แบ่งตามลักษณะการใช้นวัตกรรม

• นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

                        • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน 

ก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็นแนวปฏิบัติ

        2.  นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการ

นำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

นวัตกรรมการศึกษา 

นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่

1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา

4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง

5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา 

1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน

2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว

3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

 

ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา 

1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ

2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน

3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง

5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ

6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog

4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

        5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา 

การนำนวัตกรรม มาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ .-

1. ประสิทธิภาพ(Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น

2. ประสิทธิผล(Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น

3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน

หมายเลขบันทึก: 455676เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท