การตัดสินใจเลือกนโยบาย


การตัดสินใจเลือกนโยบาย

การตัดสินใจเลือกนโยบาย

อาศัยทฤษฎีที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจนโยบาย 3 ทฤษฎี
1. ทฤษฎีหลักการและเหตุผล (the rational-comprehensive theory)
ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้(Anderson, 1994, p. 122)         
          1.ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย
          2.ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าประสงค์ (goals) ค่านิยม (values) หรือวัตถุประสงค์ (objectives) ที่ผู้ตัดสินใจจะต้องคำนึงถึง และสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี
          3.การตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน
          4.การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งด้านต้นทุน (cost) ผลประโยชน์ (benefits) ข้อได้เปรียบ (advantages) และข้อเสียเปรียบ (disadvantages) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง
          5.การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทางเลือก
          6.ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองเป้าประสงค์ ค่านิยม หรือวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์การ


2. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน (the incremental theoiy)
สาระสำคัญของทฤษฎี อาจพิจารณาได้จากองค์ประกอบ โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) การพิจารณาเลือกทางเลือกที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
          2) ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
          3) การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือกจะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณา ผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น
          4) สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาวิธีการและเป้าหมาย (means-ends) หรือเป้าหมายและวิธีการ (ends-means) เพื่อให้การจัดการปัญหามีความเป็นไปได้มากขึ้น
          5) ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียว (single decision) หรือ ทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว การทดสอบการตัดสินใจที่ดี ก็คือ การที่นักวิเคราะห์มีความเห็นพ้องต้องกันในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดยมิได้เห็นร่วมกันว่า การ ตัดสินใจนั้นเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ที่เห็นพ้องร่วมกัน
          6) การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็น แนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการเดิมบางส่วน และนำไปสู่สกาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นเป็นธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต

3.  ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก (mixed scanning) Etzioni (1961, pp. 385-392)
     
เห็นด้วยกับข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีหลักการเหตุผล (rational-comprehensive theory) และมีข้อเสนอแนะบางประการเกี่ยวกับทฤษฎีการตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน กล่าวคือ เห็นว่าการตัดสินใจโดย พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ของกลุ่ม และองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม แต่ผลประโยชน์ของกลุ่มประชาชนที่ด้วยสิทธิ (underprivileged) และกลุ่มที่ไม่มีบทบาททางการเมืองจะถูกละเลย โดยเฉพาะการตัดสินใจ เกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญหรือเรื่องที่เป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมบางส่วน

อ้างอิง:จากอาณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย

 

หมายเลขบันทึก: 455479เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท